อียิปต์เผชิญกับความไม่สงบรอบใหม่

VOVworld-5 สถานการณ์การเมืองอียิปต์มีสัญญาณที่อาจจะตกเข้าสู่วงเวียนแห่งความไม่สงบอีกครั้งหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบที่สองเมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยชาวอียิปต์ได้ฝากความหวังไว้ว่าสถานการณ์การเมืองของประเทศจะมีเสถียรภาพหลังการเลือกตั้งแต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศภูมิภาคอัฟริกาเหนือนี้กลับเป็นการแย่งชิงอำนาจระหว่างฝ่ายการเมืองต่างๆยังคงยืดเยื้อโดยไม่มีที่สิ้นสุด

VOVworld-5 สถานการณ์การเมืองอียิปต์มีสัญญาณที่อาจจะตกเข้าสู่วงเวียนแห่งความไม่สงบอีกครั้งหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบที่สองเมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยชาวอียิปต์ได้ฝากความหวังไว้ว่าสถานการณ์การเมืองของประเทศจะมีเสถียรภาพหลังการเลือกตั้งแต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศภูมิภาคอัฟริกาเหนือนี้กลับเป็นการแย่งชิงอำนาจระหว่างฝ่ายการเมืองต่างๆยังคงยืดเยื้อโดยไม่มีที่สิ้นสุด

อียิปต์เผชิญกับความไม่สงบรอบใหม่ - ảnh 1
ชาวอียิปต์ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ( ภาพเอเอฟพี-สำนักข่าวเวียดนาม )

สิ่งที่น่าสนใจประการแรกในหลายวันที่ผ่านมาคือ ผู้ลงสมัครทั้งสองท่านได้แก่นายโมฮัมเหม็ด เมอร์ซีจากขบวนการภราดรภาพมุสลิมและอดีตนายกฯอาห์เหม็ด ซาฟีกในสมัยของประธานาธิบดีฮอสนี มูบารักต่างอ้างว่าตนได้รับชัยชนะ  ในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ณ กรุงไคโร เมื่อวันที่ ๑๙ ที่ผ่านมา โฆษกของกลุ่มหาเสียงเลือกตั้งของอดีตนายกฯอาห์เหม็ด ซาฟีกได้เผยว่าผู้สมัครอาเหม็ดได้รับชัยชนะด้วยคะแนนร้อยละ ๕๑.๕ ทิ้งห่างนายโมฮัมเหม็ด เมอร์ซี  ในขณะที่วันที่ ๑๘ ที่ผ่านมาขบวนการภราดรภาพมุสลิมก็ได้ประกาศว่าผู้ลงสมัครของพรรคตนได้รับชัยชนะด้วยคะแนน ๕๒.๕   สถานการณ์การเมืองในอียิปต์ยิ่งร้อนระอุมากขึ้นเมื่อนายมาห์มุด โกซลาน โฆษกของขบวนการภราดรภาพมุสลิมได้เตือนว่า อาจจะเกิดการปะทะระหว่างประชาชนกับทหารหากผู้ลงสมัครของฝ่ายตนพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง  จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้คณะกรรมการเลือกตั้งได้ออกมาเรียกร้องให้ผู้สมัครทั้งสองท่านยุติการอ้างเกี่ยวกับผลการเลือกตั้งซึ่งไม่ตรงกับผลจริง คณะกรรมการเลือกตั้งก็ได้เลื่อนการประกาศผลการเลือกตั้งซึ่งกำหนดจะประกาศในวันที่ ๒๑ เดือนนี้ออกไปอย่างไม่มีกำหนดเพราะต้องการสืบสวนข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการที่จำนวนคะแนนและผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่สอดคล้องกัน

อียิปต์เผชิญกับความไม่สงบรอบใหม่ - ảnh 2
ผู้ชุมนุมในกรุงไคโรเผารถ ( ภาพเอเอฟพี )

จากสถานการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ในขณะที่ผู้ลงสมัครทั้งสองคนกำลังร้องเรียนเกี่ยวกับผลการเลือกตั้งดังนั้นไม่ว่าผู้สมัครคนใดชนะก็จะไม่มีอำนาจที่แท้จริงเพราะอำนาจการบริหารประเทศอียิปต์ที่แท้จริงกำลังอยู่ในมือของทหาร แม้กระทั่ง วงค์การวิเคราะห์ทางการเมืองยังตั้งคำถามว่า ดูเหมือนว่าจะไม่มีใครชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้  คำถามนี้มีเหตุผลเพราะว่า ในวันจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีคือวันที่ ๑๗ ที่ผ่านมา สภาสูงสุดแห่งชาติซึ่งกำลังมีอำนาจบริหารประเทศได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไข  ตามความในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ สภาสูงสุดแห่งชาติมีอำนาจในการร่างกฎหมายในรัฐสภาที่ขบวนการภราดรภาพมุสลิมมีสมาชิกถึงร้อยละ ๔๗ ได้ถูกศาลอียิปต์ตัดสินยุบก่อนหน้านั้น ๒ วัน  รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขได้ระบุชัดว่าสภาสูงสุดแห่งชาติมีอำนาจปฏิเสธรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และแทรกแซงการบริหารของประธานาธิบดี  การกระทำดังกล่าวได้สร้างความไม่พอใจในสังคมโดยมีเสียงตำหนิสภาสูงสุดแห่งชาติว่า กำลังหาทุกวิถีทางเพื่อรักษาอำนาจของตนไว้ให้ได้  นายโมฮัมเหม็ด แอลพาราได นักการทูตอียิปต์และอดีตผู้อำนวยการสักนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศหรือไอเออีเอได้เรียกข้อแก้ไขต่างๆในรัฐธรรมนูญของสภาสูงสุดแห่งชาติเป็นความล้มเหลวของกระบวนการประชาธิปไตยและการปฏิวัติในอียิปต์ซึ่งก็เป็นสาเหตุทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองของอียิปต์ตึงเครียดยิ่งขึ้น โดยวันที่ ๑๙ ที่ผ่านมา ชาวอียิปต์ประมาณ ๑๕,๐๐๐ คนได้รวมตัว ณ จัตุรัสทาห์รีกลางกรุงไคโรเพื่อชุมนุมประท้วงสภาสูงสุดแห่งในเรื่องการหาทุกวิถีทางในการรักษาอำนาจ ขบวนการภราดรภาพมุสลิมได้ระดมสมาชิกนับพันคนจากจังหวัดหลายแห่งร่วมการชุมนุมดังกล่าว ส่วนพรรคมุสลิมอื่นๆก็ได้ตัดสินใจฟ้องสภาสูงสุดแห่งชาติและหัวหน้าศาลรัฐธรรมนูญสูงสุดเนื่องจากได้ตัดสินยุบสภา โดยให้เหตุผลว่าสภาสูงสุดแห่งชาติและศาลไม่มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องนี้  ในขณะเดียวกันสมาชิกรัฐสภาสังกัดพรรคเสรีและความยุติธรรมได้ขู่ที่จะนำเรื่องนี้ขึ้นสู่เวทีโลก  พรรควาซาตก็ได้ขู่ในทำนองเดียวกันนี้ โดยเรียกร้องให้รัฐสภายุโรป อาหรับและประเทศอื่นๆหารือเพื่อมีปฏิบัติการที่เหมาะสม ส่วนพรรคนัวร์ได้เตือนว่าการกระทำดังกล่าวจะส่งผลในทางลบต่อประเทศ  กองทัพอียิปต์ได้เตรียมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวโดยส่งกำลังไปประจำตามทางหลวงระหว่างกรุงไคโรและเมืองอะเล็กซันเดรีย นับเป็นครั้งแรกที่กองทัพส่งรถถังจำนวนมากมาประจำในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงไคโรนับตั้งแต่เกิดกระแสการลุกฮือโค่นล้มประธานาธิบดีมูบารักเมื่อปี ๒๐๑๑

ในขณะที่ผลการเลือกตั้งยังไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการ สถานการณ์การเมืองอียิปต์กลับตกเข้าสู่ความขัดแย้งทางอำนาจครั้งใหม่หรืออาจเรียกว่าอียิปต์กำลังตกเข้าสู่ความชะงักทางการเมืองรอบใหม่ ทำให้สถานการณ์ความไม่สงบยังคงยืดเยื้อต่อไป./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด