อุโมงลับ Cu Chi สัญลักษณ์แห่งความวีรอาจหาญของชาวเวียดนาม

โบราณ สถานแห่งประวัติศาสตร์ อุโมง กู๋จี อยู่ห่างจากใจกลางนครโฮจิมินห์ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ70กิโลเมตร  เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์และเป็นสัญลักษณ์แห่งจิตใจต่อสู้ที่วีระอาจหาญของ ประชาชนเวียดนามในช่วงสงครามต่อต้านอเมริกาเพื่อกู้ชาติและปัจจุบันนี้ กู๋จี ได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยวเมื่อเดินทางมาเที่ยวนครโฮจิมินห์

อุโมงลับ Cu Chi สัญลักษณ์แห่งความวีรอาจหาญของชาวเวียดนาม - ảnh 1

ทางเดินในอุโมง-ภาพจากอินเตอร์เนต

โบราณสถานแห่งประวัติศาสตร์ อุโมง กู๋จี อยู่ห่างจากใจกลางนครโฮจิมินห์ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ70กิโลเมตร  เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์และเป็นสัญลักษณ์แห่งจิตใจต่อสู้ที่วีระอาจหาญของกองทัพและปชช.วน.ในช่วงสงครามต่อต้านอเมริกาเพื่อกู้ชาติ โดยอุโมงลับแห่งนี้เป็นระบบอุโมงใต้ดินรวมความยาว250กิโลเมตรที่คดเคี้ยวเหมือนตาหมากรุก แม้จะถูกก่อสร้างด้วยกำลังคนและอุปกรณ์เครื่องมือธรรมดาเท่านั้นแต่ระบบอุโมงกู๋จีก็สามารถทนต่อการทำลายของระเบิดทุกชนิดของสหรัฐมาจนถึงปัจจุบันนี้ สถานที่แห่งประวัติศาสตร์กู๋จีได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยวที่มีโอกาสเดินทางมาเที่ยวนครโฮจิมินห์

จุดเริ่มต้นของระบบอุโมงกู๋จีคือหมู่บ้านแห่งการปลดปล่อยที่ถูกจำลองเหมือนจริงที่สะท้อนให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกู๋จีในช่วงสงครามต่อต้านอเมริกาเพื่อกู้ชาติ ซึ่งมีทั้งบ้านเรือน ภาพชาวบ้านกำลังขุดอุโมง สวนผัก เขตเลี้ยงสัตว์ ตลาดนัดตลอดจนระบบอุโมงใต้ดินที่ซับซ้อนถูกแบ่งเป็นห้องๆเช่น ห้องพัก ห้องประชุม ห้องครัว หรือห้องพยาบาลเป็นต้น

อุโมงลับ Cu Chi สัญลักษณ์แห่งความวีรอาจหาญของชาวเวียดนาม - ảnh 2

ทางลงอุโมง-ภาพจากอินเตอร์เนต

ใต้ร่มไม้ที่แผ่กิ่งก้านสาขาอย่างกว้างใหญ่นั้นได้ยินแต่เสียงเดินที่ดังเป็นจังหวะโดยทุกคนอยากปล่อยภวังค์ไปกับบรรยากาศที่เงียบสงบของธรรมชาติเมื่อหวนกลับสู่ช่วงเวลาอันดุเดือดของสงครามและต่างคนต่างรู้สึกซาบซึ้งใจจนน้ำตาคลอเบ้าเมื่อได้ประจักกับตาถึงความทรหดกล้าหาญของชาวกู๋จี มาที่นี่เป็นครั้งแรกดิฉันรู้สึกตะลึงงันเมื่อได้เห็นระบบอุโมงใต้ดินที่มั่นคงเห็นร่องรอยของชีวิตที่ลำบากยากเข็ญแต่เต็มไปด้วยความรุ่งโรจน์ของเหล่านักรบ ซึ่งเราก็ไม่สามารถเข้าใจได้ว่าพวกเขาใช้ชีวิตได้อย่างไรในที่นี่และมีแต่คนวน.เท่านั้นที่สามารถคิดค้นวิธีการเคลื่อนไหวที่พิเศษนี้ได้.

อุโมงลับ Cu Chi สัญลักษณ์แห่งความวีรอาจหาญของชาวเวียดนาม - ảnh 3

การจำลองระบบอุโมงใต้ดิน

ทางเดินในอุโมงมีความสลับซับซ้อนเหมือนใยแมงมุมที่อยู่ลึกลงไปใต้ดินตั้งแต่3-8เมตร แบ่งเป็น3ชั้น โดยจากเส้นทางหลักจะมีทางแยกย่อยมากมายที่มีการเชื่อมโยงกันรวมทั้งมีทางออกทลุไปสู่แม่น้ำไซ่ง่อน  ชั้นหนึ่งอยู่ในความลึก3เมตร สามารถทนต่อกระสูนปืนใหญ่และน้ำหนักของรถถังได้ ชั้นสองลึก5เมตรสามารถทนต่อระเบิดขนาดเล็กส่วนชั้นสุดท้ายที่อยู่ลึกลงไป8-10เมตรนั้นมีความปลอดภัยที่สุด ทางลงอุโมงถูกปกปิดเป็นความลับและมีรูเพื่อระบายอากาศ ในระบบอุโมงนั้นนอกจากแบ่งเป็นห้องต่างๆแล้วยังมีบ่อน้ำและเตาไฟหว่างเกิ่มรวมไปถึงห้องบันเทิงขนาดใหญ่เพื่อใช้ดูหนังและการแสดง นาย เจียเจียง นักท่องเที่ยวจากกพช.ได้แสดงความประทับใจว่า ผมรู้สึกซาบซึ้งในจิตใจแห่งความกล้าหาญของปชช.กู๋จีในกระบวนการปฏิวัติเพื่อปลดปล่อยปท. โดยเฉพาะยุทธวิธีทางทหารเพื่อต่อต้านสหรัฐอเมริกาที่มีกำลังพลและกำลังอาวุธที่ทันสมัย ซึ่งชาววน.ได้สร้างชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ด้วยอาวุธคือความรักชาติอันเปี่ยมล้นและความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของปชช.ทุกชั้นชน และนี่คือความภูมิใจของประชาชาติวน.

อุโมงลับ Cu Chi สัญลักษณ์แห่งความวีรอาจหาญของชาวเวียดนาม - ảnh 4

เครื่องมือสำคัญในการขุดอุโมง
อุโมงลับ Cu Chi สัญลักษณ์แห่งความวีรอาจหาญของชาวเวียดนาม - ảnh 5
วิหาร Ben Duoc Cu Chi

ไม่ว่าใครที่ได้ฟังเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับอุโมงกู๋จีแล้วก็จะต้องอุทานออกมาว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อ โดยในตลอดเวลาที่ถูกศัตรูโจมตีด้วยทุกวิถีทางไม่ว่าจะเป็นการใช้ระเบิด ใช้เครื่องสูบน้ำหรือการปล่อยก๊าซพิษ แต่ทหารและชาวกู๋จียังคงต่อสู้อย่างเด็ดเดี่ยวเพื่อปกป้องอุโมง สามารถทำลายรถถังและรถหุ้มเกราะกว่า5พันคัน พร้อมทั้งเรือรบชนิดต่างๆหลายสิบลำรวมทั้งได้ยิงเครื่องบินศัตรูตกอีกกว่า256ลำจนได้รับฉายาว่าเป็นผืนแผ่นดินเหล็กในภาคใต้ แต่ชัยชนะนั้นก็ต้องแลกด้วยเลือดเนื้อของกองกำลังทหารและปชช.จำนวนมากที่ได้สละชีวิตในการต่อสู้และชื่อของพวกเขาก็ได้ถูกจารึกไว้ในวิหาร Ben Duoc Cu Chi ตั้งอยู่ในใจกลางเขตโบราณสถานแห่งนี้  คุณ Vo Thi Hieu เจ้าหน้าที่เขตโบราณสถานกู๋จีเผยว่า มีการจารึกชื่อทหารพลีชีพกว่า4หมื่น4พันคนในวิหารและยังมีการเพิ่มรายชื่อทุกปี ส่วนทุกวันก็มีนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างปท.จำนวนมากเดินทางมาเที่ยวเพื่อศึกษาเกียรติประวัติอันรุ่งโรจน์ของกระบวนการปฏิวัติวน. /.

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด