ผลักดันการปฏิรูปการเกษตรให้ทันสมัยและยั่งยืนมากขึ้น

(VOVWORLD) - มติที่ 26 ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามสมัยที่ 10 เกี่ยวกับการพัฒนาการเกษตร เกษตรกรและชนบทได้รับการปฏิบัติตั้งแต่ปี 2008 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเกษตรที่ทันสมัย ยั่งยืนและสร้างสรรค์ชนบทใหม่ที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมที่ทันสมัย ชนชั้นเกษตรกรมีความมุ่งมั่นด้านการเมืองเพื่อเป็นฝ่ายรุกในกระบวนการพัฒนาชนบท หลังการปฏิบัติมาเวลา 10 ปี มติดังกล่าวได้ช่วยพัฒนาหน่วยงานการเกษตรเวียดนามให้มีส่วนร่วมรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาค ควบคุมภาวะเงินเฟ้อ แก้ไขปัญหางานทำ ปัญหาความยากจนและยกระดับสถานะของเวียดนามบนเวทีโลกมากขึ้น ส่วนในเวลาข้างหน้า เวียดนามก็จะปฏิบัติมตินี้ต่อไปให้ลุล่วงไปด้วยดี
ผลักดันการปฏิรูปการเกษตรให้ทันสมัยและยั่งยืนมากขึ้น - ảnh 1(Photo Internet)

 

ถึงปี 2017 เวียดนามยังคงมีความมั่นคงด้านอาหารโดยมูลค่าการส่งออกสัตว์น้ำได้เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละกว่า 26 การเพาะเลี้ยงปศุสัตว์เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 27 การส่งออกสินค้าการเกษตรสามารถยืนยันสถานะและขีดความสามารถในการแข่งขันของเวียดนามในตลาดโลก เช่น ข้าว ยางพารา กาแฟ มะม่วงหิมพานต์ กุ้ง ผลไม้ ซึ่งมีส่วนร่วมร้อยละ 2.66 ต่อการขยายตัวของจีดีพีของหน่วยงานการเกษตร มีการขยายขอบเขตกว่า 1.2 เท่า มีตำบลชนบทใหม่ 3,069 แห่ง มีแรงงานที่ได้รับการฝึกสอนอาชีพกว่า 7.2 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับปี 2008

สร้างก้าวกระโดดในการปฏิรูปโครงสร้างการเกษตรต่อไป

การปฏิรูปโครงสร้างการเกษตรผ่านการปฏิบัติมติ 26 ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญเพื่อสร้างโฉมใหม่ให้แก่ชนบทได้ประสบผลที่น่ายินดี ซึ่งก่อนอื่นคือการเปลี่ยนแปลงความรู้และสร้างความเป็นเอกฉันท์ในสังคมเกี่ยวกับความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปโครงสร้างการเกษตร แต่อย่างไรก็ตาม การผลิตเกษตรในปัจจุบันต้องเปลี่ยนแปลงตามแนวทางส่งเสริมจุดแข็งที่ตลาดมีความต้องการและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ สินค้าการเกษตรของเวียดนามสามารถเจาะตลาด 180 ประเทศและดินแดน จึงต้องมีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลมากขึ้น เช่น มีกลไกและนโยบายใหม่เพื่อดึงดูดสถานประกอบการ ผลักดันการวิจัยวิทยาศาสตร์ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและทันสมัย นายเหงียนซวนเกื่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทได้เผยว่า            “ต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างการเกษตรต่อไปผ่านการตรวจสอบสินค้าแต่ละประเภทเพื่อเน้นผลิตสินค้าที่เป็นจุดแข็งของเวียดนามและสินค้าที่ตลาดโลกกำลังมีความต้องการสูง ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในขั้นตอนการผลิต อัพเดทข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อการผลิตอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งผลักดันเศรษฐกิจในเขตชนบทเพื่อลดจำนวนแรงงานในภาคการเกษตรในกระบวนการสร้างสรรค์ชนบทอุตสาหกรรมที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ”

สร้างสรรค์ภาคการเกษตรที่ทันสมัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ

ในเวลาข้างหน้า เวียดนามจะปฏิบัติหน้าที่การปฏิรูปโครงสร้างการเกษตรต่อไปเพื่อสร้างสรรค์ภาคการเกษตรที่ทันสมัยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเวียดนามจะทำการตรวจสอบหน่วยงานต่างๆเพื่อทำการปฏิรูปโครงสร้างให้สอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละท้องถิ่น เลือกสินค้าที่เหมาะสมตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ รองนายกรัฐมนตรีจิ่งดิ่งหยุงระบุอย่างชัดเจนว่า “ในระยะต่อไป ต้องกำหนดเป้าหมายร่วมคือสร้างสรรค์ภาคการเกษตรอัจฉริยะ ทันสมัย มีขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ แต่เพื่อสามารถแข่งขันได้ สินค้าของเราต้องมีคุณภาพ มีผลผลิตสูงและสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นปัญหาระดับโลกที่เวียดนามต้องรับมือ ควบคู่กันนั้นต้องเพิ่มมูลค่าและพัฒนาอย่างยั่งยืนพร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจของชนบท ดึงดูดการลงทุนของสถานประกอบการและสหกรณ์ โดยถือสถานประกอบการและสหกรณ์เป็นพลังขับเคลื่อนหลักสำหรับการพัฒนา ส่วนประชาชนเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องให้บริการและเป็นปัจจัยชี้ขาดต่อผลสำเร็จของการปฏิรูปโครงสร้างและพัฒนาการเกษตร”

ตั้งแต่บัดนี้จนถึงปี 2020 เวียดนามตั้งเป้าหมายเพิ่มมูลค่าการเกษตรที่ทันสมัยอย่างน้อยร้อยละ 3 ต่อปี ส่วนผลผลิตของแรงงานการเกษตรก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ต่อปี รายได้ของประชาชนในเขตชนบทเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1.8 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2015 ทั้งประเทศพยายามให้มีตำบลที่บรรลุมาตรฐานชนบทใหม่กว่าร้อยละ 50 มีสหกรณ์ 15,000 แห่งที่ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและอัตราการปลูกป่าบรรลุร้อยละ 42 แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อบรรลุผลงานดังกล่าว หน่วยงานการเกษตรเวียดนามได้เน้นสร้างสรรค์ตาม 3 เสาหลัก ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าหลักของประเทศ กลุ่มสินค้าหลักของจังหวัดและกลุ่มสินค้าตามรูปแบบ “หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์”เพื่อมียุทธศาสตร์และมาตรการพัฒนาที่เหมาะสม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด