ประเทศต่างๆต้องให้ความเคารพคำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการ
(VOVWorld)-เมื่อวันที่๑๗สิงหาคม ณ นครญาจาง จังหวัดแค้งหว่า มหาวิทยาลัยฝามวันด่งและมหาวิทยาลัยญาจางได้จัดการสัมมนานานาชาติภายใต้หัวข้อ “ข้อกำหนดเกี่ยวกับโขดหินและเกาะตามกฎหมายสากลและสถานการณ์ในทะเลตะวันออก”
การสัมมนานานาชาติ“ข้อกำหนดเกี่ยวกับโขดหินและเกาะตามกฎหมายสากลและสถานการณ์ในทะเลตะวันออก”
|
(VOVWorld)-
เมื่อวันที่๑๗สิงหาคม ณ นครญาจาง จังหวัดแค้งหว่า มหาวิทยาลัยฝามวันด่งและมหาวิทยาลัยญาจางได้จัดการสัมมนานานาชาติภายใต้หัวข้อ “ข้อกำหนดเกี่ยวกับโขดหินและเกาะตามกฎหมายสากลและสถานการณ์ในทะเลตะวันออก” โดยนักวิชาการเกือบ๑๐๐คนจากทั้งภายในและต่างประเทศได้กล่าวถึงหลักฐานทางวิชาการเพื่อมีส่วนร่วมยืนยันถึงข้อกำหนดของกฎหมายสากลเกี่ยวกับทะเลตะวันออกและอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือสเปรตลีย์ของเวียดนาม ในการนี้ บรรดาผู้แทนต่างให้ข้อสังเกตว่า คำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการเกี่ยวกับการที่ฟิลิปปินส์ยื่นฟ้องจีนกรณีการพิพาทด้านอธิปไตยในทะเลตะวันออกเป็นการตัดสินใจครั้งประวัติศาสตร์และเป็นการยืนยันถึงความถูกต้องของข้อกำหนดต่างๆเกี่ยวกับทะเล ศาสตราจารย์Erik Franckx สมาชิกของศาลอนุญาโตตุลาการ หัวหน้าสาขาวิชากฎหมายสากลและยุโรปจากมหาวิทยาลัยVrije ประเทศเบลเยี่ยมได้เผยว่า การที่จีนได้คิดเองว่า มีสิทธิปฏิเสธคำวินิจฉัยระหว่างประเทศบนพื้นฐานของอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี๑๙๘๒นั้นเป็นสิ่งที่ขัดกับกลไกการดำเนินงานของประเทศสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คำวินิจฉัยของศาลระหว่างประเทศยังได้เกิดผลในทางบวกและสร้างกรอบทางนิตินัยเพื่อให้ประเทศต่างๆที่เกี่ยวข้องทำการเจรจา ศาสตราจารย์Erik Franckxได้เผยว่า“แม้จะเป็นประเทศมหาอำนาจแต่ก็ไม่สามารถเดินสวนกับคำวินิจฉัยของศาลได้ โดยเฉพาะ ในฐานะสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยต้องยืนยันบทบาทของตนต่อประชาคมโลก ถ้าทำเรื่องนี้ไม่ได้ ก็ยากที่จะยืนยันสถานะของตนกับประเทศพันธมิตรอื่นๆและประชาคมโลกได้”
ในเวลาที่ผ่านมา การที่จีนปรับปรุงและก่อสร้างเกาะเทียมและผลักดันปฏิบัติการทางทหารบนเกาะได้ทำให้สถานการณ์ในภูมิภาคมีความตึงเครียดมากขึ้น ในสภาวการณ์ดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่๑๒กรกฎาคมที่ผ่านมาได้มีส่วนร่วมชี้แจงพื้นฐานทางนิตินัยและกิจกรรมทางทะเลของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น บรรดานักวิชาการได้เผยว่า จะมีโอกาสมากมายเพื่อแก้ไขปัญหาการพิพาทในทะเลตะวันออกที่ยังคั่งค้างอยู่และเปิดโอกาสใหม่ให้แก่ความร่วมมือ นาย เหงวียนกวี๊บิ่ง อดีตเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำสหประชาชาติได้เผยว่า “ทะเลตะวันออกมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเดินเรือทางทะเลและการบินระหว่างประเทศ ถ้าหากไม่สามารถแก้ไขปัญหาการพิพาทในเขตทะเลนี้ได้ ก็จะทำให้สถานการณ์ตึงเครียดมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อภูมิภาค รวมทั้ง จีน ต้องทำการเจรจาพหุภาคี ซึ่งปัญหาดังกล่าวไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศริมฝั่งทะเลเท่านั้น หากยังต่อประเทศมหาอำนาจอีกด้วย”
ส่วนศาสตราจารย์เจิ่นกงจุก อดีตหัวหน้าคณะกรรมการชายแดนของรัฐบาลได้ย้ำว่า ข้อกำหนดของกฎหมายสากลเกี่ยวกับทะเลตะวันออก รวมทั้ง อนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี๑๙๘๒เป็นสิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้.