ขนมไก๊พื้นเมืองของจังหวัดท้ายบิ่งห์
Lan Anh/VOV5 -  
(VOVworld)-เมื่อพูดถึงอาหารพื้นเมืองของจังหวัดท้ายบิ่งห์นอกจากยำแมงกะพรุน หรือแกงปลาควายที่เราเคยแนะนำไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วก็ยังมีหลายอย่างที่ได้กลายเป็นของฝากติดไม้ติดมือผู้คนที่มีโอกาสมาเที่ยวท้ายบิ่งห์ ซึ่งวันนี้เราอยากแนะนำให้ท่านได้รู้จักกับขนมไก๊
(VOVworld)-เมื่อพูดถึงอาหารพื้นเมืองของจังหวัดท้ายบิ่งห์นอกจากยำแมงกะพรุน หรือแกงปลาควายที่เราเคยแนะนำไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วก็ยังมีหลายอย่างที่ได้กลายเป็นของฝากติดไม้ติดมือผู้คนที่มีโอกาสมาเที่ยวท้ายบิ่งห์ ซึ่งวันนี้เราอยากแนะนำให้ท่านได้รู้จักกับขนมไก๊
หมู่บ้านเงวียนซ้า อ.ดงฮึง จังหวัดท้ายบิ่งห์เป็นท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงด้านการแสดงหุ่นกระบอกน้ำและการทำขนมไก๊ จากเรื่องราวความเป็นมาที่ชาวบ้านได้เล่าให้ฟังนั้น ในตอนแรกขนมไก๊เป็นขนมสำหรับตรุษเต๊ตปีใหม่ โดยนางเหงวียนถิเติ่น บุตรสาวรุ่นที่6ของตระกูลเหงวียนกงของหมู่บ้านเงวียนซ้าคิดค้นและทำเป็นคนแรก นางเหงวียนถิเติ่นเกิดเมื่อปี1724 ถึงปี1739เมื่อได้เข้าพระราชวังรับใช้พระมหากษัตริย์ เธอได้คิดค้นการทำขนมชนิดใหม่ที่ใช้ชื่อว่าขนม5รสเพื่อถวายแด่กษัตริย์ ซึ่งหลังจากได้เสวยขนมนี้พระองค์ก็ทรงชื่นชมและสอบถามชื่อ แต่เมื่อเห็นขนมมีสีสันและดูคล้ายๆกับไข่ปูไก๊หรือปูแสมจึงทรงตั้งชื่อใหม่ให้เป็นขนมไก๊ นับตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน อาชีพการทำขนมไก๊ก็ได้รับการพัฒนาและสืบสานต่อไปโดยชาวหมู่บ้านเงวียนซ้า
การทำขนมไก๊นั้นก็มีหลายขั้นตอนแต่ที่สำคัญที่สุดคือการเลือกและการหมักวัตถุดิบที่ประกอบด้วย ข้าวสารเหนียว ลูกฟักข้าว ลูกพุดซ้อน ถั่วลิสง งา ขิง ฟักเขียวเชื่อมน้ำตาล มันหมู น้ำตาล นายเหงวียนวันแหมง ชาวบ้านเงวียนซ้าเผยว่า ส่วนประกอบทุกอย่างจะต้องทำให้สุกแล้วคลุกให้เข้ากันและหั่นเป็นเส้นๆเรียกว่า “ลูกไก๊” และเพื่อให้ได้รสชาดที่อร่อยจะต้องห่อ “ลูกไก๊”ให้มิดชิดทิ้งไว้ประมาณ6เดือนถึงจะเอามาทอดเป็นขนมไก๊ที่เห็น“ถ้าอยากได้ขนมที่อร่อยก่อนอื่นต้องเลือกวัตถุดิบที่คุณภาพดี ข้าวสารเหนียวต้องคั่วสุก ขั้นตอนการต้มก็สำคัญเพราะถ้าต้มไฟแรงขนมจะแข็งแต่ไฟอ่อนเกินไปก็ทำให้แป้งแฉะเหนียวติดหม้อ ซึ่งเมื่อต้มน้ำตาลก็ต้องต้มให้ดีเพื่อที่จะได้ส่วนผสมของลูกไก๊”
ขนมมีสีสันและดูคล้ายๆกับไข่ปูไก๊หรือปูแสมจึงเรียกว่าขนมไก๊
|
ทุกส่วนประกอบนั้นหลังจากผ่านการปรุงให้สุกตามสูตรแล้วก็จะนำมาอัดเข้าด้วยกันให้เป็นแผ่นใหญ่และตัดเป็นชิ้นเล็กๆดูมีสีสันและกลิ่นหอมชวนกิน แม้ดูจากขั้นตอนการทำบางคนอาจจจะบอกว่าง่ายแต่ใช่ว่าทุกคนเมื่อเห็นแล้วจะสามารถทำได้เหมือนที่ชาวหมู่บ้านเงวียนซ้าทำ นาย เหงวียนหิวชิ้ง ชาวเงวียนซ้าเผยว่า“ครอบครัวผมทำอาชีพนี้มากว่าห้าสิบปีแล้วและยังคงได้รับการพัฒนาต่อไปเพื่อบริการลูกค้าโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งต่างจากสมัยก่อนที่เราทำเพื่อเป็นของขวัญช่วงตรุษเต๊ตเท่านั้น”
ที่หมู่บ้านเงวียนซ้า ยังมีหลายร้อยครอบครัวที่ทำขนมไก๊และมีสูตรเฉพาะของแต่ละครอบครัว ซึ่งเมื่อสังคมพัฒนาความนิยมก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแส มีการผลิตขนมที่แปลกใหม่และอร่อยมากมายหลายแบบจึงทำให้ผู้ประกอบอาชีพทำขนมไก๊ประสบความลำบากไม่น้อย“ในการผลิตนั้นเราก็ประสบอุปสรรคต่างๆจนบางทีท้อใจมากเพราะมีหลายครอบครัวทำ แต่ก็คิดในใจเสมอว่านี่เป็นอาชีพครอบครัวที่สืบทอดกันมาหลายชั่วคนต้องพยายามพัฒนาและปรับเปลี่ยนต่อไปเพื่อให้ขนมที่ผลิตมีคุณภาพพร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางมากขึ้น เราจะไม่ทิ้งอาชีพนี้เป็นอันขาด”
แบ๊งเดิวแซงหรือขนมถั่วเขียวอัดที่ขึ้นชื่อเป็นขนมประจำถิ่นของจังหวัดหายเยือง แบ๊งไก๊ ท้ายบิ่งห์ก็เป็นขนมพื้นเมืองอีกอย่างที่สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของชาวบ้านในถิ่นอู่ข้าวขนาดใหญ่ของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงของเวียดนาม.
Lan Anh/VOV5