การปลูกข้าวนาขั้นบันไดคือเอกลักษณ์วัฒนธรรมการทำนาในเขตเขาภาคเหนือเวียดนาม
Le Phuong – VOV5 -  
( VOVworld )-เขตเขาภาคเหนือเวียดนามที่ยังคงความเป็นธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าดงดิบและเทือบเขาสูงลิ่ว ได้ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวแบบเผจญภัยให้มาค้นคว้าเสน่ห์ของเ้ขตนี้ โดยเฉพาะตากล้องทั้งมืออาชีพและสมัครเล่น แต่สิ่งที่สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวที่เมื่อมาแล้วก็อยากกลับมาเที่ยวอีกคือ ความสวยงามของนาขั้นบันไดที่ลัดเลาะตามไหล่เขาหรือเนินเขาสูง และนาขั้นบันไดได้กลายเป็นเอกลักษณ์การทำนาดำของชาวเขาภาคเหนือเวียดนาม
( VOVworld )-เขตเขาภาคเหนือเวียดนามที่ยังคงความเป็นธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าดงดิบและเทือบเขาสูงลิ่ว ได้ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวแบบเผจญภัยให้มาค้นคว้าเสน่ห์ของเขตนี้ โดยเฉพาะตากล้องทั้งมืออาชีพและสมัครเล่น แต่สิ่งที่สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวที่เมื่อมาแล้วก็อยากกลับมาเที่ยวอีกคือ ความสวยงามของนาขั้นบันไดที่ลัดเลาะตามไหล่เขาหรือเนินเขาสูง และนาขั้นบันไดได้กลายเป็นเอกลักษณ์การทำนาดำของชาวเขาภาคเหนือเวียดนาม
|
นาข้าวสีเหลืองและเขียวสลับกัน |
ที่มาของนาขั้นบันไดมาจากประเพณีการอาศัยของชาวเขาภาคเหนือเวียดนามที่สะท้อนประสบการณ์และวิธีการปลูกข้าว การผลิตตลอดจนการขุดปรับพื้นที่นาบันไดของชนเผ่าแต่ละเผ่า นายขว่างวันเตี๊ยน ชนเผ่าไทขาว จังหวัดเดี่ยนเบียนเปิดเผยว่า “ พวกเราสืบสานประเพณีการปลูกข้าวนาดำจากบรรพบุรุษ ชาวไทขาวตั้งหลักแหล่งอาศัยที่ไหนก็ปลูกข้าวนาดำที่นั่น พวกเราปรับพื้นที่ดินที่ว่างเปล่าเพื่อปลูกข้าวนาดำ ”
การปลูกข้าวนาขั้นบันไดในเขตเขาสูงมาจากการขาดแคลนพื้นที่ราบ ดังนั้นชาวเขาต้องขุดปรับพื้นที่ตามไหล่เขาหรือภูดอยที่ว่างเปล่าให้เป็นแปลงนาบันไดหลายๆขั้น ซึ่งหากเจ้าของนาสามารถขุดปรับพื้นที่นาเป็นบันไดหลายขั้นนั้นเป็นการสะท้อนความสามารถของพวกเขาและก็เป็นความภาคภูมิใจในผลงานของพวกเขาด้วย นายหย่างอาปัว ชนเผ่าม้ง จังหวัดห่ายางเปิดเผยว่า “ การบุกเบิกถือเป็นขั้นตอนที่ยากลำบากที่ต้องใช้แรงงานคนและเหนื่อยมาก เราต้องรู้จักเลือกพื้นที่ลาดชันน้อยและไม่ค่อยมีกรวดหิน ควรเลือกพื้นที่ที่มีวัชพืชและต้นไม้ใหญ่ขึ้นหนาแน่น ”
|
ชาวเขาไปตรวจนาข้าวขั้นบันได |
หลังจากบุกเบิกได้เสร็จเรียบร้อยแล้วก็ต้องปรับพื้นที่นาขั้นบันได โดยต้องทำระบบส่งน้ำมายังแปลงนา นายเลืองวันเที้ยต เจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เปิดเผยว่า “ การทำระบบส่งน้ำโดยผู้ชาย ซึ่งต้องใช้ภูมิปัญญาของชาวบ้านในการขุดระบบเหมืองเพื่อให้น้ำจะถูกส่งมายังแปลงนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงปลูกข้าว น้ำไหลตามระบบส่งน้ำจากแปลงนาบนลงล่าง สำหรับแปลงนาที่มีเจ้าของนาหลายรายนั้น การบริหารจัดการน้ำเป็นหน้าที่ของเจ้าของนาทุกคน ”
การบุกเบิกและการขุดปรับพื้นที่นาขั้นบันไดมีมาหลายร้อยปี การตั้งหลักแหล่งอาศัยและการปลูกข้าวนาดำของชนเผ่าต่างๆในเขตเขาภาคเหนือได้ก่อให้เกิดประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้านต่างๆ ทั้งนี้ถือว่า เป็นวัฒนธรรมที่โดดเด่นของชนเผ่า คุณถ่าวถิ่เหยอะ ชาวม้ง ตำบล ลาบ๊านเติ่น อำเภอหมู่กังจ๋าย จังหวัดห่ายางเผยว่า ชนเผ่าม้งถือนาขั้นบันไดเป็นถังข้าวที่มีคุณค่า ซึ่งมันจะสวยที่สุดเมื่อการปลูกข้าวนำดำได้ผลดี นาข้าวสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ซึ่งเป็นภาพสวยมาก มีข้าวเปลือกพอกินเรารู้สึกมีความสุขมาก ”
|
ข้าวกำลังออกรวงเขียวผสมเหลืองอ่อน |
นาขั้นบันไดถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของเขตเขาภาคเหนือเวียดนาม โดยในช่วงเก็บเกี่ยวข้าวเดือนตุลาคม แปลงนาเหลืองอร่ามเป็นภาพที่สบายตาสบายใจเป็นที่สุด และยังมีแปลงนาที่มีทั้งสีเหลืองและสีเขียว ทั้งนี้สร้างสีสันและความสวยงามให้แก่เขตเขาภาคเหนือที่มีชนเผ่าไทและม้งอาศัยอยู่อย่างหาที่อื่นไม่ได้ ./.
|
เก็บเกี่ยวข้าว |
|
ความสวยงามของนาข้าวหาที่อื่นมิได้ |
|
รอยยิ้มแห่งฤดูเก็บเกี่ยวได้ผล |
Le Phuong – VOV5