ยืนหยัดแก้ไขปัญหาหนี้เสียควบคู่กับการปรับปรุงโครงสร้างระบบธนาคาร

(VOVworld) –  ในแผนการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจแบบบูรณาการที่นายกรัฐมนตรีอนุมัติ การปรับปรุงโครงสร้างระบบธนาคารและแก้ไขปัญหาหนี้เสียคือหน้าที่สำคัญซึ่ง ภายหลังปฏิบัติแผนการ๓ปี การแก้ไขปัญหาหนี้เสียได้ประสบผลสำเร็จในเบื้องต้น

(VOVworld) –  ในแผนการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจแบบบูรณาการที่นายกรัฐมนตรีอนุมัติ การปรับปรุงโครงสร้างระบบธนาคารและแก้ไขปัญหาหนี้เสียคือหน้าที่สำคัญซึ่ง ภายหลังปฏิบัติแผนการ๓ปี การแก้ไขปัญหาหนี้เสียได้ประสบผลสำเร็จในเบื้องต้

ยืนหยัดแก้ไขปัญหาหนี้เสียควบคู่กับการปรับปรุงโครงสร้างระบบธนาคาร - ảnh 1
คาดว่าจนถึงปลายปีนี้หนี้เสียจะลดลงเหลือร้อยละ๓ (Photo:VOV )

  ภายหลัง๓ปี ระบบธนาคารสามารถแก้ไขปัญหาหนี้เสียได้๒๔๙ล้านล้านด่งและทุกเดือนองค์กรสินเชื่อได้เจียดเงิน๗๐ล้านล้านด่งเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาหนี้เสีย เมื่อปี๒๐๑๒ หนี้เสียของบรรดาองค์กรสินเชื่ออยู่ที่ร้อยละ๑๗ ส่วนในเดือนกันยายนที่ผ่านมา หนี้เสียได้ลดลงเหลือเพียงร้อยละ๓.๘ และจากการแก้ไขปัญหาหนี้เสียอย่างรวดเร็วพร้อมกับความตั้งใจขององค์กรสินเชื่อต่างๆคาดว่าจนถึงปลายปีนี้หนี้เสียจะลดลงเหลือร้อยละ๓ นายเหงวียนดึ๊กวิง ผู้อำนวยการธนาคารวีพีแบ๊งค์เห็นว่า หนี้เสียมิใช่ปัญหาที่ต้องกังวลถ้าหากอยู่ในขอบเขตที่สามารถควบคุมได้ ประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาหนี้เสียคือผลักดันการผลิตเพื่อขายสินค้าและผลักดันการบริโภคเพื่อให้ประชาชนซื้อสินค้า  นายเหงวียนดึ๊กวิงกล่าวถึงการแก้ไขปัญหาหนี้เสียของธนาคารวีพีแบ๊งค์ว่า“ทางธนาคารได้จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจเพื่อติดตาม ประเมิน วิเคราะห์และวางแผนระยะ๓ถึง๔ปีเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้เสีย พวกเราไม่ควรกล่าวถึงหนี้เสียมากเกินไปหากควรกล่าวถึงหนี้ดี กล่าวถึงความต้องการและการพัฒนาซึ่งจะช่วยให้หนี้เสียลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป”

ส่วนนางเหงวียนถิห่ง รองผู้ว่าการธนาคารชาติเวียดนามเผยว่า ปัจจุบันทางธนาคารได้แบ่งประเภทหนี้ตามมาตรฐานสากลและความสามารถชำระหนี้ของลูกค้า เวียดนามกำลังดำเนินมาตรการต่างๆเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้เสีย เช่น ธนาคารเจียดเงินเพื่อใช้ในการป้องกันความเสี่ยง ขายทรัพย์สินผ่านบริษัทบริหารทรัพย์สิน  นอกจากนี้ องค์กรสินเชื่อต่างๆก็เจียดเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยง ธนาคารชาติได้ชี้นำให้บรรดาองค์กรสินเชื่อคืนหนี้ ยับยั้งการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียเมื่อให้กู้เงินก้อนใหม่ นางเหงวียนถิห่งกล่าวว่า“เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้เสียต้องมีแหล่งการเงิน ประสบการณ์จากต่างประเทศแสดงให้เห็นว่า การแก้ไขปัญหาหนี้เสียต้องใช้เงินมาก บางประเทศต้องใช้เงินนับสิบเปอร์เซ็นของจีดีพี ในเวลาที่ผ่านมา การแก้ไขปัญหาหนี้เสียได้ปฏิบัติผ่านบริษัทซื้อขายหนี้หรือวีเอ็มซีโดยใช้แหล่งเงินที่ได้รับจัดสรร หมายความว่า เมื่อขายหนี้เสียให้แก่วีเอ็มซี องค์กรสินเชื่อต่างๆจะได้รับพันธบัตรพิเศษและสามารถกู้เงินทุนได้ด้วยดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าดอกเบี้ยทั่วไปที่ร้อยละ๒ของธนาคารชาติ ในการบริหารของธนาคารชาติ ธนาคารชาติไม่เพียงแต่มีเป้าหมายเดียวคือแก้ไขปัญหาหนี้เสียเท่านั้นหากเป้าหมายบริหารการเงินที่ต้องปฏิบัติคือ ควบคุมเงินเฟ้อ สร้างเสถียรภาพให้เศรษฐกิจมหภาคและรักษาสภาพคล่องของทั้งระบบธนาคาร”

ในที่ประชุมครั้งที่๘ รัฐสภาสมัยที่๑๓ ที่กำลังจัดขึ้น ที่กรุงฮานอย  ในการอภิปรายรายงานของรัฐบาลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจสังคมของประเทศ ผู้แทนรัฐสภาจำนวนมากได้แสดงความเห็นด้วยกับเป้าหมายการขยายตัวจีดีพีร้อยละ๖๒ในปี๒๐๑๕ที่รัฐบาลได้วางไว้ อย่างไรก็ดี เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ การปรับปรุงโครงสร้างธนาคารและการแก้ไขปัญหาหนี้เสียต้องอยู่ในการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจแบบบูรณาการโดยต้องผลักดันการผลิตและประกอบธุรกิจ ป้องกันการรั่วไหลของภาษี ต่อต้านสินค้าเถื่อน สินค้าปลอม และการเปลี่ยนแปลงราคา สร้างรายรับงบประมาณที่มีเสถียรภาพและยั่งยืน และใช้งบประมาณแผ่นดินอย่างประหยัด ดังนั้น การแก้ปัญหาหนี้เสียผ่านการปรับปรุงโครงสร้างธนาคารจะส่งผลดีเพื่อมีส่วนร่วมปฏิบัติเป้าหมายจีดีพีของประเทศให้ลุล่วงไปด้วยดี./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด