พบปะกับบรรดานักเขียนที่ได้รับรางวัลซีไรต์

(VOVworld) – รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนหรือรางวัลซีไรต์เป็นรางวัล ประจำปีที่มอบให้แก่กวีและนักเขียนที่มีงานเขียนอันยอดเยี่ยมของ๑๐ประเทศ สมาชิกอาเซียนมานับตั้งแต่ปี๑๙๗๙ ซึ่งงานนี้จะจัดขึ้น ที่กรุงเทพมหานครโดยมีพระบรมวงศานุวงค์ไทยทรงเป็นประธานในพิธี

 

(VOVworld) – รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนหรือรางวัลซีไรต์เป็นรางวัลประจำปีที่มอบให้แก่กวีและนักเขียนที่มีงานเขียนอันยอดเยี่ยมของ๑๐ประเทศสมาชิกอาเซียนมานับตั้งแต่ปี๑๙๗๙ ซึ่งงานนี้จะจัดขึ้น ที่กรุงเทพมหานครโดยมีพระบรมวงศานุวงค์ไทยทรงเป็นประธานในพิธี

 

พบปะกับบรรดานักเขียนที่ได้รับรางวัลซีไรต์ - ảnh 1
บรรดานักเขียนที่ได้รัลรางวัลซีไรต์และคณะกรรมการจัดงาน(Photo:Internet )

(VOVworld) – ในปี๒๐๑๑ที่ผ่านมา มีนักเขียนบรูไน อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปีนส์ สิงคโปร์ ไทยและเวียดนามได้รับรางวัลซีไรต์จากงานเขียนในรูปแบบต่างๆเช่น เรื่องสั้น นวนิยาย และกวี โดยเฉพาะ เรื่องสั้น“กระดูกอเมริกัน”๑ใน๗เรื่องสั้นชุด“ปล่อยนก”ที่ได้รับการพิมพ์จำหน่ายเป็นภาษาลาวและภาษาอังกฤษของนักเขียนชาวลาวบุนทะนอง ซมไซผนที่มีความโดดเด่นด้านวิธีการนำเสนอ มีเนื้อหาที่สะเทือนใจและแสดงออกถึงมนุษยธรรมของคนลาว  นักเขียนบุนทะนอง ซมไซผนยังเป็นนักวิจารณ์ทางการเมืองและสังคมที่มีชื่อเสียงของลาว งานเขียนของเขาส่วนใหญ่กล่าวถึงสงครามต่อต้านจักรวรรดินิยมสหรัฐอเมริกาเพื่อกู้ชาติที่เต็มไปด้วยความลำบากยากเข็ญของประชาชนลาว เขาเห็นว่า สงครามมิใช่เป็นทางออกในการแก้ปัญหาแต่ความรักและความเมตตาต่างหากที่เป็นทางออกของมวลมนุษย์

 

พบปะกับบรรดานักเขียนที่ได้รับรางวัลซีไรต์ - ảnh 2
นักเขียนชาวลาวบุนทะนอง ซมไซผน( Photo:Internet)

 นวนิยายเรื่อง“เสียงร้องไห้ของนางÚt”ของนักเขียนเวียดนามNguyễn Chí Trungก็กล่าวถึงสงครามต่อต้านสหรัฐอเมริกาเพื่อกู้ชาติที่เต็มไปด้วยความลำบากยากเข็ญแต่รุ่งโรจน์ของประชาชนเวียดนามในช่วงปี๑๙๕๔ถึงปี๑๙๕๙ นักเขียนNguyễn Chí Trungเผยว่า เขาเคยเข้าร่วมการสู้รบที่ดุเดือด ณ สมรภูมิภาคกลางเวียดนามดังนั้นจึงมีความประสงค์ที่จะยกย่องความกล้าหาญและความรักชาติของประชาชนเวียดนามในสงครามต่อต้านสหรัฐอเมริกาเพื่อกู้ชาติที่ยิ่งใหญ่ ในตลอด๕๐ปีที่ผ่านมา เขาได้มีงานเขียนเกี่ยวกับสงครามกู้ชาติเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ นวนิยายเรื่อง“เสียงร้องไห้ของนางÚt”มีแรงดึงดูดใจมากจึงได้รับรางวัลจากสมาคมนักเขียนเวียดนามเมื่อปี๒๐๐๘และจากกระทรวงกลาโหมเวียดนามเมื่อปี๒๐๑๐ ในพิธีมอบรางวัลซีไรต์ นักเขียนNguyễn Chí Trung กล่าวว่า“การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถทรงพระราชทานรางวัลซีไรต์ให้แก่ผมซึ่งเป็นรางวัลอันสูงส่งแสดงให้เห็นถึงสันติภาพ และไมตรีจิตมิตรภาพระหว่างประเทศอาเซียนและความนับถือของพระบรมวงค์ศานุวงค์ต่อส่วนร่วมของวรรณกรรมเวียดนามในกระบวนการพัฒนาอาเซียนเพื่อสันติภาพ มิตรภาพ ความร่วมมือและการพัฒนา”            

พบปะกับบรรดานักเขียนที่ได้รับรางวัลซีไรต์ - ảnh 3
นักเขียนNguyễn Chí Trung - นักเขียนชาวไทยจเด็จ กำจรเดช
ในพิธีมอบรางวัล 

ส่วนคุณจเด็จ กำจรเดช นักเขียนชาวไทย อายุ๓๗ปีเป็นนักเขียนที่มีอายุน้อยที่สุดที่ได้รับรางวัลครั้งนี้จากหนังสือรวมเรื่องสั้น“แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟ”โดยมีเนื้อหากล่าวถึงปัญหาที่ร้อนระอุของสังคมไทยปัจุบัน เช่น การใช้ความรุนแรงทางภาคใต้ และความแตกแยกทางสังคมซึ่งถือเป็นเรื่องสั้นที่ท้าทายจิตสำนึกของคนในสังคมได้เป็นอย่างดี นักเขียนผู้นี้เห็นว่า ยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอันมาก ฤดูกาลก็มีการเปลี่ยนแปลง ทุกวันอากาศเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลต่างๆ เช่น ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน และมนุษย์ก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน      

คุณจเด็จ กำจรเดชเป็นผู้มากไปด้วยความสามารถโดยเป็นทั้งจิตรกรเขียนรูป เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง  นักประพันธ์และยังได้แปลเรื่องสั้นของตัวเองบางเรื่องเป็นภาษาอังกฤษซึ่งผลงานชิ้นแรกคือ“ฉัตร ๙ชั้น”ได้ออกสู่สายตาผู้อ่านเมื่อปี๒๐๐๒และหนังสือเรื่องสั้น“หนุมานเหยียบเมือง”ก็ได้รับรางวัลThailand Indy Award    

           งานเขียนที่ได้รับรางวัลซีไรต์นับตั้งแต่ปี๑๙๗๙มาจนถึงปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นหนังสือเรื่องสั้น นวนิยาย กวี บทละครเวทีรวมไปถึงงานเขียนด้านสารคดีและศาสนาด้วยเหตุนี้รางวัลนี้จึงไม่เพียงแต่เป็นการรับรองงานเขียนตลอดชีวิตของนักเขียนเท่านั้นหากยังสร้างโอกาสเพื่อให้นักเขียนได้พบปะแลกเปลี่ยน มีส่วนร่วมผลักดันการพัฒนาวรรณศิลป์ของภูมิภาคอีกทั้งขยายความเข้าใจและสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชนประเทศอาเซียนอีกด้วย./.

                                                                    

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด