การประชุมประเมินผลการปฏิบัติมติของรัฐบาลเกี่ยวกับการพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

(VOVWORLD) - วันที่ 18 มิถุนายน ณ นครโฮจิมินห์ นายกรัฐมนตรีเหงวียนซวนฟุกได้เข้าร่วมการประชุมประเมินผลการปฏิบัติมติของรัฐบาลเกี่ยวกับการพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในรอบ 2 ปี
การประชุมประเมินผลการปฏิบัติมติของรัฐบาลเกี่ยวกับการพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ - ảnh 1 ภาพการประชุม (VGP)

ที่ประชุมได้ประเมินผลงานที่ได้บรรลุ ปัญหาที่ยังคั่งค้างอยู่ อุปสรรคและความท้าทายต่างๆ อีกทั้งกำหนดหน้าที่ที่สำคัญในเวลาข้างหน้าและเสนอมาตรการต่างๆเพื่อสร้างก้าวกระโดดในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆของหน่วยงานทุกระดับ ท้องถิ่นและประชาชน

ในการนี้ รัฐบาลได้ให้คำมั่นสนับสนุนการพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงที่มีประชากรคิดเป็นร้อยละ 20 และมีจีดีพีคิดเป็นร้อยละ 18 ของประเทศ ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

นายกรัฐมนตรีเหงวียนซวนฟุกได้ย้ำว่า เขตที่รายลุ่มแม่น้ำโขงและนครโฮจิมินห์มีจีดีพีคิดเป็นร้อยละ 60 ของประเทศ ดังนั้น การลงทุนให้แก่เขตที่รายลุ่มแม่น้ำโขงก็เป็นการลงทุนให้แก่นครโฮจิมินห์"ต้องจัดทำกลไกด้านการเงินส่วนภูมิภาคในประเทศผ่านการระดมเงินลงทุนจากต่างประเทศ เงินโอดีเอ ปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนประกอบธุรกิจเพื่อดึงดูดการเข้าร่วมของภาคเอกชน จัดทำแผนโครงการระดับชาติให้แก่เขตที่รายลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อปฏิบัติต่อไปตามแนวทางจัดสรรค์งบประมาณระยะปี2021 – 2025 เพิ่มความหลากหลายให้แก่แหล่งพลังต่างๆและพยายามเพิ่มเงินทุนอีก 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงปี 2016-2020เพื่อปฏิบัติโครงการเชื่อมโยงกับส่วนภูมิภาคอื่นๆของประเทศ"

ในกรอบฟอรั่มเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงปี 2019 เมื่อเช้าวันที่ 18 มิถุนายน ณ นครโฮจิมินห์ กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้จัดฟอรั่มในหัวข้อ “การบริหารทรัพยากรน้ำ ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาน้ำทะเลซึม การรับมือกับปัญหาดินถล่มในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง” โดยหลังการปฏิบัติมติ 120 ของรัฐบาลเกี่ยวกับการพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืนและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมาเป็นเวลา 2 ปี ได้มีการเปลี่ยนแปลงทัศนะเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยถือทรัพยากรน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการรับมือกับภัยธรรมชาติ ในการนี้ บรรดาผู้แทนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนะและแนวทางการพัฒนาทรัพยากรน้ำและการรับมือภัยธรรมชาติให้แก่เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง

.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด