อินโดนีเซียพยายามลดขยะพลาสติกร้อยละ 70 ภายในปี 2025
(VOVWORLD) - อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีเกาะนับหมื่นแห่ง ดังนั้น การกำจัดขยะในทะเล โดยเฉพาะขยะพลาสติกถือเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของรัฐบาลอินโดนีเซียในการแก้ไขคำสบประมาทว่า อินโดนีเซียเป็นโรงงานผลิตขยะพลาสติกรายใหญ่อันดับสองของโลก รองจากประเทศจีน
ภาพปลาวาฬยาว 10 เมตรตายบนฝั่งเกาะสุลาเวสีของอินโดนีเซียโดยในท้องมีขยะพลาสติกกว่า 6 กิโลกรัม (Photo Kumpuran)
|
เมื่อปีที่แล้ว ได้มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอนักดำน้ำชาวอังกฤษในทะเลขยะพลาสติกที่เกาะบาหลี แดนสวรรค์แห่งการท่องเที่ยวของอินโดนีเซียบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งได้สร้างความเศร้าใจให้แก่ทุกคน ต่อจากนั้น ก็มีภาพปลาวาฬยาว 10 เมตรตายบนฝั่งเกาะสุลาเวสีของอินโดนีเซียโดยในท้องมีขยะพลาสติกกว่า 6 กิโลกรัม สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า สถานการณ์ปัญหาขยะพลาสติกในทะเลของอินโดนีเซียกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต
สำนักงานสถิติส่วนกลางและสมาพันธ์อุตสาหกรรมพลาสติกอินโดนีเซียรายงานว่า อินโดนีเซียมีขยะ 64 ตันต่อวัน ซึ่งมี 32 ตันที่ถูกทิ้งลงแม่น้ำและไหลลงสู่ทะเล สำหรับขยะพลาสติกนั้นต้องใช้เวลาหลายสิบปีหรือหลายร้อยปีในการย่อยสลาย แต่ที่ยิ่งอันตรายกว่าก็คือ ขยะพลาสติกจะย่อยสลายเป็นไมโครบีดส์ที่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศทางทะเลและสุขภาพของมนุษย์ ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยจอร์เจีย ประเทศสหรัฐปรากฎว่า ปลาที่จำหน่ายในอินโดนีเซียร้อยละ 28 ปนเปื้อนไมโครบีดส์ นาง สูสี ปุจีอาซตูตี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทะเลและอาชีพประมงอินโดนีเซียได้เตือนว่า “ถ้าหากพวกเรายังคงทิ้งขยะลงทะเลต่อไป ถึงปี 2030 ปริมาณขยะจะมากกว่าปลา นอกจากนี้ เราได้ให้คำมั่นกับประชาคมโลกว่า จะลดขยะพลาสติกร้อยละ 70 ภายในปี 2025 ดิฉันขอเสนอให้ลดการใช้พลาสติกในชีวิตประจำวันให้เหลือน้อยที่สุด เราควรใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบใช้หลายครั้งหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกระดาษแทนผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว”
เมื่อเร็วๆนี้ อินโดนีเซียได้ออกแผนควบคุมขยะระยะปี 2018-2025 เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ให้แก่กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งจัดสรรข้อมูลให้ชุมชนและสถานประกอบการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่ทะเล ทางการนครใหญ่ๆ เช่น สุราบาย่า บันจาร์มาสิน บาลิกปาปัน โบกอร์ โดยเฉพาะเกาะบาหลีได้ใช้มาตรการต่างๆเพื่อลดขยะพลาสติก เช่น ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งและให้หันมาใช้ผลิตภัณฑ์พื้นเมืองเช่น ถุงไม้ไผ่สาน หลอดไม้ไผ่และใช้ใบตองห่ออาหาร เป็นต้น ส่วนในศูนย์การค้า ร้านขายของและตลาดกลางแจ้ง ลูกค้าจะต้องจ่ายเงินซื้อถุงพลาสติก นาง ตีรา มาฟีรา ผู้ริเริ่มขบวนการ “พูดไม่กับถุงพลาสติก” เผยว่า “เราใช้ถุงพลาสติกแค่ 10 นาทีหรือมากที่สุดคือ 2 วันก็ทิ้ง แต่ถุงเหล่านี้ต้องใช้เวลานับร้อยปีในการย่อยสลาย ถ้าหากเราเผาถุงพลาสติกก็จะเกิดควันพิษต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น พวกเราขอเรียกร้องให้รัฐบาลมีข้อบังคับให้ลดการใช้ถุงพลาสติก ผู้ขายปลีกต้องสนับสนุนให้ลูกค้าไม่ใช้ถุงพลาสติกและผู้บริโภคก็ต้องสร้างความคุ้นเคยกับการนำถึงส่วนตัวไปจ่ายตลาด”
ชาวอินโดนีเซียขานรับขบวนการลดการใช้ถุงพลาสติก (Photo tribunews)
|
ควบคู่กันนั้น ยังมีการจัดขบวนการต่างๆ เช่น ขบวนการอินโดนีเซียสะอาด ขบวนการพูดไม่กับถุงพลาสติก ขบวนการนูซันตาราที่รณรงค์ให้ทำความสะอาดทะเล เป็นต้น ซึ่งขบวนการเหล่านี้เน้นกิจกรรมเก็บขยะ การควบคุมของเสียที่จะทิ้งลงทะเลและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขยะพลาสติกให้แก่ประชาชน คุณ อานี มูร์ดานี ชาวบาหลีที่ได้เข้าร่วมขบวนการทำความสะอาดริมฝั่งทะเลในตลอด 5 ปีที่ผ่านมาได้แสดงความคิดเห็นว่า “กิจกรรมเหล่านี้เป็นประโยชน์มากเพราะเราต้องให้ความสนใจถึงสิ่งแวดล้อมโดยเรียกร้องให้ทุกคนเข้าร่วมและมีความรับผิดชอบในการทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะขยะพลาสติก ถ้าหากเราไม่ปฏิบัติทันที ท้องถิ่นจะเต็มไปด้วยขยะ”
ส่วนบริษัทรายใหญ่ต่างๆ ในอินโดนีเซีย เช่น บริษัท Nestle Indonesia, Unilever, Coca Cola, Danone Aqua, Indofood และ Tetra Parkได้ร่วมกันจัดตั้งสหพันธ์บรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในอินโดนีเซีย
ปี 2019 ทางอินโดนีเซียได้จัดสรรเงินกว่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่ท้องถิ่นที่มีผลงานที่ยอดเยี่ยมในการบริหารและใช้ขยะมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันนี้ ในอินโดนีเซีย มีนคร 12 แห่งที่ประสบความสำเร็จในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ซึ่งจะเปิดใช้งานในระยะปี 2019-2020 โดยตั้งเป้าไว้ว่า จะผลิตไฟฟ้าได้อย่างน้อย 234 เมกะวัตต์จากขยะ 1 หมื่น 6 พันตันต่อวัน.