ความร้อนแรงจากการแข่งขันด้านอวกาศในปี 2023

(VOVWORLD) -ปี 2023 เป็นปีที่การแข่งขันด้านอวกาศมีขึ้นอย่างคึกคัก นอกจากประเทศมหาอำนาจต่างๆคือสหรัฐและจีนแล้ว บางประเทศก็ได้บรรลุความคืบหน้าในด้านอวกาศ แต่อย่างไรก็ดี นอกจากผลสำเร็จใหม่เกี่ยวกับการพิชิตอวกาศ การแข่งขันด้านอวกาศก็ได้สร้างความท้าทายใหญ่ให้แก่มนุษยชาติด้วย

ความร้อนแรงจากการแข่งขันด้านอวกาศในปี 2023 - ảnh 1อินเดียส่งยานจันทรายาน-3 ไปสำรวจดวงจันทรì เมื่อวันที่ 23 สิงหาคมปี 2023 (Photo: Reuters)

สหรัฐและจีนยังคงเป็นสองประเทศที่เป็นมหาอำนาจในด้านอวกาศ โดยได้ปฏิบัติโครงการใหญ่ต่างๆเพื่อสำรวจดวงจันทร์และดาวอังคาร ในขณะเดียวกันปี 2023 ก็เป็นปีที่หน่วยงานอวกาศของอินเดียประสบความสำเร็จและรัสเซียบรรลุความคืบหน้าใหม่

จุดเด่นของอินเดีย

วันที่ 23 สิงหาคมปี 2023 ถือเป็นหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ในด้านอวกาศของอินเดียและของโลก โดยยานจันทรายาน-3 (Chandrayaan-3)ของอินเดียได้ลงจอดบริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์  ซึ่งเป็นจุดที่คาดว่าอาจมีน้ำแข็งและแร่ธาตุเป็นจำนวนมากที่มนุษยชาติอาจนำมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งอินเดียได้กลายเป็นประเทศแรกของโลกที่ประสบความสำเร็จในการส่งยานไปลงจอดในขั้วใต้ของดวงจันทร์และเป็นชาติที่ 4 ของโลกที่ส่งยานไปลงจอดบนดวงจันทร์ได้สำเร็จต่อจากสหรัฐ อดีตสหภาพโซเวียดและจีน ต่อจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ต่อมาอินเดียก็ได้ส่งยานไปสำรวจดวงอาทิตย์เป็นครั้งแรก  

ผลสำเร็จนี้ได้ยกระดับสถานะของอินเดียในการเป็นประเทศมหาอำนาจใหม่ในด้านอวกาศ นาย Peter Garretson ผู้เชี่ยวชาญที่วิจัยด้านกลาโหมของสภานโยบายด้านการต่างประเทศของสหรัฐเผยว่า  ความสำเร็จของอินเดียแสดงให้เห็นว่า  การจัดอันดับความสามารถในด้านอวกาศของโลกได้มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนนาง Ruchira Kamboj ตัวแทนของอินเดียประจำสหประชาชาติเห็นว่า ผลสำเร็จของอินเดียเป็นพลังขับเคลื่อนให้แก่ประเทศที่กำลังพัฒนาอื่นๆในการยืนหยัดความทะเยอทะยานพิชิตอวกาศ

“ผลสำเร็จนี้ได้สร้างแรงบันดาลให้แก่ประชาชนอินเดีย  1.4  พันล้านคน  นี่เป็นช่วงเวลาครั้งประวัติศาสตร์เมื่อมนุษยชาติสามารถพิชิตบริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์  ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ยังไม่ได้สำรวจ ความสำเร็จนี้เป็นของมนุษยชาติ และอินเดียหวังว่า ความสำเร็จนี้จะส่งเสริมให้ประเทศต่างๆก้าวรุดหน้าต่อไป”

ในปี 2023 รัสเซียได้ส่งยานลูนา-25 ซึ่งเป็นยานสำรวจดวงจันทร์ต่อจากการส่งยานลูนา- 24 เมื่อปี 1976 แม้ยานลูนา-25 เกิดปัญหาในตอนลงจอดบนดวงจันทร์แต่นี่เป็นเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่า รัสเซียกำลังพยายามฟื้นฟูสถานะของประเทศมหาอำนาจด้านอวกาศ

