ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่โดดเด่นในปี 2017

(VOVWORLD) - ปี 2017 ได้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในชีวิตการเมืองของโลก ความสัมพันธ์หลักๆระหว่างประเทศต่างๆล้วนมีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ โดยเฉพาะปัญหาความผันผวนต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อการกำหนดอนาคตของโลก
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่โดดเด่นในปี 2017 - ảnh 1ประธานประเทศจีน สีจิ้นผิงและประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ (Sky) 

 

ปี 2017 คือหนึ่งในปีที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและยากที่จะคาดการณ์ล่วงหน้าได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงในช่วงครึ่งปีแรกและครึ่งปีหลังมีความแตกต่างกัน ซึ่งที่น่าสนใจคือสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับรัสเซีย สหรัฐกับจีนและสหรัฐกับอียู

การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ-รัสเซียและสหรัฐ-จีน

ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับสหรัฐเมื่อปี 2017 ได้รับการคาดหวังว่า จะมีความสดใสมากขึ้นหลังจากนาย โดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ แต่ในความเป็นจริง ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศกลับตกเข้าสู่การเผชิญหน้าที่ไม่มีวันสิ้นสุด โดยในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ส่งสาส์นและคำมั่นหลายครั้งว่า จะพยายามปรับปรุงความสัมพันธ์กับรัสเซีย แต่การตรวจสอบข้อกล่าวหาที่ว่า “รัสเซียแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐปี 2016” ได้กลายเป็นปฏิบัติการที่เดินสวนกับถ้อยแถลงการณ์นี้

ต่อจากนั้น ในปี 2017 ก็เกิดการเผชิญหน้าด้านการทูตระหว่างรัสเซียกับสหรัฐ โดยเฉพาะเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2017 สภาล่างและวุฒิสภาสหรัฐได้อนุมัติกฎหมายเพิ่มความเข้มงวดในการคว่ำบาตรรัสเซีย โดยมีมาตราที่ทำให้นาย โดนัลด์ ทรัมป์ต้องลงนามอนุมัติ ส่วนรัสเซียถือว่า นี่คือการกระทำที่ “ยั่วยุ” ซึ่งทำให้มอสโคว์ต้องเนรเทศนักการทูตสหรัฐ 755 คนและไม่อนุญาตให้สถานทูตสหรัฐในรัสเซียใช้สำนักงานการทูตบางแห่งในกรุงมอสโคว์ ส่วนสหรัฐได้ตอบโต้ด้วยการเรียกร้องให้รัสเซียปิดสถานกงสุลใหญ่ในเมืองซานฟรานซิสโกและสำนักงานทูตพาณิชย์ 2 แห่งในกรุงวอชิงตันและนครนิวยอร์ค

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างรัสเซียกับสหรัฐก็มีความตึงเครียดมากขึ้น เมื่อทั้งสองฝ่ายได้ขยายมาตรการคว่ำบาตรต่อกัน โดยเฉพาะสหรัฐยังใช้มาตรการค่ำบาตรใหม่ต่อสถานประกอบการในด้านสำคัญๆของเศรษฐกิจรัสเซีย เช่นพลังงานและการส่งออกอาวุธ

ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับสหรัฐตกเข้าสู่วิกฤต ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนก็ได้เกิดปัญหา การที่นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐได้สร้างแรงกดดันต่อจีนทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้าและการเมือง เพราะในยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐ จีนถูกระบุเป็นประเทศที่สร้างภัยคุกคามต่อผลประโยชน์ของสหรัฐ แต่การที่ทั้งสองฝ่ายต่างมีผลประโยชน์ร่วมกันได้ทำให้ทั้งวอชิงตันและปักกิ่งจึงต้องธำรงความสัมพันธ์ในเชิงสร้างสรรค์ โดยจีนแสดงความเห็นว่า สหรัฐต้องปรับตัวเข้ากับการพัฒนาของจีน พร้อมทั้งย้ำว่า ความร่วมมือคือทางเลือกที่ถูกต้องสำหรับทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะหลังการเยือนระหว่างกันของผู้นำทั้งสองประเทศเมื่อปี 2017 ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนได้เป็นไปอย่างมีเสถียรภาพ ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ ในฐานะเป็นสองประเทศที่มีความสัมพันธ์ที่สำคัญและซับซ้อน และส่งผลกระทบที่กว้างลึกต่อระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน สหรัฐและจีนต้องแสวงหาวิธีการธำรงความสัมพันธ์ที่ทั้งร่วมมือและแข่งขัน หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าและการปะทะ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่โดดเด่นในปี 2017 - ảnh 2ประธานาธิบดีรัสเซียและประธานาธิบดีสหรัฐ (Reuters) 

การทดสอบความสัมพันธ์พันธมิตรสหรัฐ-อียู

ด้วยคำขวัญในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งคือ “America first”หรือ “ประเทศสหรัฐต้องมาก่อน”ของนาย โดนัลด์ ทรัมป์ได้ทำให้นักการเมืองยุโรปมีความวิตกกังวลเป็นอย่างมากต่ออนาคตความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่าย โดยตั้งแต่เริ่มเข้ามาเป็นเจ้าของทำเนียบขาวคนใหม่ นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ได้มีคำประกาศที่ทำให้ยุโรปต้องตกใจ เพราะออกมาแสดงความเชื่อมั่นว่า หลายประเทศยุโรปจะแยกตัวออกจากอียูตามอังกฤษ”

นอกจากนั้น สหรัฐยังขู่ว่า จะพิจารณาความสัมพันธ์กับอียูและองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้ และประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ยกเลิกการเจรจาข้อตกลงหุ้นส่วนการค้าและการลงทุนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกหรือทีทีไอพี ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างอียูกับสหรัฐและใช้มาตรการคุ้มครองทางการค้า

บนเวทีโลก หลายนโยบายของสหรัฐถูกมองว่า ขัดกับผลประโยชน์ของอียู ซึ่งทำให้พันธมิตรเก่าแก่ของวอชิงตันคัดออกมาค้านอย่างเข้มแข็ง รวมถึงการที่วอชิงตันถอนตัวออกจากข้อตกลงปารีสเกี่ยวกับการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ยังพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะถอนสหรัฐออกจากข้อตกลงด้านนิวเคลียร์ครั้งประวัติศาสต์ที่กลุ่มพี5+1 ประกอบด้วยอังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สหรัฐ จีนและเยอรมนีลงนามกับอิหร่านเมื่อปี 2015 ในขณะที่อียูยืนหยัดปกป้องข้อตกลงนี้

ต่อการเคลื่อนไหวดังกล่าว นายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล ซึ่งเป็นประเทศหัวเรือหลักของอียูได้เตือนว่า ความสัมพันธ์ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเกิดความอ่อนแอ และยุโรปต้องเป็น “ผู้ตัดสินใจอนาคตเอง”

เมื่อหวนมองปี 2017 จะเห็นได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอียูกับสหรัฐ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ-จีน สหรัฐ-รัสเซียมีบางช่วงที่มีความตึงเครียด ซึ่งเหตุผลส่วนใหญ่มาจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของสหรัฐ ในทุกสถานการณ์ ความสัมพันธ์นี้ยังคงเป็นพื้นฐานหลักให้แก่การธำรงความมั่นคงและเสถียรภาพทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจของโลก ดังนั้น แน่นอนว่า ประเทศเหล่านี้จะต้องแสวงหามาตรการประนีประนอม ลดการเผชิญหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ทำให้ความตึงเครียดกลายเป็นการเผชิญหน้า.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด