การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบธรรมชาติในพื้นที่ป่าชายเลน

(VOVworld) – แม้เกษตรกรจังหวัดริมฝั่งเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงจะประสบความเสี่ยงในการทำนากุ้งแต่ครอบครัวนับพันครัวเรือนในจังหวัดจ่าวิงห์กลับมีรายได้ที่มั่นคงจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบธรรมชาติในพื้นที่ป่าชายเลนและสามารถฟื้นฟูป่าชายเลนที่ถูกทำลาย
(VOVworld) – แม้เกษตรกรจังหวัดริมฝั่งเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงจะประสบความเสี่ยงในการทำนากุ้งแต่ครอบครัวนับพันครัวเรือนในจังหวัดจ่าวิงห์กลับมีรายได้ที่มั่นคงจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบธรรมชาติในพื้นที่ป่าชายเลนและสามารถฟื้นฟูป่าชายเลนที่ถูกทำลาย
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบธรรมชาติในพื้นที่ป่าชายเลน - ảnh 1
นายฟานวันฮ้วน: “การเพาะเลี้ยงกุ้งและปูแบบนี้มีกำไรไม่มากนัก
แต่มั่นคงกว่าการเพาะเลี้ยงแบบฟาร์มอุตสาหกรรม

ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา ครอบครัวที่ทำนากุ้งในตำบลเหียบแถง อำเภอเยวียนหายได้ประสบความยากลำบากเพราะกุ้งตายเนื่องจากอากาศไม่อำนวยและสิ่งแวดล้อมเสียหายแต่ครอบครัวของนายฟานวันฮ้วนกลับได้ประสบความสำเร็จโดยมีกำไร 120 – 150 ล้านด่งต่อปีจากการเพาะเลี้ยงกุ้งและปูในพื้นที่ผิวน้ำ 4.5 เฮ็กตาร์ของป่าโกงกางร้อยละ 50 ถึงแม้ว่ารายได้อาจจะยังไม่สูงมากนักแต่ก็มีต้นทุนต่ำและไม่ต้องดูแลมากนัก เมื่อเร็วๆนี้ นายฮ้วนได้ปลูกป่าเพิ่มอีก 3 เฮ็กตาร์เพื่อขยายพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  “การเพาะเลี้ยงกุ้งและปูแบบนี้มีกำไรไม่มากนักแต่มั่นคงกว่าการเพาะเลี้ยงแบบฟาร์มอุตสาหกรรม ผมใช้พื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมดเพื่อการเพาะเลี้ยงกุ้งและปูแต่เนื่องจากไม้ยังอ่อนอยู่จึงใช้ประโยชน์ได้ไม่มากนัก”
ส่วนนายฟานวันแก๋ง ในตำบลลองหวิง อำเภอเยวียนหายเผยว่า ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ครอบครัวของเขาต้องประสบปัญหาภาวะหนี้สินจากการทำฟาร์มเลี้ยงกุ้งแบบอุตสาหกรรม เพราะว่า ในช่วงแรกการเลี้ยงกุ้งแบบอุตสาหกรรมได้ผลดีแต่หลังจากนั้นได้ประสบความเสียหายทุกปี ดังนั้นเขาจึงตัดสินใจปลูกป่าเพื่อเพาะเลี้ยงกุ้งและปูแบบธรรมชาติ ด้วยการเพิ่มจำนวนพันธุ์สัตว์น้ำและเพิ่มอาหารทุกๆสัปดาห์ นายฟานวันแก๋งกล่าวว่า “ก่อนหน้านี้ บริเวณนี้ไม่มีป่าเพราะผมได้ตัดไม้เพื่อทำเป็นบ่อเลี้ยงกุ้งแบบอุตสาหกรรมแต่ผมก็ประสบปัญหาความเสียหายตลอด 3 ปี และหลังจากที่ผมตัดสินใจปลูกป่าใหม่เพื่อเพาะเลี้ยงตามแบบธรรมชาติ ในแต่ละปีผมมีรายได้กว่าร้อยล้านด่ง”
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบธรรมชาติในพื้นที่ป่าชายเลน - ảnh 2
เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบธรรมชาติในพื้นที่ป่าชายเลน (Photo Internet)

ผลการประเมินของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรากฎว่า รูปแบบการเพาะเลี้ยงกุ้งและปูตามแบบธรรมชาตินี้ได้เปรียบกว่ารูปแบบอุตสาหกรรม โดยใช้พื้นที่ร้อยละ 60 เพื่อเพาะเลี้ยง ส่วนที่เหลือร้อยละ 40 เป็นพื้นที่ป่าชายเลนจะได้ผลกำไรถึง 100 ล้านด่งต่อเฮ็กตาร์ ดังนั้น รูปแบบการเพาะเลี้ยงเช่นนี้จึงมีศักยภาพมากกว่ารูปแบบการเลี้ยงแบบอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงจากโรคระบาดต่างๆ นอกจากนี้ การเพาะเลี้ยงแบบธรรมชาติยังมีส่วนร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและปกป้องป่าไม้ได้ดีขึ้นอีกด้วย นายเฉิ่นเจื่องยาง หัวหน้าฝ่ายการเกษตรและพัฒนาชนบทอำเภอเยวียนหายเผยว่า  “การเพาะเลี้ยงรูปแบบนี้ใช้ต้นทุนต่ำ มีความเสี่ยงน้อยและเหมาะกับเกษตรกรในเขตริมฝั่งทะเล ตามสถิติ มีครอบครัวร้อยละ 80 ที่เพาะเลี้ยงแบบนี้ได้ผลกำไร”
จากความสำเร็จดังกล่าว ตั้งแต่ปี 2010-2014 ประชาชนในเขตริมฝั่งทะเลของจังหวัดจ่าวิงห์ได้ลงทุนปลูกป่าเกือบ 3,200 เฮ็กตาร์เพื่อใช้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งทำให้พื้นที่ป่าชายเลนในจังหวัดเพิ่มขึ้นเป็น 7,520 เฮ็กตาร์ ส่วนโครงการดังกล่าวได้รับการปฏิบัติใน 12 ตำบลของ 3 อำเภอริมฝั่งทะเลคือ โจว์แถ่ง เก่างางและเยวียนหาย โดยอำเภอเยวียนหายเป็นเป้าหมายการลงทุนของจังหวัด ซึ่งสามารถปลูกป่าใหม่ได้เกือบ 9,500 เฮ็กตาร์ นอกจากการปลูกป่าใหม่แล้ว ทางจังหวัดยังทำการวางแผน จัดระเบียบและส่งเสริมให้ประชาชนเข้าร่วมโครงการปลูกป่าเพื่อพัฒนาความหลากหลายทางระบบนิเวศของป่าชายเลนพร้อมกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ นายเฉิ่นวันชี้ หัวหน้าฝ่ายควบคุมและปกป้องป่า การป้องกันและดูแลป่าจังหวัดจ่าวิงห์เผยว่า “ถ้าหากลงทุนให้แก่การเพาะเลี้ยงกุ้งพร้อมกับการปลูกป่าจะมีผลสำเร็จมากกว่าและยั่งยืนกว่าการเพาะเลี้ยงแบบอุตสาหกรม ดังนั้น ประชาชนจึงให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการลงทุนปลูกป่าไม้เพื่อฟื้นฟูป่าที่สูญเสียไป ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเท่านั้น หากยังสร้างประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจอีกด้วย”
ผลสำเร็จจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบธรรมชาติในพื้นที่ป่าชายเลนไม่เพียงแต่ช่วยให้ชาวบ้านในเขตริมฝั่งทะเลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเท่านั้น หากยังมีส่วนร่วมอนุรักษ์และพัฒนาระบบนิเวศของป่าชายเลนในอำเภอเยวียนหายอีกด้วย พร้อมทั้งเป็นรูปแบบรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของท้องถิ่นต่างๆในเขตริมฝั่งทะเลของจังหวัดจ่าวิงห์.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด