การสร้างสรรค์ชนบทใหม่ในถิ่นปฏิวัติท้ายเงวียน
Ngoc Thach - VOV5 -  
( VOVworld )- ตำบล ลาบั่ง อำเภอด่ายตื่อ จังหวัดท้ายเงวียน เป็น ๑ ใน ๗ แห่งที่ได้รับเลือกในการดำเนินโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่เป็นการนำร่องของจังหวัดท้ายเงวียน โดยได้เลือกการพัฒนาเศรษฐกิจสหกรณ์และเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์จากต้นชา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจพิเศษของจังหวัดจนสามารถประสบความสำเร็จ โดยได้มาตรฐานการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ๑๒ ข้อจากจำนวนทั้งหมด ๑๙ ข้อ อีกทั้งรายได้ต่อหัวประชากรยังเพิ่มขึ้นอีกด้วย
( VOVworld )- ตำบล ลาบั่ง อำเภอด่ายตื่อ จังหวัดท้ายเงวียน เป็น ๑ ใน ๗ แห่งที่ได้รับเลือกในการดำเนินโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่เป็นการนำร่องของจังหวัดท้ายเงวียน โดยได้เลือกการพัฒนาเศรษฐกิจสหกรณ์และเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์จากต้นชา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจพิเศษของจังหวัดจนสามารถประสบความสำเร็จ โดยได้มาตรฐานการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ๑๒ ข้อจากจำนวนทั้งหมด ๑๙ ข้อ อีกทั้งรายได้ต่อหัวประชากรยังเพิ่มขึ้นอีกด้วย
|
เมืองท้ายเงวียนทุกวันนี้ |
ตำบล ลาบั่ง ตั้งอยู่ในเขตเขา ซึ่งต้องพึ่งต้นชาที่เป็นพืชเศรษฐกิจหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจ นับตั้งแต่ได้รับเลือกเป็นตำบลนำร่องในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ทางตำบลก็ได้วางแผนเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่และเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านเป็นหลัก จากแนวทางดังกล่าว ทางตำบลได้จัดตั้งสหกรณ์ผลิตชา จัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับการผลิตชา การใช้เทคโนโลยี การปรับปรุงพันธุ์ชาและหาตลาดรองรับ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ทำให้ตำบล ลาบั่ง สามารถผลิตชาที่มีคุณภาพและมีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น โดยเมื่อก่อน ยอดชาอบแห้งขายได้อย่างมาก ๑ แสน ๕ หมื่นด่องต่อกิโลกรัม แต่ตอนนั้สามารถขายได้มากถึง ๘ แสนด่องต่อกิโลกรัม ครอบครัวที่ปลูกชามีรายได้ตั้งแต่ ๓๐๐-๔๐๐ ล้านด่องต่อเฮ็กต้าร์ ซึ่งเพิ่มขึ้น ๔ เท่าเมื่อเทียบกับก่อนโน้น คุณดั่งถิ่เหวี่ยน ชาวตำบล ลาบั่ง เผยว่า “ หลังจากผ่านการฝึกอบรมพวกเราได้ใช้เทคโนโลยีการปลูกและดูแลต้นชาที่มีประสิทธิภาพจึงขายชาได้ราคาสูง ดังนั้นจึงมีเงินเพื่อสร้างบ้านและซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเช่น เครื่องรับโทรทัศน์ ตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ อีกทั้งยังมีเงินส่งเสียให้ลูกเรียนหนังสือและทุกบ้านได้หลุดพ้นจากความยากจน ”
ลาบั่นทุกวันนี้มีหมู่บ้านผลิตชา ๑๐ แห่ง ชาวบ้านได้หันมาปลูกชาที่ให้คุณภาพสูงโดยใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย แรงงานร้อยละ ๗๐ ประกอบอาชีพผลิตชา รายได้จากการปลูกและผลิตชาต่อหัวประชากรอยู่ที่ประมาณ ๒๐ ล้านด่องต่อปี คุณเหงวียนถิ่ห่าย หัวหน้าสหกรณ์ผลิตชาลาบั่งเผยว่า “ แรงงานที่ไปทำงานในต่างจังหวัดได้กลับมาลงทุนปลูกชา บ้านที่ผลิตชาคุณภาพสูงจะมีรายได้สูงมาก หากได้รับการสนับสนุนและลงทุนมากขึ้นรูปแบบการผลิตนี้ของเกษตรกรก็จะมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ”
|
ชาวเป็นพืชอุตสาหกรรมสร้างรายได้และช่วยชาวบ้านหลุดพันจากความยากจน |
การผลิตชาได้เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านก็พลอยดีขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ได้ส่งผลดีต่อการปฏิบัติเป้าหมายอื่นๆในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ โดยทางตำบลสามารถใช้เงินทุนจากหลายแหล่งในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง ระบบชลประทาน โรงเรียน สถานีอนามัย ตลาดและสถานวัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้ ตำบล ลาบั่ง จึงสามารถปฏิบัติมาตรฐานของชนบทใหม่ได้ ๑๒ ข้อจากจำนวนทั้งหมด ๑๙ ข้อ นายเหงวียนซวนนาง เลขาธิการพรรคสาขาตำบล ลาบั่งเผยว่า “ ชาวบ้านได้สนับสนุนการสร้างสรรค์ชนบทใหม่และการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ โดยบางกรณีได้มอบที่ดินทั้งหมดของตนเพื่อก่อสร้างถนน ชาวบ้านในบางหมู่บ้านได้สมทบเงินซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างสถานที่ทางวัฒนธรรม ส่วนองค์การต่างๆในตำบลดูแลด้านสิ่งแวดล้อม ทางการตำบลได้วางแผนอย่างละเอียดเพื่อเป้าหมายเสร็จสิ้นการสร้างชนบทใหม่ภายในปี ๒๐๑๕ ”
|
วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และการเงินท้ายเงวียน |
ท่านเหงวียนถิ่เงวียน รองประธานคณะกรรมการประชาชนอำเภอด่ายตื่อเห็นว่า สาเหตุที่นำมาซึ่งผลสำเร็จเบื้องต้นของ ลาบั่งในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่คือ การกำหนดแนวทางปฏิบัติอย่างถูกต้อง โดยก่อนอื่นคือภายในคณะบริหารของตำบลต้องเข้าใจแนวทางและนโยบาย จากนั้นทำการประชาสัมพันธ์ชี้แจงให้ชาวบ้านได้รับทราบ เมื่อชาวบ้านเข้าใจแล้วว่า โครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่จะช่วยให้พวกเขามีรายได้เพิ่มขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น พวกเขาก็จะร่วมแรงร่วมใจกับทางการอย่างเต็มที่ อาจกล่าวได้ว่า ทางการตำบล ลาบั่งรู้จักใช้ประโยชน์จากต้นชาเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านส่งผลให้เศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่ดีขึ้นตามไปด้วยจึงทำให้ชาวบ้านมีความเชื่อมั่น นับเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อให้ ลาบั่งสามารถปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ให้สำเร็จภายในปี ๒๐๑๕ ./.
Ngoc Thach - VOV5