ค้ำประกันงานทำและสวัสดิการสังคมในการปรับเปลี่ยนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

(VOVWORLD) - เวียดนามกำลังพยายามผลักดันกระบวนการปรับเปลี่ยนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและพัฒนาพลังงานหมุนเวียน  ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีฐานะยากจนและผู้ที่มีรายได้ต่ำ และนี่เป็นหนึ่งในปัญหาที่รัฐบาลเวียดนามให้ความสนใจเป็นพิเศษในการปฏิบัติความตกลงการเป็นพันธมิตรด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม หรือ JETP ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่นี้อย่างมีประสิทธิภาพก็เป็นการค้ำประกันสิทธิมนุษยชนในสภาวการณ์ใหม่
ค้ำประกันงานทำและสวัสดิการสังคมในการปรับเปลี่ยนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม - ảnh 1การสัมมนา “ส่งเสริมงานทำและสวัสดิการสังคมเพื่อมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม”ที่จัดโดยกระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม  (qdnd.vn)

เวียดนามเป็นหนึ่งในสามประเทศแรกซึ่งต่อจากแอฟริกาใต้และอินโดนีเซีย ที่เข้าร่วมความตกลงการเป็นพันธมิตรด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม หรือ JETP กับประเทศต่างๆ และองค์กรการเงินระดับโลกเมื่อเดือนธันวาคมปี 2022 โดยในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญากรอบสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ COP ครั้งที่ 28 ณ เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา บรรดาหุ้นส่วนได้ให้คำมั่นสมทบเงิน 1 หมื่น 5 พัน 5 ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อช่วยเหลือให้แก่การปรับเปลี่ยนที่มิตรกับสิ่งแวดล้อมในเวียดนาม

ความท้าทายและโอกาสต่อการสร้างงานทำและตลาดแรงงาน

ในการสัมมนา “ส่งเสริมงานทำและสวัสดิการสังคมเพื่อมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม”ที่จัดโดยกระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม บรรดาผู้เชี่ยวชาญได้เผยว่า การปรับเปลี่ยนด้านพลังงานและพัฒนาตลาดคาร์บอนอาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม เขตชุมชนและกลุ่มเสี่ยงอย่างไม่เท่าเทียมกัน เช่น การเปลี่ยนงาน คนตกงาน ปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือ ทักษะแรงงานที่ต้องมีสำหรับเศรษฐกิจสีเขียว โดยเฉพาะผู้ที่มีฐานะยากจนและผู้ที่มีรายได้ต่ำเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากกระบวนการดังกล่าวเป็นอย่างมาก นาย ลิวกวางต๊วน อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศสังกัดกระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมได้วิเคราะห์ว่า

“โอกาสใหม่จากกระบวนการนี้อาจส่งผลกระทบในหลายด้านโดยเฉพาะต่อกลุ่มเสี่ยง เช่น การเปลี่ยนงาน ปัญหาด้านทักษะฝีมือของแรงงานที่ไม่สามารถตอบสนอง ต่อความต้องการของกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว โดยผู้ที่มีฐานะยากจนและผู้ที่มีรายได้ต่ำเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด”

จากสถานการณ์ดังกล่าว ต้องมีนโยบายสวัสดิการสังคมและนโยบายช่วยเหลือในการปรับเปลี่ยนงาน การพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน การสร้างงานทำที่เหมาะสมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีนโยบายที่ค้ำประกันการอบรมทักษะใหม่และการเปลี่ยนงานสำหรับผู้ใช้แรงงาน ส่วนระบบโรงเรียนอาชีวศึกษาต้องมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการในสภาวการณ์ใหม่และต้องพยากรณ์จำนวนตำแหน่งงานที่เพิ่งเกิดขึ้นหรือกำลังจะหายไป

ความเข้าใจตรงกัน

อย่างไรก็ดี ในกระบวนการดังกล่าวย่อมมีประชาชนบางส่วนที่ไม่สามารถตามทันการปรับเปลี่ยนด้านพลังงาน แต่จากผลงานด้านการแก้ปัญหาความยากจนที่ได้บรรลุ เวียดนามก็สามารถแก้ไขความท้าทายต่างๆเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และในทางเป็นจริง การค้ำประกันสิทธิของกลุ่มเสี่ยงในสังคมเป็นหน้าที่ที่สำคัญในการปฏิบัติทัศนะและแนวทางของพรรค นโยบายและกฎหมายของรัฐ ศ.ดร. ตะหงอกเติ๊น รองประธานสภาทฤษฎีส่วนกลางได้เผยว่า

การพัฒนาสังคมและพัฒนามนุษย์ ยกระดับคุณภาพชีวิตทั้งด้านวัตถุและจิตใจของประชาชนเป็นเป้าหมายที่สำคัญในภารกิจการสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศเวียดนาม โดยควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจ เวียดนามได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการปฏิบัตินโยบายสังคมบนเจตนารมณ์ “การขยายตัวของเศรษฐกิจต้องดำเนินการพร้อมๆกับการส่งเสริมความก้าวหน้าและความยุติธรรมทางสังคมเพื่อนำความอิ่มหนำผาสุกมาให้แก่ประชาชน”

ส่วนนาย บุ่ยโตนเฮี้ยน หัวหน้าสถาบันวิทยาศาสตร์ แรงงานและสังคมสังกัดกระทรวงแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมได้ประเมินว่า

“การปรับปรุงกลไกเศรษฐกิจเชิงตลาดเป็นมาตรการที่สำคัญในการแก้ไขปัญหางานทำ โดยสามารถสร้างงานทำ 1.5-1.6 ล้านตำแหน่งต่อปีและอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 3 รายได้ของผู้ใช้แรงงานเพิ่มขึ้น ส่วนช่องว่างการพัฒนาระหว่างตัวเมืองและเขตชนบทลดลง การแก้ปัญหาความยากจนหลายมิติอย่างยั่งยืนได้รับการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เวียดนามได้รับการประเมินว่า เป็นตัวอย่างที่ดีในการแก้ไขปัญหาความยากจน”

ทั้งนี้ เวียดนามถือมนุษย์เป็นศูนย์กลางของกระบวนการพัฒนา ซึ่งในการปรับเปลี่ยนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มเสี่ยงในสังคมเป็นกลุ่มที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษผ่านการปรับปรุงงานสังคมสงเคราะห์ สวัสดิการสังคมและการเพิ่มงบประมาณในด้านนี้เพื่อลดอัตราครอบครัวที่ยากจนและช่วยเหลือประชาชนในการสร้างฐานะและมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด