(VOVWORLD) - สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนเป็นหนึ่งในองค์กรที่สำคัญและมีชื่อเสียงในภูมิภาคและโลก ในตลอด 57 ปีแห่งการก่อตั้งและการพัฒนา (8 สิงหาคมปี 1967- 8 สิงหาคมปี 2024) อาเซียนได้สร้างนิมิตหมายที่สำคัญมากมายในกระบวนการแห่งความร่วมมือ นำอาเซียนพัฒนาและผสมผสานเข้ากับกระแสโลกอย่างกว้างลึก บนเส้นทางแห่งการเดินพร้อมกับอาเซียนมาเป็นเวลาเกือบ 30 ปี เวียดนามได้มีส่วนร่วมมากมายบนเจตนารมณ์แห่งการเป็นฝ่ายรุก มีความกระตือรือร้นและมีความรับผิดชอบ
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนหรือ AMM ครั้งที่ 57 |
หัวข้อของปีอาเซียน 2024 คือ “ส่งเสริมความเชื่อมโยงและการพึ่งตนเอง” ซึ่งด้วยหัวข้อนี้ ลาวในฐานะประธานหมุนเวียนอาเซียนได้กำหนด 9 เนื้อหาที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ โดยมี 4 เนื้อหาเกี่ยวกับการส่งเสริมความเชื่อมโยงอาเซียนที่ประกอบด้วยการผสมผสานและการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การสร้างอนาคตที่ครอบคลุมและยั่งยืน การปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัล วัฒนธรรมและศิลปะ และ 5 เนื้อหาเกี่ยวกับการพึ่งพลังที่แข็งแกร่งของอาเซียน คือการจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อปฏิบัติวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนปี 2045 การธำรงบทบาทเป็นศูนย์กลางของอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม สตรี-เด็กและสาธารณสุข
อาเซียนที่เชื่อมโยงและพึ่งตนเอง
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนหรือ AMM ครั้งที่ 57 และการประชุมต่างๆที่เกี่ยวข้องที่มีขึ้นเป็นเวลา 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 24 ถึงวันที่ 27 กรกฎาคมปี 2024 ณ กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาวได้มีการจัด 20 กิจกรรม โดยมีรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและประเทศหุ้นส่วน เช่น สหรัฐ จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่นและรัสเซียเข้าร่วม ซึ่งได้สร้างนิมิตหมายเกี่ยวกับอาเซียนที่เชื่อมโยงและพึ่งตนเอง ในการแถลงข่าวเกี่ยวกับผลการประชุม ดร. เกาคิมฮวน เลขาธิการอาเซียนได้เผยว่า
“บรรดารัฐมนตรีได้หารือเกี่ยวกับการส่งเสริมบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ตลอดจนความเป็นหนึ่งเดียวและความสามัคคีของอาเซียนถึงแม้จะมีความท้าทายก็ตาม นอกจากนี้ บรรดารัฐมนตรียังเห็นพ้องที่จะกระชับความร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อค้ำประกันให้อาเซียนยังคงมีบทบาทแกนหลักในปัญหาของอาเซียน ตลอดจนความร่วมมือกับหุ้นส่วนต่างๆ”
ปัจจุบัน อาเซียนเป็นประชาคมโดยมี 10 ประเทศสมาชิกรวมประชากรกว่า 650 ล้านคน ซึ่งได้รับการประเมินว่า เป็นตลาดที่มีศักยภาพมากมาย คาดว่า จนถึงปี 2050 อาเซียนจะเป็นเศรษฐกิจรายใหญ่อันดับที่ 4 ของโลก ความสำเร็จที่สำคัญที่สุดของอาเซียนในตลอด 57 ปีที่ผ่านมาคือการธำรงสันติภาพและเสถียรภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนพื้นฐานของความสำเร็จในเกือบ 6 ทศวรรษที่ผ่านมาคือกลไกความร่วมมือภายในกลุ่มอาเซียนได้รับการปฏิบัติผ่านกลไกความร่วมมือต่างๆ เช่น ฟอรั่มภูมิภาคอาเซียนหรือ ARF การประชุมระดับสูงเอเชียตะวันออกหรือ EAS การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมหรือ ADMM และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมขยายวงหรือ ADMM+ โดยเฉพาะ อาเซียนยึดมั่นทัศนะในการธำรงสันติภาพและเสถียรภาพในทะเลตะวันออกผ่านแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในทะเลตะวันออกหรือ DOC เมื่อปี 2002 และการเจรจาเกี่ยวกับหลักปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในทะเลตะวันออกหรือ COC ซึ่งกำลังได้รับการคาดหวังว่าจะแล้วเสร็จโดยเร็ว นอกจากนี้ อาเซียนยังได้สร้างความสัมพันธ์ร่วมมือที่ใกล้ชิดกับประเทศและองค์กรสำคัญๆ หลายแห่งในโลก รวมถึงประเทศใหญ่ๆ ทุกประเทศด้วย
นาง โตนถิหงอกเฮือง เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำอาเซียน |
บทบาทและการมีส่วนร่วมของเวียดนาม
บนเจตนารมณ์แห่งการเป็นฝ่ายรุก มีความกระตือรือร้นและมีความรับผิดชอบ ในตลอด 29 ปีแห่งการเข้าร่วมอาเซียน เวียดนามอยู่เคียงข้างกับประเทศสมาชิกมาโดยตลอดเพื่อมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรมต่อความพยายามในการสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนที่เข้มแข็ง นาง โตนถิหงอกเฮือง เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำอาเซียนได้เผยว่ามี 3 นิมิตหมายสำคัญในกระบวนการที่เวียดนามเข้าร่วมอาเซียน ได้แก่ ประธานคณะกรรมการประจำอาเซียนวาระปี 2000-2001 ประธานอาเซียนเมื่อปี 2010 และปี 2020 โดยวาระดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของเวียดนามต่างสร้างนิมิตหมายด้วยการมีส่วนร่วมที่สำคัญของเวียดนามในอาเซียน โดยเฉพาะเมื่อปี 2020 เมื่อเวียดนามและอาเซียนร่วมกันฟันฝ่าความท้าทายครั้งใหญ่ นั่นคือวิกตฤโควิด-19 นอกจากนี้ เวียดนามยังมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการพัฒนาที่สำคัญในอนาคตของอาเซียน
“การมีส่วนร่วมของเวียดนามได้รับการรับทราบจากประเทศและหุ้นส่วนต่างๆ อาเซียนได้รับการถือว่าเป็นหนึ่งในเนื้อหาที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆในนโยบายต่างประเทศของเวียดนามอยู่เสมอ และเมื่อย่างเข้าสู่ระยะต่อไป เวียดนามจะร่วมมือกับอาเซียนเพื่อมุ่งสู่การจัดทำและการปฏิบัติวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนปี 2045”
เอกอัครราชทูต โตนถิหงอกเฮือง ยืนยันว่า เวียดนามจะมีส่วนร่วมเข้มแข็งและมีความรับผิดชอบในเชิงรุกต่อการส่งเสริมบทบาท สถานะ ชื่อเสียง รักษาความสามัคคีและบทบาทเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ตลอดจนการยกระดับความสามารถในการพึ่งตนเอง เพื่อให้อาเซียนสามารถปรับตัวเข้ากับความท้าทายในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ในภูมิภาคและโลกกำลังมีความผันผวนอย่างซับซ้อนในปัจจุบัน.