ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับอิหร่านจะบานปลายเป็นการปะทะทางทหารหรือไม่

(VOVWORLD) - ข่าวเกี่ยวกับสหรัฐส่งเรือขนส่งขนาดใหญ่และระบบขีปนาวุธจากพื้นสู่อากาศ Patriot พร้อมคำขู่อิหร่านและการตอบโต้ที่แข็งกร้าวระหว่างนายทหารระดับสูงของทั้งสองฝ่ายในหลายวันที่ผ่านมาได้ทำให้สถานการณ์ในตะวันออกกลางมีความร้อนแรงมากขึ้น แต่ถึงกระนั้นการเผชิญหน้าทางทหารระหว่างสหรัฐกับอิหร่านก็ยากที่จะเกิดขึ้น เพราะนี่คือสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายไม่ต้องการให้เกิด
ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับอิหร่านจะบานปลายเป็นการปะทะทางทหารหรือไม่ - ảnh 1นาย ฮัสซัน โรฮานี ประธานาธิบดีอิหร่านกับนาย โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ (Vaaju)

ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับอิหร่านมีความตึงเครียดในตลอด 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาหลังจาก นาย ฮัสซัน โรฮานี ประธานาธิบดีอิหร่านประกาศเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคมว่า อิหร่านจะลดการปฏิบัติคำมั่นต่างๆที่ระบุในข้อตกลงด้านนิวเคลียร์ที่ทำไว้กับ 6 ประเทศมหาอำนาจที่ลงนามเมื่อปี 2015 หรือข้อตกลงพี5+1 ภายในเวลา 60 วันและจะทำการเพิ่มระดับการเสริมสมรรถภาพยูเรเนียม นาย โรฮานี ยังเตือนว่า จะมีปฏิบัติการตอบโต้ถ้าหากปัญหานิวเคลียร์ถูกหารืออีกครั้งในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ท่าทีนี้ของอิหร่านถือเป็นการตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐหลังจากสหรัฐถอนตัวจากข้อตกลงนี้เมื่อปีที่แล้ว

ข่มขู่กัน

ในหลายวันที่ผ่านมา บรรยากาศในภูมิภาคเต็มไปด้วยความตึงเครียดเนื่องจากคำประกาศที่ก้าวร้าวจากทุกฝ่าย โดยเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม นาย John Bolton ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ ที่มีทัศนะที่แข็งกร้าวต่ออิหร่านมานานแล้วได้เผยว่า เพนตากอนกำลังปฏิบัติแผนการด้านการทหารในทุกด้านเพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่อาจถูกอิหร่านโจมตี โดยนอกจากส่งกองเรือ USS Arlington  พร้อมระบบขีปนาวุธ Patriot แล้ว สหรัฐยังส่งทหารเกือบ 1 แสน 2 หมื่นนายไปยังตะวันออกกลาง ก่อนหน้านั้น สื่อสหรัฐได้รายงานว่า เครื่องบินทิ้งระเบิด บี-52 ของสหรัฐได้บินไปยังฐานทัพในประเทศกาตาร์ ประจวบกับช่วงเวลาที่ทหารเกือบ 5 พัน 2 ร้อยนายถูกส่งไปยังอิรัก ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของอิหร่านเพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากอิหร่าน

เพื่อตอบโต้ปฏิบัติการของสหรัฐ นาย Yousef Tabatabai-Nejad ผู้นำสูงสุดของอิหร่านได้เตือนว่า กองเรือของสหรัฐอาจ “ถูกทำลายด้วยขีปนาวุธเพียง 1 ลูกเท่านั้น” และเตือนว่า ถ้าหากเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐมีท่าทีใดๆ เตหะรานจะทำการตอบโต้ก่อน นาย ฮัสซัน โรฮานี ประธานาธิบดีอิหร่านได้ยืนยันว่า เตหะรานจะไม่ยอมถูกประเทศใดข่มขู่ ในขณะเดียวกัน รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน Mohammad Javad Zarif ได้ประกาศว่า ถ้าหากวอชิงตันประกาศสงครามกับอิหร่านก็เท่ากับว่า วอชิงตันกำลังฆ่าตัวตาย

