เวียดนามพยายามลดความไม่เสมอภาคในสังคม

(VOVworld) - รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจของเวียดนามหลังการปฏิบัติภารกิจโด๊ยเมิ้ย หรือ เปลี่ยนแปลงใหม่ เมื่อปี 1986 ได้ประสบความสำเร็จเนื่องจากช่วยเพิ่มอัตราการขยายตัวในระดับสูง อีกทั้งแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น แต่ในทางกลับกัน ก็ทำให้ปัญหาความไม่เสมอภาคในสังคมเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่ทางการปกครองทุกระดับกำลังให้ความสนใจเป็นพิเศษ
(VOVworld) - รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจของเวียดนามหลังการปฏิบัติภารกิจโด๊ยเมิ้ย หรือ เปลี่ยนแปลงใหม่ เมื่อปี 1986 ได้ประสบความสำเร็จเนื่องจากช่วยเพิ่มอัตราการขยายตัวในระดับสูง อีกทั้งแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น แต่ในทางกลับกัน ก็ทำให้ปัญหาความไม่เสมอภาคในสังคมเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่ทางการปกครองทุกระดับกำลังให้ความสนใจเป็นพิเศษ

เวียดนามพยายามลดความไม่เสมอภาคในสังคม - ảnh 1
ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น

รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรของชาวเวียดนามในหลายทศวรรษที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 1990 อยู่ที่ 100 ดอลลาร์สหรัฐ และได้เพิ่มขึ้นเป็น 2.300 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2015 ประชากรกว่า 30 ล้านคนสามารถหลุดพ้นจากความยากจน ส่วนอัตราการขยายตัวด้านเศรษฐกิจเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5- 6 ต่อปี  แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้พรรค รัฐและรัฐบาลได้มีนโยบายด้านสวัสดิการสังคมอย่างเข้มแข็ง แต่ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนก็ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
การปฏิบัตินโยบายต่างๆเพื่อลดความไม่เสมอภาคในสังคม
การแก้ไขปัญหาความไม่เสมอภาคคือความรับผิดชอบของรัฐเพื่อมุ่งสู่การสร้างสังคมที่ยุติธรรม มีประชาธิปไตยและอารยธรรม ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากการปฏิบัติระเบียบการ นโยบายและมาตรการต่างๆ นายโงเฉื่องที ปลัดสำนักงานโครงการเป้าหมายแห่งชาติว่าด้วยการแก้ปัญหาความยากจนสังกัดกระทรวงแรงงานทหารทุพพลภาพและสังคมเวียดนามแสดงความเห็นว่า“พรรค รัฐสภาและรัฐบาลกำลังพยายามแก้ไขปัญหาความไม่เสมอภาคผ่านระเบียบ นโยบายและมาตรการต่างๆในด้านสาธารณสุข การศึกษาและนโยบายสำหรับผู้ที่มีฐานะยากจนตามแนวทางส่งเสริมบทบาทของผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากนโยบายดังกล่าวและระดมการเข้าร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนในสังคม พร้อมทั้งสร้างเวทีเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆสำหรับชนกลุ่มน้อยและอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชาติผ่านการเพิ่มสิทธิ์ของชนกลุ่มน้อยเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่พวกเขาและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ตลอดจนลดช่องว่างและความไม่เสมอภาคในการพัฒนาระหว่างเขตตัวเมืองกับเขตชนกลุ่มน้อย”
ในเวลาที่ผ่านมา กระทรวง หน่วยงานและท้องถิ่นต่างๆได้ปฏิบัติโครงการแก้ปัญหาความยากจนเพื่อลดความไม่เสมอภาคในสังคมอย่างเข้มแข็ง เช่น โครงการช่วยเหลือ 8 จังหวัด ได้แก่ กาวบั่ง ห่ายาง เดียนเบียน บั๊กก่าน แทงฮว้า กว๋างหงาย กอนตุมและจ่าวิงระยะปี 2012 – 2015 ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นดีพีและสถานทูตไอร์แลนด์ประจำเวียดนาม โดยได้ทำการประชาสัมพันธ์เพื่อยกระดับความรู้ให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่มีฐานะยากจน ขยายผลการปฏิบัติตามรูปแบบต่างๆที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมบทบาทของชุมชนในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆของโครงการ นาย ฝ่ามเจื่องเถาะ รองประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดกว๋างหงายได้ประเมินว่า“พวกเราได้สร้างรูปแบบการผลิตให้แก่ผู้ที่มีฐานะยากจนตามแนวทางส่งเสริมการเป็นฝ่ายรุกและการพึ่งพาตนเองอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ของทางการปกครองท้องถิ่นและครอบครัวที่มีฐานะยากจน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประชาชน”
ทำการปฏิรูปอย่างพร้อมเพรียงเพื่อลดความไม่เสมอภาค
นาง Babeth Ngọc Hân Lefur  ผู้อำนวยการแห่งชาติองค์การ Oxfam ประจำเวียดนามได้เผยว่า รูปแบบเศรษฐกิจเวียดนามหลังภารกิจโด๊ยเม๋ยได้ประสบความสำเร็จเนื่องจากช่วยเพิ่มอัตราการขยายตัวในระดับสูง อีกทั้งแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนที่กำลังเพิ่มมากขึ้น เวียดนามต้องปฏิบัตินโยบายปฏิรูปการบริหารภาครัฐ ภาษี การใช้จ่ายสาธารณะ สิทธิของผู้ใช้แรงงานและการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของประชาชน พร้อมทั้งมีนโยบายต่างๆเพื่อลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนนอกเหนือจากโครงการแก้ปัญหาความยากจน เกี่ยวกับปัญหานี้ นายโงเฉื่องที ปลัดสำนักงานโครงการเป้าหมายแห่งชาติว่าด้วยการแก้ปัญหาความยากจนสังกัดกระทรวงแรงงานทหารทุพพลภาพและสังคมเวียดนามได้เผยว่า“พรรค รัฐสภาและรัฐบาลกำลังเน้นการปฏิรูประเบียบการให้มีความโปร่งใสและเปิดเผย พร้อมทั้งปฏิบัตินโยบายบริหารเศรษฐกิจมหภาค โดยเฉพาะในด้านการลงทุนและนโยบายด้านสวัสดิการสังคมอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งก่อนอื่น ต้องกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นและผลักดันการเข้าร่วมของประชาชนมากขึ้น”
ถึงแม้เวียดนามได้มีนโยบายต่างๆเพื่อคํ้าประกันด้านสวัสดิการสังคม แต่ยังมีช่องว่างในการได้รับประโยชน์จากผลสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่มีจำนวนมากแต่ได้รับประโยชน์ในระดับตํ่ากับกลุ่มอภิสิทธิ์ชน ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่า ดังนั้นจากความพยายามเพื่อเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกเกี่ยวกับการลดความไม่เสมอภาคในสังคม เวียดนามกำลังปฏิบัติมาตรการต่างๆเพื่อให้ประชาชนทุกคนได้ผลประโยชน์จากผลสำเร็จในการพัฒนาประเทศอย่างเท่าเทียมกัน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด