ทะเลตะวันออกปี 2016 หลังคำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก

(VOVworld) – ทะเลตะวันออกยังคงเป็นปัญหาร้อนบนโต๊ะเจรจาระดับภูมิภาคและได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากประชามติโลกในปี 2016 โดยเฉพาะหลังจากที่ศาลอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮกที่ถูกจัดตั้งตามภาคผนวกที่ 7 ของอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลหรือ UNCLOS ได้ออกคำวินิจฉัยเกี่ยวกับกรณีฟิลิปปินส์ยื่นฟ้องจีนเรื่องข้อพิพาทในทะเลตะวันออก คำวินิจฉัยนี้มีความหมายทางนิตินัยและการเมืองเป็นอย่างมากเพราะเป็นครั้งแรกที่ได้รับการอนุมัติจากศาลระหว่างประเทศ ซึ่งได้สะท้อนโครงสร้างใหม่ของภูมิภาคที่ให้ความเคารพกฎหมายสากล

(VOVworld) – ทะเลตะวันออกยังคงเป็นปัญหาร้อนบนโต๊ะเจรจาระดับภูมิภาคและได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากประชามติโลกในปี 2016 โดยเฉพาะหลังจากที่ศาลอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮกที่ถูกจัดตั้งตามภาคผนวกที่ 7 ของอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลหรือ UNCLOS ได้ออกคำวินิจฉัยเกี่ยวกับกรณีฟิลิปปินส์ยื่นฟ้องจีนเรื่องข้อพิพาทในทะเลตะวันออก คำวินิจฉัยนี้มีความหมายทางนิตินัยและการเมืองเป็นอย่างมากเพราะเป็นครั้งแรกที่ได้รับการอนุมัติจากศาลระหว่างประเทศ ซึ่งได้สะท้อนโครงสร้างใหม่ของภูมิภาคที่ให้ความเคารพกฎหมายสากล

ทะเลตะวันออกปี 2016 หลังคำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก - ảnh 1
ศาลอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮกออกคำวินิจฉัยเกี่ยวกับกรณีฟิลิปปินส์ยื่นฟ้องจีนเรื่องข้อพิพาทในทะเลตะวันออกเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมปี 2016

ในคำวินิจฉัยที่มีความหนาเกือบ 500 หน้า ศาลอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮกได้ประกาศว่า “คำเรียกร้อง “เส้นประ 9 เส้น” ของจีนไม่มีพื้นฐานทางนิตินัยและปฏิเสธ “อธิปไตยทางประวัติศาสตร์” เหนือทะเลตะวันออกของจีน และสิ่งที่สำคัญคือ คำวินิจฉัยได้ระบุอย่างชัดเจนว่าเกาะเทียมต่างๆที่จีนกำลังก่อสร้างบนแนวปะการังและโขดหินที่บุกยึดอย่างผิดกฎหมายนั้นไม่อาจถือเป็นโครงสร้างกายภาพที่มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะหรือ EEZ  200 ไมล์ทะเลและเขตน่านน้ำ 12 ไมล์ทะเล

คำวินิจฉัยดังกล่าวถือเป็นคำวินิจฉัยระหว่างประเทศครั้งแรกอย่างเป็นทางการบนพื้นฐานของกฎหมายทางทะเลของสหประชาชาติ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายทะเลและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ประเมินว่า การที่คำวินิจฉัยนี้จะได้รับการปฏิบัติหรือไม่ไม่ใช่สิ่งสำคัญเท่ากับการตัดสินว่า การประกาศอธิปไตยของจีนเหนือพื้นที่เกือบทั้งหมดของทะเลตะวันออกตามคำเรียกร้อง “เส้นประ 9 เส้น” ที่ไม่มีกฎหมายรองรับเมื่อปี 1947 เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย อันจะเป็นการเปิดโอกาสให้แก่มาตรการระยะยาวเพื่อแก้ไขการพิพาทในทะเลตะวันออก

ดึงดูดความสนใจของประชามติโลก

หลังจากที่ศาลอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก ออกคำวินิจฉัย ประเทศต่างๆทั้งภายในและนอกภูมิภาคต่างออกคำเรียกร้องให้ทุกประเทศที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัย โดยย้ำถึงการบังคับของคำวินิจฉัย สนับสนุนการเดินเรือ การบินและการค้าอย่างเสรีในทะเลตะวันออกตามกฎหมายสากลที่สะท้อนผ่านอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 หรือUNCLOS ประชามติโลกได้ถือว่า ทุกประเทศที่เกี่ยวข้องควรแก้ไขปัญหาการพิพาทด้วยสันติวิธี ไม่ใช้หรือไม่ข่มขู่ที่จะใช้ความรุนแรง มีความอดกลั้นในการปฏิบัติที่อาจสร้างความซับซ้อนหรือความตึงเครียดที่ส่งผลกระทบในทางลบต่อสันติภาพและเสถียรภาพ เส้นทางขนส่งในทะเลตะวันออกมีบทบาทสำคัญต่อสันติภาพ เสถียรภาพ ความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนาของภูมิภาค ดังนั้นประชาคมระหว่างประเทศได้เร่งรัดให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความเคารพในระดับสูงสุดต่อUNCLOS ซึ่งเป็นอนุสัญญาที่สร้างกรอบทางนิตินัยสากลให้แก่เขตทะเลและมหาสมุทร สนับสนุนการธำรงโครงสร้างของโลกตามกฎหมายและกฎระเบียบ ธำรงและปกป้องสิทธิ รวมทั้งสิทธิพิเศษของทุกประเทศ

อาจกล่าวได้ว่า หลังจากที่ศาลอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก ออกคำวินิจฉัย ปัญหาทะเลตะวันออกไม่ได้เป็นแค่ปัญหาของประเทศที่ประกาศอธิปไตยเท่านั้นแต่ได้ถูกยกระดับให้กลายเป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากประเทศนอกภูมิภาค รวมทั้งกลายเป็นปัญหายุทธศาสตร์ในการแข่งขันระหว่างบรรดาประเทศมหาอำนาจในเอเชีย – แปซิฟิกและเป็นปัญหาร้อนบนโต๊ะเจรจาระดับพหุภาคีต่างๆ เช่น จี 7 และเอเปก

เพิ่มกิจกรรมทางทหารในภูมิภาค

คำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก ได้ทำให้บรรดาประเทศใหญ่ในภูมิภาคปรับปรุงนโยบายให้มีความเหมาะสม โดยในช่วงครึ่งหลังปี 2016 ได้มีการจัดการซ้อมรบอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคนี้ และแม้จะถูกตำหนิจากประชาคมระหว่างประเทศแต่จีนยังคงประกาศว่า จะไม่ยุติการก่อสร้างเกาะเทียมในทะเลตะวันออก พร้อมทั้งทำการซ้อมรบต่างๆ โดยเฉพาะ การซ้อมรบ “ลาดตระเวนและสู้รบร่วมกัน” ทางอากาศในหมู่เกาะเจื่องซาหรือสเปรตลีย์และแนวปะการังสการ์โบโรห์ ซึ่งเป็นสถานที่สองแห่งที่ได้ถูกระบุในคำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮกที่ได้ปฏิเสธสิ่งที่เรียกว่า  “อธิปไตยทางประวัติศาสตร์” ของจีน ในขณะเดียวกัน สหรัฐก็ส่งทหารเรือและทหารอากาศจำนวนมากไปยังทะเลตะวันออก รวมทั้งเรือบรรทุกเครื่องบินและเรือพิฆาตเพื่อทำการซ้อมรบร่วมกับญี่ปุ่น อินเดียและพันธมิตร นอกจากนี้ เรือพิฆาตของสหรัฐยังขยายกิจกรรมลาดตระเวนผ่านเกาะต่างๆที่จีนควบคุมอย่างผิดกฎหมายในทะเลตะวันออกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบรรดาผู้สังเกตการณ์ให้ข้อสังเกตว่า ปี 2016 ทะเลตะวันออกเป็นพื้นที่ที่หลายประเทศระดมกองกำลังติดอาวุธเข้ามามากที่สุดนับตั้งแต่หลังสงครามเวียดนามเมื่อปี 1975

ในความเป็นจริง จำเป็นต้องใช้เวลาอีกพอสมควรหลังจากที่ศาลอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮกออกคำวิจฉัยดังกล่าวเพื่อให้สถานการณ์ในภูมิภาคกลับสู่เสถียรภาพ แต่คำวินิจฉัยนี้ได้เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนั่งเจรจาเพื่อลดความตึงเครียด การธำรงสันติภาพและเสถียรภาพในทะเลตะวันออกมีบทบาทสำคัญต่อความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ไม่ใช่ของแค่ประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นการค้ำประกันให้อนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลได้รับความเคารพจะเป็นผลประโยชน์ของทุกฝ่ายและคำวินิจฉัยนี้อาจเป็นพื้นฐานเพื่อแก้ไขปัญหาที่ยืดเยื้อและซับซ้อนในทะเลตะวันออก.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด