อสังหาริมทรัพย์–จุดเด่นในการลงทุนของสิงคโปร์ในเวียดนาม
Hoang Hai/VOV5 -  
(VOVworld) – ความสัมพันธ์เวียดนาม-สิงคโปร์ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ทั้งสองประเทศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคมปี ๑๙๗๓ ในตลอดกว่า ๔ ทศวรรษแห่งความร่วมมือ จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายนปี ๒๐๑๖ สิงคโปร์ได้กลายเป็นนักลงทุนเอฟดีไอรายใหญ่อันดับ ๓ ในจำนวนกว่า ๑๖๐ ประเทศที่ลงทุนในเวียดนาม พร้อมทั้งเป็นนักลงทุนอันดับ ๑ ของอาเซียนในเวียดนาม ปัจจุบัน เงินทุนเอฟดีไอจากสิงคโปร์ที่ลงทุนในเวียดนามส่วนใหญ่เน้นในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งในนั้นอสังหาริมทรัพย์เป็นด้านที่เต็มไปด้วยศักยภาพสำหรับนักลงทุนสิงคโปร์
(VOVworld) – ความสัมพันธ์เวียดนาม-สิงคโปร์ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ทั้งสองประเทศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคมปี ๑๙๗๓ ในตลอดกว่า ๔ ทศวรรษแห่งความร่วมมือ จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายนปี ๒๐๑๖ สิงคโปร์ได้กลายเป็นนักลงทุนเอฟดีไอรายใหญ่อันดับ ๓ ในจำนวนกว่า ๑๖๐ ประเทศที่ลงทุนในเวียดนาม พร้อมทั้งเป็นนักลงทุนอันดับ ๑ ของอาเซียนในเวียดนาม ปัจจุบัน เงินทุนเอฟดีไอจากสิงคโปร์ที่ลงทุนในเวียดนามส่วนใหญ่เน้นในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งในนั้นอสังหาริมทรัพย์เป็นด้านที่เต็มไปด้วยศักยภาพสำหรับนักลงทุนสิงคโปร์
วีเอสไอพี-สัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับสิงคโปร์
|
ตามรายงานสถิติของหนังสือพิมพ์ลงทุนเวียดนาม จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายนปี ๒๐๑๖ เฉลี่ยในจำนวน สถานประกอบการสิงคโปร์ ๑๐ แห่งที่ลงทุนในเวียดนาม มีครึ่งหนึ่งลงทุนในด้านอสังหาริมทรัพย์ จนถึงขณะนี้ ยอดเงินเอฟดีไอของสิงคโปร์ที่จดทะเบียนในเวียดนามบรรลุเกือบ ๓ หมื่น ๘ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในนั้นการประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สามารถดึงดูดเงินลงทุน ๑ หมื่น ๑ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ ๓๐ ในยอดเงินลงทุน รองจากด้านอุตสาหกรรมประดิษฐ์คิดค้นและแปรรูป ด้านแรกที่นักลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ของสิงคโปร์เลือกลงทุนคือโครงสร้างพื้นฐานในนิคมอุตสาหกรรม โดยโครงการนิคมอุตสาหกรรมเวียดนาม-สิงคโปร์หรือวีเอสไอพีถือว่าได้ประสบความสำเร็จที่สุดและเป็นสัญลักษณ์ของสัมพันธไมตรีและความร่วมมือที่ดีงามระหว่างสองประเทศ
โครงการนิคมอุตสาหกรรมวีเอสไอพีได้รับการก่อสร้างโดยบริษัทพัฒนา Sembcorp สิงคโปร์เมื่อปี ๑๙๙๖ ณ จังหวัดบิ่งเยือง ในตลอดกว่า ๒๐ ปีแห่งการพัฒนา ปัจจุบัน ได้มีโครงการวีเอสไอพี ๗ แห่งในทั่วประเทศเวียดนาม โดยนิคมอุตสาหกรรมเหล่านี้ดึงดูดเงินลงทุนถึง ๙ พันล้านดอลลาร์สหรัฐจาก ๖๓๐ บริษัทข้ามชาติ ซึ่งในนั้นมีกลุ่มบริษัทใหญ่ๆระดับโลก เช่น Microsoft Pepsi และ Unilever เป็นต้น นอกจากนั้น วีเอสไอพียังประสบความสำเร็จในการมีส่วนร่วมปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่น สร้างงานทำกว่า ๑ แสน ๗ หมื่น ๔ พันตำแหน่ง นาย เหงียนดึ๊กกาว รองผู้อำนวยการคณะบริหารนิคมอุตสาหกรรมวีเอสไอพีบั๊กนิงได้เผยว่า“Sembcorp คือนักลงทุนด้านนิคมอุตสาหกรรมที่เป็นมืออาชีพ ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการก่อสร้างและสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวด อีกทั้งนำแนวคิดใหม่ๆมาให้แก่ผู้บริหารเวียดนามเพื่อเรียนรู้ประสบการณ์ มีส่วนร่วมนำเครื่องหมายการค้าจังหวัดบั๊กนิงไปสู่ทั่วโลก”
ภายหลังความสำเร็จของ Sembcorp นักลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์รุ่นที่ ๒ ของสิงโปร์ในเวียดนามได้ให้ความสนใจต่อภาคการลงทุนด้านโรงแรมหรู โดยมีการเข้าร่วมของกลุ่มบริษัท Capital Land พร้อมกับโครงการต่างๆ เช่น ฮานอย Tower และ Sofitel Plaza ฮานอย เป็นต้น โครงการนี้ได้ประสบความสำเร็จในการดึงดูกลูกค้า ซึ่งเป็นนักธุรกิจ นักลงทุนต่างประเทศมาประกอบธุรกิจในช่วงที่เศรษฐกิจเวียดนามพัฒนาอย่างเข้มแข็งตั้งแต่ปี ๒๐๐๒ ถึงปี ๒๐๐๙ ต่อจากความสำเร็จในการลงทุนด้านโรงแรมหรู Capital Land ได้ขยายการลงทุนในด้านที่อยู่อาศัยและหมู่บ้านจัดสรร จนถึงขณะนี้ Capital Land ได้เป็นเจ้าของอพาร์ทเม้นท์ ๑ หมื่นแห่งทั้งในกรุงฮานอย นครโฮจิมินห์ นครดานังและเมืองท่าไฮฟอง ตามความเห็นของนาย Chen Lian Pang CEO ของ Capital Land เวียดนาม เวียดนามมีข้อสะดวกหลายอย่างเพื่อให้บริษัทนี้ตัดสินใจลงทุน นั่นคือมีเสถียรภาพทางการเมือง มีประชากรจำนวนมากและการขยายตัวจีดีพีค่อนข้างดี
นอกจากข้อสะดวก นักลงทุนสิงโปร์ยังต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ ในการแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับปัญหานี้ นาย Seck Yee Chung อุปนายกสมาคมผู้ประกอบการสิงคโปร์ในเวียดนามได้เผยว่า“ก่อนอื่นคือการเข้าถึงสถานที่ที่สะดวก ๒ คือตลาดอสังหาริมทรัพย์เวียดนามมีการแข่งขันที่เข้มข้น ๓ คือชาวเวียดนามนิยมซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างบ้านมากกว่าซื้ออพาร์ทเมนท์ ต้องใช้เวลาเพื่อให้พวกเขามีความเข้าใจมากขึ้นและหันมาซื้ออพาร์ทเมนท์ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยอย่างสมบูรณ์ของนักลงทุนสิงคโปร์”
ในจำนวนสถานประกอบการสิงคโปร์ ๑๐ แห่งที่ลงทุนในเวียดนาม มีสถานประกอบการ ๕ แห่งลงทุนในด้านอสังหาริมทรัพย์
|
ต่อจากโครงการนิคมอุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัยและหมู่บ้านจัดสรร โครงการศูนย์การค้าและรีสอร์ทยังเป็นแนวโน้มที่กำลังดึงดูดนักลงทุนสิงคโปร์ เช่น Kumho Asiana ที่มีมูลค่า ๒๑๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ Plaza Keppel Land Saigon และ Center Languna เป็นต้น นาย เหงียนเตี๊ยนมิง เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำสิงคโปร์ได้เห็นพ้องกับความเห็นว่า แนวโน้มการลงทุนที่เข้มแข็งนี้เป็นประโยชน์ต่อเวียดนาม“สิงคโปร์เป็นประเทศที่พัฒนาอย่างเข้มแข็งในด้านอสังหาริมทรัพย์และมีผลิตภัณฑ์อสังหาริมทรัพย์ที่มีชื่อเสียง ดังนั้นนี่จะเป็นสิ่งดีถ้าหากพวกเขาลงทุนในเวียดนาม เพราะพวกเราจะมีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์เพื่อพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การให้บริการด้านโรงแรมและการท่องเที่ยว”
ในหลายปีมานี้ ความนิยมและสนใจโครงการอสังหาริมทรัพย์ของนักลงทุนสิงคโปร์ในเวียดนามยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจนมีการพยากรณ์ว่า สถานประกอบการสิงคโปร์พร้อมที่จะใช้เงินลงทุนนับร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อลงทุนในเวียดนาม เพื่อเป็นผู้เดินหน้าในการรับประโยชน์และโอกาสจากข้อตกลงการค้าเสรีที่เวียดนามเป็นภาคี.
Hoang Hai/VOV5