ความสัมพันธ์ระหว่างเตหะรานกับวอชิงตันเลวร้ายลงตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว เมื่อประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์พี 5+1 ส่วนเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา สหรัฐได้ประกาศว่า จะคว่ำบาตรประเทศที่นำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่าน และเตือนประเทศเหล่านี้ว่า ควรซื้อน้ำมันจากซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์แทน ส่วนกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติของอิหร่านก็ถูกวอชิงตันระบุในรายชื่อองค์การก่อการร้ายระหว่างประเทศ ซึ่งหลังจากนั้น เตหะรานก็ได้ตอบโต้ด้วยการระบุกองทัพสหรัฐในรายชื่อกลุ่มก่อการร้าย และขู่ว่า จะปิดช่องแคบ ฮอร์มุซ ซึ่งเป็นเส้นทางทะเลสำคัญในตะวันออกกลาง ล่าสุด เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม เตหะรานได้ประกาศระงับคำมั่นต่างๆในข้อตกลงนิวเคลียร์ภายในเวลา 60 วันและจะเพิ่มระดับการเสริมสมรรถภาพยูเรเนียม นาย ฮัสซัน โรฮานี ยังยืนยันถึงทัศนะของอิหร่านว่า พร้อมเข้าร่วมการเจรจาด้านนิวเคลียร์ และย้ำว่า ความล้มเหลวของข้อตกลงนิวเคลียร์ปี 2015 คือภัยคุกคามต่ออิหร่านและโลก อิหร่านพร้อมเจรจากับสหรัฐ แต่การเจรจาจะมีขึ้นก็ต่อเมื่อวอชิงตันยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรจากเศรษฐกิจต่ออิหร่านและแสดงให้เห็นถึงการให้ความเคารพอิหร่าน

ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับอิหร่านจะบานปลายเป็นการปะทะทางทหารหรือไม่ - ảnh 2เรือ USS Arlington (ภาพจากกองทัพเรือสหรัฐ)

การทดสอบเกี่ยวกับความมุ่งมั่นมากกว่าการเผชิญหน้าด้านการทหาร

จากสถานการณ์ความตึงเครียดในปัจจุบัน ประชามติมีความวิตกกังวลว่า อาจเกิดการเผชิญหน้าทางทหาร แต่บรรดาผู้สังเกตการณ์ได้แสดงความเห็นว่า นี่อาจเป็นสงครามจิตวิทยาของสหรัฐ เพราะวอชิงตันเข้าใจอย่างชัดเจนถึงความเสียหายที่ยิ่งใหญ่ด้านเศรษฐกิจถ้าหากช่องแคบฮอร์มุซกลายเป็นสนามรบ

ในความเป็นจริง ภายหลังการข่มขู่กันไปมา ทั้งสองฝ่ายก็ได้ออกประกาศเพื่อคลายความตึงเครียด โดยเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐได้ปฏิเสธข่าวว่า สหรัฐกำลังหารือเกี่ยวกับแผนการส่งทหาร 1 แสน 2 หมื่นนายไปยังตะวันออกกลาง ในวันเดียวกัน ผู้นำสูงสุดทางจิตวิญญาณของอิหร่าน Ali Khamenei ได้ยืนยันว่า จะไม่มีสงครามใดๆกับสหรัฐและความตึงเครียดในปัจจุบันคือการทดสอบความมุ่งมั่นมากกว่าการเผชิญหน้าทางทหาร แต่ทั้งสองฝ่ายยังคงยืนกรานทัศนะที่แข็งกร้าว โดยเตหะรานได้ยืนยันว่า จะไม่มีการเจรจาใดๆกับสหรัฐ ถ้าหากสหรัฐยังคงมีนโยบายที่ป็นศัตรูต่ออิหร่าน ส่วนวอชิงตันเรียกร้องให้อิหร่านยกเลิกการเดินหน้าโครงการนิวเคลียร์และยังคงพิจารณาการใช้มาตรการทางทหารต่ออิหร่าน

ขณะนี้ ทั้งสหรัฐและอิหร่านต่างไม่ต้องการเห็นสงคราม แต่การทำสงคราม แต่มาตรการสงครามจิตวิทยาและการกระทำที่ยั่วยุอาจทำให้ทั้งสองฝ่ายตกเข้าสู่การปะทะ ซึ่งจะทำให้อิหร่านกลับไปพัฒนานิวเคลียร์และก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพในภูมิภาค.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด