To Tuan-VOV5 -  
( VOVworld )- คนเวียดนามยังคงจำเนื้อร้องในเพลง “ ยาตราทัพสู่ฮานอย ” ของนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงวันกาว โดยมีท่อนหนึ่งความว่า “ เหล่าทหารหาญเดินทัพดังกระแสคลื่นลูกใหญ่กลับสู่ฮานอย ประตูจาก ๕ ทิศเสมือนดอกไม้สีแดง ๕ กลิบบานยามอรุณรุ่งที่มีหยาดน้ำค้างได้แสงอาทิตย์ระยิบระยับเปิดกว้างต้อนรับ ” เพลงทำให้เราหวนคิดถึงภาพเหล่าทหารหาญเดินทัพเข้าสู่นครหลวงจาก ๕ ทิศในวันปลดปล่อยฮานอยก่อนหน้านี้ ๖๐ ปี ประตูสู่กรุงฮานอยเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามและผูกพันกับประวัติความเป็นมาของฮานอย
( VOVworld )-
คนเวียดนามยังคงจำเนื้อร้องในเพลง “ ยาตราทัพสู่ฮานอย ” ของนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงวันกาว โดยมีท่อนหนึ่งความว่า “ เหล่าทหารหาญเดินทัพดังกระแสคลื่นลูกใหญ่กลับสู่ฮานอย ประตูจาก ๕ ทิศเสมือนดอกไม้สีแดง ๕ กลิบบานยามอรุณรุ่งที่มีหยาดน้ำค้างได้แสงอาทิตย์ระยิบระยับเปิดกว้างต้อนรับ ” เพลงทำให้เราหวนคิดถึงภาพเหล่าทหารหาญเดินทัพเข้าสู่นครหลวงจาก ๕ ทิศในวันปลดปล่อยฮานอยก่อนหน้านี้ ๖๐ ปี ประตูสู่กรุงฮานอยเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามและผูกพันกับประวัติความเป็นมาของฮานอย
ประตูโอกวานเจื่องในปัจจุบัน
ฮานอยในอดีตถูกล้อมรอบด้วยกำแพงดินและมีประตูเมืองหลายแห่ง ประตูเหล่านี้ได้รับการก่อสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสจึงมีชื่อว่าเกื๋อยโอหรือประตูกระดาน สมัยนั้นมีทหารทำหน้าที่ป้องกันตามประตูต่างๆตลอด ๒๔ ชั่วโมงอย่างเข้มงวดโดยประตูเปิดตอนกลางวันและปิดยามกลางคืนเพื่อป้องกันพวกมิจฉาชีพและแจ้งเตือนอัคคีภัย หนังสือประวัติศาสตร์ระบุว่า สมัยกษัตริย์เลเฮี้ยนตงค.ศ.๑๗๔๐-๑๗๘๖ ราชธานีทังลองหรือกรุงฮานอยในปัจจุบันมีประตูเมือง ๑๖ บาน มาต้นศตวรรษที่ ๒๐ เหลือ ๕ ประตูเท่านั้นได้แก่ โอเกิ่วเย้ย โอเกิ่วเหย่น โอเจ่อเหยื่อ โอด๊งมากและโอกวานเจื่อง แต่เนื่องจากประเทศต้องผ่านสงครามอย่างโชกโชนมาหลายร้อยปีทำให้ประตูหลายแห่งถูกทำลายอย่างยับเยินไม่เหลือร่องรอยเหลือแต่ประตูโอกวานเจื่องที่มีอยู่มาจนถึงปัจจุบัน แต่ชื่อของประตูที่ถูกทำลายนั้นยังปรากฎอยู่กลายเป็นชื่อถนนหรือชื่อสถานที่เช่น เขตเกิ่วเย้ยและโอเจื่อเหยื่อ ตำบลโอด๊งมาก ตำบลโอเกิ่วเหย่น ประตูโอกวานเจื่องที่ยังหลงเหลือจนถึงปัจจุบันเป็นประตูทางทิศตะวันออกของราชธานีทังลองในอดีตและปัจจุบันประตูแห่งนี้ตั้งอยู่บนถนนห่างเจี๊ยว ตำบลด่งซวน เขตหว่านเกี๊ยม กรุงฮานอย ประตูถูตะใคร้น้ำจับและมีคำว่า ดงห่ามนคือประตูอยู่ทางทิศตะวันออกของฮานอยหรือมีอีกชื่อว่าประตูดงห่าซึ่งอยู่ด้านบนของประตู แต่ชาวบ้านยังเรียกว่า ประตูโอกวานเจื่อง นักประวัติศาสตร์เซืองจูงก๊วกเปิดเผยว่า “ นี่เป็นประตูแห่งเดียวที่ยังคงสถาปัตยกรรมเดิมไว้ได้ ที่นี่ยังมีแผ่นศิลาตั้งแต่สมัยราชวงศ์เหงวียนศตวรรษที่ ๑๙ ที่สลักระเบียบการในการเข้าเวรยามว่า ต้องทำเวรอย่างดีแต่ห้ามก่อความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้าน ซึ่งสะท้อนระเบียบการบริหารและการปฏิบัติต่อชาวบ้านในอดีต ส่วนที่มาของชื่อโอกวานเจื่องคงเกี่ยวพันถึงขุนนางกวานเจื่องเหว่ท่านหนึ่งที่ถูกส่งมาปฏิบัติหน้าที่ ท่านได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดจนได้รับความเคารพและยกย่องจากชาวบ้านจนเรียกประตูนี้ตามชื่อของท่านว่า โอกวานเจื่อง ”
ประตูโอกวานเจื่องในอดีต
แต่ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ได้ยืนยันว่า ชาวบ้านเรียกประตูนี้ว่า โอกวานเจื่องเพื่อจารึกส่วนอุทิศและความเสียสละชีวิตของอำมาตเจื่องเกอที่บัญชาหน่วยทหารอารักขาของราชวงศ์เหงวียนที่ได้ต่อสู้กับทหารฝรั่งเศสอย่างหาญกล้า ณ ประตูดงห่าเมิ่อปีค.ศ.๑๘๗๓ ประตูโอกวานเจื่องถูกออกแบบในลักษณะหว่องเลิวหรือหอคอย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมสมัยราชวงศ์เหงวียน สิ่งปลูกสร้างนี้มีสองชั้น โดยชั้นล่างมี๓ประตูทางเข้าออกแบบซุ้มโค้งได้แก่ ประตูใหญ่สุดอยู่ตรงกลางและประตูเล็กอยู่สองข้าง ส่วนชั้นบนเป็นหอคอยอยู่ด้านบนของประตูใหญ่สุด มีระเบียงแกะสลัดรูปสี่เหลี่ยม หกเหลี่ยมและดอกจันทร์ ทหารยามจะยืนอยู่ที่หอคอยเพื่อตรวจตราบริเวณโดยรอบ ผ่านระยะต่างๆทางประวัติศาสตร์ที่มีทั้งระยะรุ่งเรืองและซบเซา ประตูโอกวานเจื่องยังยืนตระหง่านเสมือนหน้าประวัติศาสตร์ที่เปิดกว้างกลางใจกรุงฮานอยได้เป็นความภาคภูมิใจของชาวนครหลวง นายเจืองวันแค้ง ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้ประตูโอกวานเจื่องคุยกับพวกเราว่า “ ชาวย่านเก่าแก่ฮานอยรู้สึกภาคภูมิใจต่อประตูโอกวานเจื่องเพราะมันอยู่คู่กับนครหลวงมาหลายศตวรรษ ผมหวังว่า โบราณสถานนี้จะได้รับการปฏิสังขรเพื่ออนุรักษ์มันให้คงอยู่นานเท่านานเพื่อให้นักท่องเที่ยวและลูกหลานเมื่อมาเที่ยวที่นี่จะเข้าใจเกียรติประวัติการต่อสู้และประเพณีวัฒนธรรมของชาติ ”
โอกวานเจื่อง-จุดนัดพบของนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ประตูโอกวานเจื่องเคยได้รับการบูรณะปฏิสังขรสองครั้งในสมัยกษัตริย์ยาลองรัชกาลที่ ๓ราวค.ศ.๑๘๐๔และในรัชกาลยาลองที่ ๑๖ราวค.ศ.๑๘๑๗ ปีค.ศ.๑๙๙๔ โบราณสถานโอกวานเจื่องได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานประวัติศาสตร์ ต่อมาปี ๒๐๑๐ โบราณสถานแห่งนี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรให้คงสภาพเดิม ประตูโอกวานเจื่องไม่เพียงแต่เป็นอนุสรณ์ของกำแพงทังลองในอดีตเท่านั้น หากยังเป็นสัญลักษณ์แห่งจิตใจต่อต้านศัตรูผู้รุกรานอันกล้าหาญของคนฮานอย แม้ว่า ประตูห้าทิศของกรุงฮานอยจะหายไปเนื่องจากสาเหตุต่างๆ แต่มันยังสถิตอยู่ในจิตใจของคนเวียดนาม ในวรรณกรรม ศิลปะและหนังสือประวัติศาสตร์ต่างๆตลอดไป ./.
To Tuan-VOV5