Tuan - VOV5 -  
(VOVWORLD) - เมื่อเร็วๆนี้ ณ สำนักงานของสมาคมมิตรภาพเวียดนาม – ลาว ณ กรุงฮานอย ได้มีการจัดการพบปะระหว่างเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ไกสอนพมวิหานกับผู้ที่ให้การสนับสนุนผู้นำประเทศลาวในอดีต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการปฏิวัติของประธานไกสอนพมวิหานและประธานสุภานุวงศ์ในเวียดนามตั้งแต่ปี 1950 เพื่อเพิ่มเอกสารทางประวัติศาสตร์มีส่วนร่วมขยายและสร้างพิพิธภัณฑ์ไกสอนพมวิหานและพิพิธภัณฑ์อื่นๆในประเทศลาว
การพบปะในห้อง
|
ทหารอาสาและอดีตผู้เชี่ยวชาญเวียดนาม ณ ประเทศลาว 10 คนพร้อมกับเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ไกสอน พมวิหาน 9 คนได้พบปะกันในห้องที่หรูหราและเต็มไปด้วยความอบอุ่น คุณ ทองวัน ทองดี หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฯ เผยว่า “พวกเราเป็นเจ้าหน้าที่รุ่นใหม่ ซึ่งยังขาดข้อมูลอีกมากเพื่อสนับสนุนภารกิจการเรียบเรียงข้อมูล โดยเฉพาะมีบางเรื่องที่ยังไม่เห็นพ้องกัน แต่ละคนเล่าแตกต่างกัน เรามีความยินดีเป็นอย่างมากที่ได้พบปะกับทหารอาสาและผู้เชี่ยวชาญเวียดนามในวันนี้เพื่อขอให้ทุกคนช่วยเล่าให้เราฟังเกี่ยวกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องถึงการเคลื่อนไหวของบรรดาผู้นำปฏิวัติลาว โดยเฉพาะประธานไกสอน พมวิหานและประธานสุภานุวงศ์”
เมื่อเล่าความทรงจำเกี่ยวกับประธานสุภานุวงศ์ พลตรี หวิ่งดั๊กเฮือง หัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญฝ่ายทหารของเวียดนามที่ได้ไปช่วยเหลือประเทศลาวเผยว่า โชคดีที่ได้มีโอกาสพบปะกับประธานสุภานุวงศ์ ณ เมืองญาจางเมื่อปี 1940 ตอนนั้นท่านเป็นวิศวกรในการก่อสร้างสะพานที่หลงไหลอาชีพมาก ซึ่งพลตรี หวิ่งดั๊กเฮือง ได้ตั้งคำถามกับประธานสุภานุวงศ์ว่า “ทำอย่างไรให้เวียดนามและลาวเจริญรุ่งเรือง” ท่านสุภานุวงศ์ ได้ตอบด้วยความรักว่า “ แรงงานเวียดนามและลาวทุกคนต่างทำงานหนักเพื่อชีวิต ดังนั้น เราต้องพยายามยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานให้ดีขึ้น” “ท่าน สุภานุวงศ์ คือผู้นำที่น่ายกย่องของประชาชนลาว สำหรับพวกเรา ในฐานะผู้เชี่ยวชาญและอาสาสมัครในประเทศลาว เราก็มีความประทับใจต่อท่านเป็นอย่างมาก โดยท่านพร้อมปฏิเสธการขึ้นครองราชเพื่อทำการปฏิวัติและยอมใช้ชีวิตอย่างลำบาก เราให้ความเคารพเป็นอย่างยิ่งเพราะผู้ที่ทำการปฏิวัติส่วนใหญ่มักเป็นผู้ที่ประสบความลำบากหรือเป็นทาสแต่ท่าน สุภานุวงศ์ คือเจ้าชาย ถ้าหากมองดูในประวัติศาสตร์ของลาว ท่านสุภานุวงศ์คือผู้นำคนแรกที่ได้วางรากฐานความสัมพันธ์กับประเทศเวียดนามและเป็นคนแรกที่นำชีวิตที่อิ่มหนำผาสุกมาให้แก่ประชาชนลาว”
ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสงครามลาว พันเอก เหงียนตื๋อหลาก ที่ติดเหรียญตราต่างๆเต็มหน้าอก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมต่อเอกราชของเวียดนามและลาว แม้อยู่ในวัย 80 ปี แต่ดวงตายังคงสดใสและเสียงพูดยังดังชัดเจนได้เล่าให้คนรุ่นใหม่ฟังเรื่องการพบปะต่างๆกับประธานสุภานุวงศ์ในช่วงปี 1960 ในตอนที่ท่านลงพื้นที่เยี่ยมเยือนผู้เชี่ยวชาญเวียดนามและยืนยันว่า ท่านสุภานุวงศ์ มีบุคลิกเหมือนประธานโฮจิมินห์
คุณ ห่ามิงห์เติน |
ส่วนคุณ ห่ามิงห์เติน ในวัยกว่า 90 ปี ที่ได้รับมอบหมายหน้าที่มาช่วยเหลือประเทศลาวในช่วงปี 1954 ในมือถือหนังสือเก่า ตัวหนังสือจางไปตามกาลเวลาได้เล่าเรื่องความทรงจำต่างๆในฐานะที่ปรึกษาทางทหารของประธานไกสอน พมวิหานว่า “ผมถือประธานไกสอน พมวิหานเป็นสหายรุ่นพี่ที่ยิ่งใหญ่ และท่านก็เป็นคนดี ผมเคยเขียนหนังสือเรื่อง ประสบการณ์และแนวทางใหม่ของการปฏิวัติลาวให้ท่าน เมื่อผมเขียนเสร็จ ท่านได้ชื่นชมและมอบคืนให้ผมเล่มหนึ่งพร้อมเขียนประโยคว่า “ ขอมอบให้คุณ ห่ามิงห์เตินเพื่อเป็นความทรงจำ” ผมยังคงเก็บหนังสือเล่มนี้ไว้และถือเป็นืของขวัญอันลำค่า”
เมื่อได้รับฟังเรื่องราวต่างๆจากพยานคนเวียดนาม คุณ สุตตา คาถานุนบุน รองหัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์และการบรรยายของพิพิธพัณฑ์ไกสอน พมวิหาน และคุณ พันลานี พิมมะเสน ผู้เชี่ยวชาญอนุสรณ์สถานประธานสุภานุวงศ์มีความซาบซึ้งใจและภูมิใจมาก โดยให้คำมั่นว่า จะศึกษาและสั่งสมประสบการณ์ต่อไปเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์มิตรภาพพิเศษระหว่างเวียดนามกับลาวให้พัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป “เรามีความยินดีเป็นอย่างมากที่ได้พบปะและพูดคุยกับอาสาสมัครและนักปฎิวัติอาวุโสเวียดนาม ผู้ที่เคยมีโอกาสทำงานกับผู้บริหารลาว เรามีความภูมิใจเป็นอย่างมากที่ได้รับฟังเรื่องราวต่างๆในการเคลื่อนไหวปฏิบัติในประเทศเวียดนามและประเทศลาวของผู้นำลาว”
“ในฐานะเจ้าหน้าที่รุ่นใหม่และนักประชาสัมพันธ์ของอนุสรณ์สถานประธานสุภานุวงศ์ ดิฉันมีความยินดีเป็นอย่างมากที่ได้มีโอกาพูดคุยกับนักปฏิวัติอาวุโสเวียดนามพร้อมทั้งได้รับฟังข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาก ซึ่งถือเป็นข้อมูลหลักที่เราสามารถใช้ในการทำงานได้เป็นอย่างดี”
โอกาสนี้ ตัวแทนของลาวได้มอบของที่ระลึกให้แก่ผู้แทนเวียดนาม 10 คนเพื่อเป็นการยกย่องสดุดีส่วนร่วมของพวกเขาในภารกิจการต่อสู้เพื่อช่วงชิงเอกราช รวมประเทศเป็นเอกภาพของประชาชนลาว มีส่วนร่วมเสริมสร้างและขยายความสัมพันธ์มิตรภาพและความสามัคคีระหว่างสองประชาชาติเวียดนาม – ลาว.
Tuan - VOV5