ส่วนสหรัฐและจีน ซึ่งเป็นสองประเทศมหาอำนาจในด้านอวกาศกำลังผลักดันโครงการใหญ่ ซึ่งสหรัฐผลักดันโครงการ Artemis โดยมีเป้าหมายส่งนักบินอวกาศไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้ง ซึ่งคาดว่า จะปล่อยยานอวกาศ Artemis 2ในปลายปี 2024  ในขณะที่ จีนมีแผนการส่งนักบินอวกาศไปเหยียบดวงจันทร์ก่อนปี 2030 จนถึงขณะนี้ จีนได้เริ่มพัฒนาและผลิตจรวด  และยานอวกาศไร้คนขับ ส่วนประเทศอื่นๆ เช่น อังกฤษ, เยอรมนี, อิตาลี, ฝรั่งเศส, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และ อิสราเอลได้ยังวางแผนการสำรวจอวกาศและดวงจันทร์ในอนาคตอันใกล้นี้ นอกจากนี้ การแข่งขันด้านอวกาศปีนี้มีการเข้าร่วมของบริษัทเอกชน เช่น SpaceX ของนาย Elon Musk มหาเศรษฐีชาวสหรัฐ   บริษัท Blue Origin ของนาย  Jeff Bezos นักธุรกิจสหรัฐ และ  Virgin Galactic ของนาย Richard Branson มหาเศรษฐีชาวอังกฤษ

ความร้อนแรงจากการแข่งขันด้านอวกาศในปี 2023 - ảnh 2รัสเซียปล่อยยานลูนา-25 ซึ่งเป็นยานสำรวจดวงจันทร์ครั้งแรกนับตั้งแต่การส่งอยานลูนา- 24 เมื่อปี 1976 (Photo:AFP/TTXVN)

ค้ำประกันความมั่นคงด้านอวกาศ

นอกจากผลสำเร็จต่างๆ              ความร้อนแรงของการแข่งขันด้านอวกาศยังสร้างความท้าทายให้แก่มนุษยชาติ ตามข้อมูลของสหประชาชาติ จำนวนดาวเทียมที่ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรในรอบ 10 ปีที่ผ่านมามีมากกว่าจำนวนดาวเทียมที่ถูกส่งในรอบ 50 ปีก่อนหน้านี้และปัจจุบัน มีดาวเทียมประมาณ 900 ดวง ที่ถูกส่งขึ้นวงโคจรต่ำรอบโลก  ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา การเพิ่มจำนวนดาวเทียมในวงโคจรสร้างความเสี่ยงด้านความมมั่นคงเนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงในการชนกัน  ปัญหาขยะอวกาศและส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการสำรวจของนักบินอวกาศ  นอกจากนี้ ความเสี่ยงจากกิจกรรมทางทหารในอวกาศก็เพิ่มขึ้นเมื่อประเทศต่างๆผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีและอาวุธใหม่ ๆ เพื่อขัดขวางการทำงานของดาวเทียมและยานอวกาศของประเทศอื่น นาย Guy Ryder  รองเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติเผยว่า ประชาคมโลกต้องจัดทำกลไกธรรมาภิบาลโลกใหม่เพื่อค้ำประกันความมั่นคงด้านอวกาศในสภาวการณ์ที่ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์อาจบานปลายสู่อวกาศ

“  ปัญหานี้เกิดขึ้นเนื่องจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่สร้างภัยคุกคามเกี่ยวกับการปะทะที่บานปลายสู่อวกาศ  ดังนั้น ถ้าไม่สามารถบรรลุความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาในกลไกธรรมาภิบาลความมั่นคงอวกาศ ก็จะสร้างความสูญเสียที่หนักหน่วง”

ปัจจุบันสนธิสัญญาอวกาศปี 1967 เป็นกฎหมายบริหารอวกาศ โดยห้ามการใช้อาวุธนิวเคลียร์และตั้งฐานทัพทางทหารโคจรรอบโลก แต่ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับอาวุธธรรมดา  เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา  สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้อนุมัติมติที่รัสเซียเสนอเกี่ยวกับการไม่ส่งอาวุธไปโคจรรอบโลกที่เบลารุส จีน คิวบา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีและอียิปต์เป็นผู้เสนอ โดยเรียกร้องให้ทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีทักษะความสามารถด้านอวกาศพิจารณาคำมั่นเกี่ยวกับการไม่กลายเป็นประเทศแรกที่ส่งอาวุธสู่อวกาศ             นี่ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพื่อมุ่งสู่การจัดทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับปัญหานี้ในสภาวการณ์ที่ความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ในโลกสร้างความเสี่ยงต่อความมั่นคงโลกในเวลาที่จะถึง.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด