๒๐ ปีที่เวียดนามอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมโลก

( VOVworld )-ปี ๒๐๑๓ เวียดนามรำลึกครบรอบ ๒๐ ปีที่มรดกแห่งแรกคือโบราณสถานกรุงเก่าเว้ได้รับการรับรองให้เป็นมรดกวัฒนธรรมของโลกจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก  ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน มรดกของเวียดนามไม่ว่าจะเป็นมรดกทางธรรมชาติ วัฒนธรรม มรดกนามธรรมและรูปธรรมตลอดจนมรดกเชิงข้อมูลได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโกเพิ่มจำนวนมากขึ้น



( VOVworld )-ปี ๒๐๑๓ เวียดนามรำลึกครบรอบ ๒๐ ปีที่มรดกแห่งแรกคือโบราณสถานกรุงเก่าเว้ได้รับการรับรองให้เป็นมรดกวัฒนธรรมของโลกจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก  ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน มรดกของเวียดนามไม่ว่าจะเป็นมรดกทางธรรมชาติ วัฒนธรรม มรดกนามธรรมและรูปธรรมตลอดจนมรดกเชิงข้อมูลได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโกเพิ่มจำนวนมากขึ้น
๒๐ ปีที่เวียดนามอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมโลก - ảnh 1
ภูมไก่ตัวผู้และไก่ตัวเมียในอ่าวฮาลอบ  vietnamtourism )

อาจกล่าวได้ว่า เส้นทางนำไปสู่การได้รับรองให้เป็นมรดกของโลกนั้นลำบากพอสมควร แต่การอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค้าของมันในชีวิตสังคมยิ่งลำบากมากกว่า  โดยปัจจุบัน องค์การยูเนสโกได้รับรอง ๑๗ มรดกของเวียดนามเป็นมรดกโลก โดยโบราณสถานกรุงเก่าเว้ได้รับการรับรองเป็นแห่งแรกเมื่อปีค.ศ. ๑๙๙๓ ต่อจากนั้นคืออ่าวห่าลองได้รับการรับรองเป็นมรดกโลกสองครั้งในปี ๑๙๙๔ และ ๒๐๐๐  เมืองเก่าฮอยอานและโบราณสถานหมีเซินในจังหวัดกว่างนามได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมโลกเมื่อปี ๑๙๙๙  ส่วนดนตรีชาววังเว้ได้รับการรับรองให้เป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมเมื่อปี ๒๐๐๓ และการตีฆ้องของเตยเงวียนปี ๒๐๐๕  และใน ๕ ปีที่ผ่านมา องค์การยูเนสโกได้ให้การรับรองมรดกทางวัฒนธรรมทั้งนามธรรมและรูปธรรมของโลกหลายๆผลงานและหลายแห่งของเวียดนามไม่ว่าจะเป็นกำแพงหว่างแถ่งทังลองในกรุงฮานอยและกำแพลงราชวงศ์โห่ในจังหวัดแทงฮว้า  ตลอดจนมรดกวัฒนธรรมนามธรรมโลกเช่น การร้องเพลงกาจู่ ทำนองเพลงพื้นเมืองกวานเหาะบั๊กนิงห์  เทศกาลเทพเจ้าย้อง การร้องเพลงซวานที่ฟู้เถาะและประเพณีบูชาบรรพกษัตริย์หุ่ง  นอกจากนี้ยังมีมรดกเชิงข้อมูลโลกได้แก่ พระไตรปิฎกไม้วัดหวิงเงวียม แม่พิมพ์ไม้ราชวงศ์เหงวียนเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของราชวงศ์เหงวียนและแผ่นศิลาจารึกชื่อผู้ที่สอบได้จอหงวนในราชวงศ์เลและหมากตั้งแต่ปี ๑๔๔๒ ถึง ๑๗๗๙  ทั้งนี้มีความสำคัญในการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของเวียดนามสู่สายตาชาวโลก แต่ก็เป็นหน้าที่ของพวกเราที่จะต้องอนุรักษ์มรดกเหล่านี้  รศ.ดร.ดั่งวันบ่าย อดีตอธิบดีกรมมรดกวัฒนธรรมและอุปนายกสมาคมมรดกวัฒนธรรมเวียดนามเปิดเผยว่า  การที่ได้รับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลกนั้นถือเป็นเกียรติอย่างสูงแต่เราก็ต้องตระหนักถึงหน้าที่ในการอนุรักษ์ในฐานะประเทศสมาชิกองค์การยูเนสโก  เมื่อประกาศอนุสัญญาว่าด้วยการอนุรักษ์มรดกนั้น องค์การยูเนสโกมุ่งเน้นให้ทุกประเทศในโลกตระหนักถึงบทบาทและความหมายของมรดกในชีวิตของมนุษย์ อีกทั้งยืนยันถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละประเทศในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของตนที่เป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลก

๒๐ ปีที่เวียดนามอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมโลก - ảnh 2
ถ้ำฉงนในอ่าวฮาลอง  ( vietnamtourism )

สำหรับเวียดนาม การที่มีมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมจำนวนมากได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโกนั้นเป็นความภาคภูมิใจ อีกทั้งมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของประเทศด้วย โดยจังหวัดที่มีมรดกได้วางแผนโฆษณาประชาสัมพันธ์ด้วยการจัดกิจกรรมต่างๆเช่น ปีท่องเที่ยวฮาลองเบย์ เทศกาลเฟสตีเวิลเว้  การท่องเที่ยวทางมรดวัฒนธรรมกว่างนาม เมืองเก่าฮอยอานคืนพระจันทร์เต็มดวงหรือ เส้นทางมรดกภาคกลาง  และมีรายการท่องเที่ยวเขตปริมณฑลของมรดกเหล่านี้เช่น ท่องเที่ยวกู่ลาวจ่ามและเที่ยวชมหมู่บ้านศิลปาชีพ  ทั้งนี้ช่วยสร้างงานให้แก่คนในพื้นที่และสมทบเงินเพื่ออนุรักษ์และบูรณะมรดกเหล่านี้

องค์การยูเนสโกตั้งเป้าหมายไม่เพียงแต่ในการอนุรักษ์และบูรณะเท่านั้น หากยังเน้นถึงบทบาทของชุมชนในการอนุกรัษ์และประชาสัมพันธ์มรดกด้วย  จังหวัดบั๊กนิงห์ ที่มีทำนองเพลงกวานเหาะได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของโลกเป็นตัวอย่างในการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าของมรดกนี้ในชีวิตสังคม โดยได้ปฏิบัติ ๑๔ โครงการเพื่อขยายการประชาสัมพันธ์ ตรวจสอบมรดกและประกาศเกียรติคุณแก่ผู้ที่มีคุณงามในการอนุรักษ์และส่งเสริมการร้องเพลงกวานเหาะให้แก่ชนรุ่นหลัง  นายเหงวียนวันเกวี่ยน ชาวบ้านเสี่ยมที่ให้กำเนิดเพลงพื้นเมืองกวานเหาะทำหนังสือเกี่ยวกับดนตรีกวานเหาะบั๊กนิงห์หนากว่า ๒,๐๐๐ หน้ากระดาษรวมบทเพลง ๑,๐๐๐ บทที่เขาและภรรยาสะสมมาใน ๕๐ ปีที่ผ่านมา นายเกวี่ยนคุยกับพวกเราว่า เมื่อได้รับการรับรองจากโลกแล้ว เราต้องรู้จักถนอมมรดกที่ทรงคุณค่านี้ โดยต้องจดทำนองของเพลงกวานเหาะอย่างกระทัดรัดและเข้าใจง่าย

มรดกโลกของเวียดนามไม่เพียงแต่เพื่อการชมเท่านั้น หากยังเป็นทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่มีประโยชน์ให้แก่ชุมชน  ดังนั้นรัฐจะมีบทบาทในการร่างนโยบายและโครงการปฏิบัติเพื่อระดมชุมชนเข้าร่วมในการอนุรักษ์และยกระดับจิตสำนึกของพวกเขาที่มีต่อมรดกเหล่านี้ ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด