45 ปีความสัมพันธ์เวียดนาม – ญี่ปุ่น

(VOVWORLD) - ในตลอด 45 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 21 กันยายนเมื่อปี 1973 เวียดนามและญี่ปุ่นเป็นหุ้นส่วนกันในหลายด้านที่นับวันมีความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากที่ทั้งสองประเทศได้ยกระดับความสัมพันธ์ขึ้นเป็น “หุ้นส่วนยุทธศาสตรอย่างกว้างลึกเพื่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในเอเชีย” เมื่อเดือนมีนาคมปี 2014 ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ทวิภาคีได้พัฒนาอย่างเข้มแข็ง รอบด้านและมีประสิทธิภาพ
45 ปีความสัมพันธ์เวียดนาม – ญี่ปุ่น - ảnh 1นาย คุนิโอะ อูเมดะ เอกอัครรชาทูตญี่ปุ่นประจำเวียดนาม (Photo VNplus)

ความสัมพันธ์ร่วมมือมิตรภาพเวียดนาม – ญี่ปุ่นกำลังอยู่ในระยะที่งดงามที่สุด โดยในช่วง 25 ปีมานี้ ความสัมพันธ์ทวิภาคีในด้านการเมือง การทูต เศรษฐกิจและวัฒนธรรมประสบผลที่น่ายินดี โดยความสัมพันธ์ด้านการเมืองคือพลังขับเคลื่อน เศรษฐกิจคือเสาหลักและวัฒนธรรมคือพื้นฐาน

พื้นฐานที่เข้มแข็งและยั่งยืน

โดยความสัมพันธ์ทางการเมืองที่พัฒนาอย่างรวดเร็วและเข้มแข็งเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดโดยเฉพาะได้สะท้อนผ่านการเยือนระหว่างกันของผู้นำทั้งสองประเทศ เช่น การเสด็จพระราชดำเนินเยือนเวียดนามของสมเด็จพระจักรพรรดิและพระจักรพรรดินีญี่ปุ่นเมื่อต้นปี 2017 และการเยือนญี่ปุ่นของประธานประเทศเวียดนาม เจิ่นด่ายกวางเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นายเหงียนก๊วกเกื่อง เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำญี่ปุ่นให้ข้อสังเกตว่า            “ทั้งสองประเทศได้สถาปนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์อย่างกว้างลึกเพื่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกและได้กำหนดแนวทางกระชับความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ให้นับวันเข้าสู่ส่วนลึกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

ควบคู่กันนั้น ทั้งสองประเทศยังประสานงานและเห็นพ้องกันในฟอรั่มระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ เอเปก ผลักดันการเจรจาและลงนามในข้อตกลงหุ้นส่วนในทุกด้านและก้าวหน้าข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกหรือซีพีทีพีพี ความสัมพันธ์ด้านการเมืองที่น่าไว้วางใจระหว่างสองประเทศได้สร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาอย่างรอบด้าน นาย คุนิโอะ อูเมดะ เอกอัครรชาทูตญี่ปุ่นประจำเวียดนามยืนยันว่า จากความไว้วางใจที่มีต่อญี่ปุ่นของผู้นำและประชาชนเวียดนาม ญี่ปุ่นมีความประสงค์ที่จะขยายความร่วมมือในหลายด้านกับเวียดนาม

ในด้านเศรษฐกิจ ญี่ปุ่นเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจชั้นนำของเวียดนามและเป็นประเทศแรกในกลุ่มจี 7 ที่ให้การรับรองเศรษฐกิจเชิงตลาดของเวียดนามเมื่อเดือนตุลาคมปี 2011 และปัจจุบันเป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับที่ 2 เป็นหุ้นส่วนการค้าอันดับที่ 4 และหุ้นส่วนการท่องเที่ยวอันดับที่ 3 ของเวียดนาม พร้อมทั้งสนับสนุนเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาหรือโอดีเอให้แก่เวียดนามากที่สุดคือคิดเป็นร้อยละ 30 ของโอดีเอทั้งหมดที่เวียดนามได้รับ มีสถานประกอบการญี่ปุ่นกว่า 2,500 แห่ง รวมทั้งกลุ่มบริษัทชั้นนำได้มาลงทุนประกอบธุรกิจในเวียดนาม นาย ฮีโรโนบุ คิตะกะวา ตัวแทนขององค์การส่งเสริมการค้าญี่ปุ่นหรือเจโตรประจำเวียดนามเผยว่า            “ความร่วมมือระหว่างเวียดนามกับสถานประกอบการญี่ปุ่นมีการเปลี่ยแปลงให้สอดคล้องการช่วงเวลาต่างๆ เช่น ช่วงปี 1990 ญี่ปุ่นเน้นร่วมมือกับเวียดนามในด้านโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาหน่วยงานอุตสาหกรรมการผลิต ส่วนในหลายปีมานี้ แม้ความร่วมมือในด้านนี้ยังดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพแต่สถานประกอบการญี่ปุ่นกำลังมุ่งสู่ตลาดเวียดนาม โดยเฉพาะในด้านการขายปลีก การการจำหน่ายและการศึกษาเพื่อขยายตลาดในเวียดนาม ดังนั้น ผมคิดว่า ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศจะมีความหลากหลายมากขึ้น”

แนวโน้มการพัฒนา

ความสัมพันธ์เวียดนาม – ญี่ปุ่นในตลอด 45 ปีที่ผ่านมามีก้าวพัฒนาอย่างข้ามขั้น ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำคัญเพื่อกระชับความร่วมมือทวิภาคีในทุกด้านและเอื้อประโยชน์ให้แก่ทั้งสองฝ่ายต่อไป

สำหรับข้อตกลงหุ้นส่วนในทุกด้านและก้าวหน้าข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกหรือซีพีทีพีพีที่จะมีผลบังคับใช้ในปี 2019 ก็ถือเป็นพื้นฐานใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ โดยเฉพาะเปิดโอกาสให้สถานประกอบการของทั้งสองประเทศขยายความร่วมมือ นาย โทซิมิสึ โมเตงิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฟื้นฟูเศรษฐกิจญี่ปุ่นย้ำว่า            “ในผลงานที่น่ายินดีต่างๆมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างเวียดนามกับญี่ปุ่น ทั้งสองฝ่ายได้ฟันฝ่าอุปสรรคเพื่อผลักดันกระบวนการเจรจา อาจกล่าวได้ว่า นี่คือหลักการใหม่เพื่อผลักดันแนวโน้มใหม่ด้านการค้าและการลงทุนในศตวรรษที่ 21 เพื่อมีส่วนร่วมพัฒนาภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกที่กำลังมีความคล่องตัว”

เวียดนามและญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์มาช้านานทั้งในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและการค้า ในเวลาข้างหน้า จากความพยายาม ความเห็นพ้องและนโยบายที่ถูกต้องของทั้งสองฝ่าย ความสัมพันธ์ “หุ้นส่วนยุทธศาสตร์อย่างกว้างลึกเพื่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในเอเชีย” จะก้าวเข้าสู่ระยะแห่งการพัฒนาใหม่ในทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ การค้า กลาโหม ความมั่นคงและเทคโนโลยีขั้นสูง.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด