เวียดนามยืนยันบทบาทสมาชิกเข้มแข็งในความร่วมมือแม่โขง – ญี่ปุ่น

(VOVWORLD) -ตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม เหงียนซวนฟุ๊กได้เข้าร่วมการประชุมระดับสูงความร่วมมือแม่โขง – ญี่ปุ่นครั้งที่ 10 และเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการในระหว่างวันที่ 7-10 ตุลาคม นี่คือกิจกรรมสำคัญที่ได้รับการคาดหวังว่า จะสร้างนิมิตหมายใหม่ในกรอบความร่วมมือแม่โขง – ญี่ปุ่น พร้อมทั้งแสดงให้เห็นว่า เวียดนามให้ความสำคัญและมีความปรารถนาที่จะมีบทบาทเข้มแข็งมากขึ้นในกลไกความร่วมมือนี้และยกระดับความสัมพันธ์ยุทธศาสตร์ระหว่างเวียดนามกับญี่ปุ่นให้ขึ้นสู่ขั้นสูงใหม่

เวียดนามยืนยันบทบาทสมาชิกเข้มแข็งในความร่วมมือแม่โขง – ญี่ปุ่น - ảnh 1 นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ กับนายกรัฐมนตรีเวียดนาม เหงียนซวนฟุ๊ก (Photo VGP)

การประชุมระดับสูงครั้งนี้มีขึ้นในโอกาสครบรอบ 10 ปีการก่อตั้งกลไกความร่วมมือแม่โขง – ญี่ปุ่นและ 3 ปีการปฏิบัติยุทธศาสตร์โตเกียว รวมทั้งผลสำเร็จที่น่ายินดีในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การรับมือภัยธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการพบปะแลกเปลี่ยนในระดับประชาชน

กลไกความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพ

ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12 ณ ประเทศฟิลิปปินส์เมื่อเดือนมกราคมปี 2007 ญี่ปุ่นได้เสนอโครงการความสัมพันธ์หุ้นส่วนแม่โขง – ญี่ปุ่นที่เน้นให้ความสำคัญเป็นพิเศษใน 3 ด้านคือ การผสมผสานทางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาค การขยายการค้า – การลงทุนระหว่างญี่ปุ่นกับอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงและความพยายามบรรลุคุณค่าและเป้าหมายทั่วไปของภูมิภาค เช่น การแก้ปัญหาความยากจน เป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ การควบคุมและป้องกันโรคระบาดและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ถึงขณะนี้ ญี่ปุ่นและบรรดาประเทศแม่โขง ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ไทยและเวียดนามได้จัดการประชุมระดับสูง 9 ครั้งและการประชุมระดับรัฐมนตรี 11 ครั้ง โดยบรรลุข้อตกลงฉบับต่างๆ และมีการกระชับความร่วมมือในหลายด้านจนประสบผลงานที่เป็นรูปธรรม เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน การลดช่องว่างการพัฒนา การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การรับมือความท้าทายต่างๆ เช่น โรคระบาด ภัยธรรมชาติและการพบปะแลกเปลี่ยนในระดับต่างๆ

ในระยะปี 2016-2018 ในกรอบของความร่วมมือแม่โขง – ญี่ปุ่น ได้มีการปฏิบัติ “ยุทธศาสตร์โตเกียวใหม่ปี 2015” และ “แผนปฏิบัติการแม่โขง – ญี่ปุ่นเพื่อปฏิบัติยุทธศาสตร์โตเกียวใหม่ปี 2015” ด้วยเป้าหมาย “การขยายตัวที่มีคุณภาพ” และสามารถพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและเท่าเทียมกับอนุภูมิภาคแม่โขงอย่างต่อเนื่อง ที่น่าสนใจคือ ในการประชุมระดับสูงแม่โขง – ญี่ปุ่นครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมปี 2015 นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้อนุมัติงบประมาณ 6.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสนับสนุนเงินโอดีเอให้แก่บรรดาประเทศในอนุภูมิภาคแม่โขงเพื่อปฏิบัติยุทธศาสตร์โตเกียวใหม่ปี 2015 และให้สิทธิพิเศษแก่อนุภูมิภาคแม่น้ำโขงในการปฏิบัติความคิดริเริ่ม 1 แสน 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในกรอบความร่วมมือกับธนาคารพัฒนาเอเชียหรือเอดีบีเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพสูงในเอเชียแปซิฟิก

การประชุมครั้งนี้จะเห็นพ้อง “ยุทธศาสตร์ความร่วมมือโตเกียวปี 2018” ที่กำหนดแนวทางความร่วมมือแม่โขง – ญี่ปุ่นระยะปี 2019-2021 พร้อมทั้งประเมินและถอดประสบการณ์ความร่วมมือในตลอด 10 ปีที่ผ่านมา รวมถึงโอกาสและความท้าทายต่างๆ ในระยะใหม่

เวียดนามมีบทบาทเข้มแข็งในกลไกความร่วมมือแม่โขง ญี่ปุ่น

จากการเป็นประตูของภูมิภาคแม่น้ำโขง เวียดนามให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์ร่วมมือกับบรรดาประเทศในเขตอนุภูมิภาค โดยเฉพาะกลไกความร่วมมือแม่โขง – ญี่ปุ่น ตั้งแต่ที่กลไกนี้ได้รับการก่อตั้ง เวียดนามก็ได้แสดงบทบาทของประเทศที่มีความรับผิดชอบ คล่องตัวและเข้าร่วมกลไกอย่างเข้มแข็ง

หลังความร่วมมือเป็นเวลา 10 ปี จากส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพ เวียดนามนับวันยิ่งมีบทบาทและเสียงพูดสำคัญมากขึ้นในกลไกความร่วมมือแม่โขง – ญี่ปุ่น เวียดนามเป็นหุ้นส่วนที่น่าไว้วางใจ พร้อมร่วมมือกับญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ จัดทำแผนร่วมมือในระยะยาวเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายร่วมคือการพัฒนาและลดช่องว่างการพัฒนาในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง

ในเวลาที่ผ่านมา ความคิดริเริ่มต่างๆ ที่เวียดนามเสนอ เช่น “ขยายการเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคแม่โขงผ่านการผลักดันการขนส่งในหลากหลายรูปแบบ” “ขยายการเชื่อมโยงระหว่างอนุภูมิภาคแม่โขงกับภูมิภาคใกล้เคียง เช่น เอเชียใต้” ต่างได้รับการสนับสนุนจากประเทศหุ้นส่วนอย่างเข้มแข็งและบนพื้นฐานกลไกความร่วมมือนี้ โครงการต่างๆที่ปฏิบัติในเวียดนามได้มีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ – สังคมของเวียดนาม

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม เหงียนซวนฟุ๊กก็จะเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ ซึ่งประจวบกับโอกาสรำลึกครบรอบ 45 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเวียดนาม – ญี่ปุ่นเพื่อกระชับความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์อย่างกว้างลึกที่กำลังประสบผลงานที่น่ายินดีในทุกด้านเพื่อมีส่วนร่วมส่งเสริมความไว้วางใจทางการเมือง นอกจากนี้ การเข้าร่วมการประชุมและการเยือนญี่ปุ่นครั้งนี้ก็เพื่อยืนยันว่า เวียดนามเป็นหุ้นส่วนที่น่าไว้วางใจ พร้อมร่วมมือกับญี่ปุ่นและประเทศต่างๆจัดทำกลไกความร่วมมือในระยะยาวเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายร่วมคือพัฒนาและลดช่องว่างการพัฒนาในอนุภูมิภาคและยกระดับความสัมพันธ์ยุทธศาสตร์ระหว่างเวียดนามกับญี่ปุ่นให้ขึ้นสู่ขั้นสูงใหม่.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด