พระมหาเจดีย์ชเวดากอง หัวใจทองของพม่า
Hoàng Hải/VOV5 -  
(VOVworld) - จะเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ้งถ้าหากนักท่องเที่ยวได้เดินทางไปพม่าแต่ไม่ได้ไปเยือนพระมหาเจดีย์ชเวดากองซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่ตั้งอยู่บนยอดเขาเชียงกุตระ เมืองย่างกุ้งซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจและหัวใจของประเทศเจดีย์ทองแห่งนี้
(VOVworld) - จะเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ้งถ้าหากนักท่องเที่ยวได้เดินทางไปพม่าแต่ไม่ได้ไปเยือนพระมหาเจดีย์ชเวดากองซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่ตั้งอยู่บนยอดเขาเชียงกุตระ เมืองย่างกุ้งซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจและหัวใจของประเทศเจดีย์ทองแห่งนี้
พระมหาเจดีย์ชเวดากอง หัวใจทองของพม่า (Internet)
|
พระมหาเจดีย์ชเวดากองมีประตูทางเข้า 4 ประตูจากบริเวณเชิงเขาโดยทุกประตูมีรูปปั้นสิงโต 2 ตัวที่มีความสูง 9 เมตรตั้งไว้สองข้าง นักท่องเที่ยวมักจะมาเยือนที่นี่ในตอนเย็นเพราะนี่คือช่วงที่ดีที่สุดของวันเพื่อชมความงามของพระมหาเจดีย์ชเวดากองซึ่งมีสีทองสุกสว่าง นาง Christine Wang นักท่องเที่ยวจากฮ่องกงได้เผยว่า “ดิฉันไม่เคยเห็นพระมหาเจดีย์ที่ไหนใหญ่เหมือนที่นี่ สีทองอร่ามบนเจดีย์ทำให้ดิฉันต้องหรี่ตามอง ต้องยอมรับว่า พระมหาเจดีย์ชเวดากองคือสิ่งมหัศจรรย์จริงๆ”
พระมหาเจดีย์ชเวดากองถูกสร้างขึ้นเมื่อกว่า 2500 ปีก่อนจึงทำให้ที่นี่กลายเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนาที่มีอายุมากที่สุดของพม่าและของโลก พระมหาเจดีย์ชเวดากองมีความสูง 99 เมตรและรอบๆพระมหาเจดีย์ยังมีเจดีย์ใหญ่น้อยอีกกว่า 1000 แห่งโดยเจดีย์ส่วนใหญ่มีสีทองอร่าม สำหรับองค์ชเวดากองถูกปิดด้วยทองคำเปลวกว่า 2 หมื่นแผ่นและประดับประดาด้วยเพชรและอัญมณีนานาชนิด ระฆังมีสีทองและสีเงิน บนยอดเจดีย์หุ้มด้วยทองคำแท้ประดับเพชร มีน้ำหนักประมาณ 15 กรัม ในบริเวณลานใกล้เจดีย์มีจุด 7 แห่งที่ถูกทำเครื่องหมายไว้เป็นอักษรภาษาอังกฤษซึ่งหมายถึงสีต่างๆ เช่นตัวอักษร Y หมายถึงสีเหลือง W หมายถึงสีขาวและ G หมายถึงสีเขียว ในตอนค่ำ ถ้าหากยืนตรงจุดนี้ นักท่องเที่ยวจะเห็นเพชรพลอยที่ประดับบนยอดเจดีย์กระทบแสงไฟเป็นสีตามจุดที่ระบุ นาง Thiri Aung ไกด์ในพระมหาเจดีย์ชเวดากองได้เผยว่า พระมหากษัตริย์และประชาชนพม่าได้ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อสร้างพระมหาเจดีย์ชเวดากอง ปัจจุบัน พระมหาเจดีย์แห่งนี้มีทองและเงินหนักถึง 60 ตัน “ประเพณีถวายทองคำแด่พระมหาเจดีย์ชเวดากองเริ่มขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 15โดยพระนางฉิ่นซอปู้ ถวายทองคำตามน้ำหนักตัวของพระนางคือประมาณ 50 กิโลกรัมและประเพณีนี้ถูกสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ที่พระมหาเจดีย์ชเวดากองจะมีเจ้าหน้าที่คอยรับเงินบริจาคของประชาชนและผู้มีจิตศรัทธาโดยทุกๆ 5 ปี พวกเขาใช้เงินเหล่านี้เพื่อซื้อทองคำหุ้มพระเจดีย์”
ชีวิตที่มีความผูกพันกับพุทธศาสนาของชาวพม่าทำให้พวกเขาถือว่า การถวายทองคำแก่วัดบางครั้งมีความหมายสำคัญกว่าการกินข้าวและดื่มน้ำในชีวิตประจำวัน แม้กระทั่งคนที่ยากจนโดยพวกเขาร่วมกันเก็บเงินเป็นเวลา 1 ปีเพื่อพยายามซื้อทองคำเปลว 1 แผ่นและถวายขึ้นวัดในโอกาสเทศกาลไหว้พระจันทน์ในเดือนอ้าย สำหรับพวกเขา การถวายทองคำแก่วัดเป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงศรัทธาของตนต่อพุทธศาสนา มีความประสงค์ที่จะได้มีความสุขความเจริญ “ประชาชนมีความศรัทธาในการทำบุญเพราะพวกเขาเชื่อมั่นว่าจะนำความเจริญรุ่งเรืองและความผาสุกมาให้แก่พวกเขา นอกจากนั้น ชาวพม่าส่วนใหญ่มีความเชื่อเกี่ยวกับการกลับชาติมาเกิด ดังนั้น ในชีวิตของทุกคน พวกเขาต่างพยายามทำบุญกับวัดให้มากที่สุดเพื่อเป็นบุญให้แก่ตนในชาติหน้า”
ความงามของพระมหาเจดีย์ชเวดากองในตอนค่ำ (Internet)
|
ถ้าหากนักท่องเที่ยวอยากอธิษฐานขอพรที่พระมหาเจดีย์ชเวดากองจะต้องจำให้ได้ว่า ตนเกิดวันไหนเพราะจะต้องไปอธิษฐานขอพรจากพระประจำวันเกิด นาย จันทนะรอง นักท่องเที่ยวจากประเทศไทยได้เผยว่า “ผมชอบเดินทางไปเยือนพระมหาเจดีย์ชเวดากองเพราะมีความคล้างคลึงกับวัดวาอารามในประเทศไทย ประชาชนที่นี่ก็นับถือศาสนาพุทธเหมือนคนไทย พวกเขาส่วนใหญ่มีความเป็นมิตรไมตรีและมีน้ำใจ ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนพม่ามากขึ้น”
ความงดงาม สถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์และประวัติศาสตร์อันยาวนาน ทำให้พระมหาเจดีย์ชเวดากองเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศให้เดินทางมาเยือนพม่า โดยเฉพาะประเทศที่นับถือศาสนาพุทธเหมือนกันเช่นเวียดนาม ไทย กัมพูชาและอินเดีย เป็นต้น พระมหาเจดีย์ชเวดากองไม่เพียงแต่เป็นสัญลักษณ์ทางจิตใจของประชาชนที่นี่เท่านั้นหากยังเป็นจุดเด่นด้านการท่องเที่ยว ช่วยให้พม่าพัฒนาเศรษฐกิจหลังจากเปิดประเทศอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2011อีกด้วย.
Hoàng Hải/VOV5