ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวบ้านเวียดนามในการผสมผสานเข้ากับโลก
To Tuan-VOV5 -  
(VOVworld)-ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวบ้านเวียดนามแสดงออกในทางปฏิบัติและจิตใจเช่น มนุษย์สัมพันธ์ อัธยาศัยและใจรักตอประเพณีวัฒนธรรมของครอบครัวไม่ว่าจะเป็นการให้ความเคารพต่อผู้สูงอายุและครูอาจารย์ การใฝ่การศึกษาหาความรู้ ความรักต่ออาชีพพื้นบ้าน มารยาทในการประกอบธุรกิจและความรับผิดชอบต่อมรดกของคนรุ่นก่อน แม้ชีวิตสมัยใหม่ได้เข้ามาแทนที่แต่ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวบ้านยังได้รับการสืบสานรุ่นแล้วรุ่นเล่าจึงสร้างพลังชีวิตทางวัฒนธรรมที่อมตะของชาติ
( VOVworld )- ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวบ้านเวียดนามแสดงออกในทางปฏิบัติและจิตใจเช่น มนุษย์สัมพันธ์ อัธยาศัยและใจรักตอประเพณีวัฒนธรรมของครอบครัวไม่ว่าจะเป็นการให้ความเคารพต่อผู้สูงอายุและครูอาจารย์ การใฝ่การศึกษาหาความรู้ ความรักต่ออาชีพพื้นบ้าน มารยาทในการประกอบธุรกิจและความรับผิดชอบต่อมรดกของคนรุ่นก่อน แม้ชีวิตสมัยใหม่ได้เข้ามาแทนที่แต่ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวบ้านยังได้รับการสืบสานรุ่นแล้วรุ่นเล่าจึงสร้างพลังชีวิตทางวัฒนธรรมที่อมตะของชาติ
|
คุณยายกับหลานในโอกาสฉลองวันคล้ายวันเกิด
|
วิถีชีวิตดั้งเดิมของคนเวียดนามคือ ทุกคนอาศัยอยู่รวมกัน โดยทุกคนอยู่รวมกันเป็นชุมชนในระดับครอบครัวหลายรุ่น เป็นครอบครัวขยายที่มีหลายรุ่นอาศัยอยู่รวมกันคือ รุ่นปู่ย่าตายาย รุ่นพ่อแม่ รุ่นลูกและรุ่นหลาน ดังนั้นขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละครอบครัวมีความสำคัญยิ่งในการรักษาความสุข ตั้งแต่สมัยโบราณชาวเวียดนามมักปฏิบัติตามคำขวัญที่ว่า แต่ละบ้านจะต้องมีขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเอง ซึ่งหมายความว่า ทุกคนในครอบครัวต้องให้ความเคารพคนแก่เฒ่และรักเด็กๆและเด็กๆต้องรับฟังคำพูดหรือคำสั่งสอนของผู้ใหญ่ หากเห็นว่ามีข้อใดยังต้องปรับปรุงจะค่อยๆเสนอความคิดเห็นเพื่อหารือกันสู่ความเห็นด้วย ทั้งนี้ได้นำมาซึ่งความสุขให้แก่ครอบครัวเวียดนามตั้งแต่โบราณมาจนถึงปัจจุบัน
ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมที่โดดเด่นของชาวบ้านเวียดนามคือ การสำนึกในบุญคุณของบรรพบุรุษและพ่อแม่ผู้บังเกิดเกล้า คุณเซืองถิ่เหิ่ว พำนักที่เขตฮายบ่าจึง กรุงฮานอย มีพี่น้อง ๗ คน แม้บัดนี้เธอได้เป็นคุณยายแล้ว แต่เธอกับสามีและลูกหลานก็ยังกลับบ้านเกิดเยี่ยมพ่อและแม่ทุกวันอาทิตย์หรืองานวันสำคัญๆ ส่วนคุณลุงเซืองตื่อเกื่อง พ่อของคุณเหิ่วที่กำลังอาศัยที่อำเภอเถื่องติ๊นชานกรุงฮานอยเล่าว่า “ บ้านของผมมีขนบธรรมเนียมคือ ลูกๆต้องสำนึกในบุญคุณต่อพ่อแม่ผู้บังเกิดเกล้า ลูกๆมีชีวิตที่ผาสุกมักจะคิดถึงพ่อและแม่และเยี่ยมกับมอบของขวัญอยู่เสมอ ผมรู้สึกมีความสุขเพราะบุตรหลานได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกและหลานเป็นอย่างดี ”
การรักษาประเพณีให้ความดูแลปู่ย่าตายายและพ่อแม่ของคุณเหิ่วนั้นเป็นตัวอย่างให้แก่บุตรหลานสืบสานและไม่ลืมรากเหง้าของตนเอง ทั้งนี้ส่งผลให้ครอบครัวขยายในเวียดนามสามารถรักษาความอบอุ่นในบ้านของตนเอง คุณลุงดิงห์วันแห่ง อดีตนายทหารข้าราชการบำนาญที่กำลังอาศัยกับลูกและหลานที่ถนนหลีนานเด๊ กรุงฮานอยเปิดเผยว่า “ เมื่อเกษียรอายุราชการและสุขภาพไม่อำนวย ผมกับภรรยาได้ตกลงไปอยู่กับลูกและหลาน ในชีวิตประจำวันพวกเราพยายามเป็นตัวอย่างให้แก่ลูกและหลานไม่ว่าจะทางวาจาและการกินอยู่เพื่อฝึกให้เด็กๆปฏิบัติตาม แม้อายุสูงมากแล้ว แต่ผมยังช่วยลูกทำงานบ้านและดูแลหลาน ผมไม่เคยตีลูกหรือหลานแม้แต่ครั้งเดียว ”
ผ่านกาลเวลามายาวนาน สังคมและครอบครัวแบบขยายได้เปลี่ยนแปลงไป โดยครอบครัวมักจะมีขนาดเล็ก โดยมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยว หนุ่มสาวแต่งงานกันมีแนวโน้มจะแยกออกจากครอบครัวขยายเพื่อความสบายและความเป็นอิสระมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากครอบครัวในตัวเมืองที่มีสองรุ่นอยู่รวมกันคือ รุ่นพ่อแม่และรุ่นลูกแต่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของครอบครัวไว้ได้ แม้จะต้องไปทำงานในต่างถิ่นอยู่เสมอและงานล้นมือ แต่คุณโด่ถิ่เหี่ยนกับสามีก็พยายามจัดเวลาให้ทุกคนในครอบครัวจะได้พบกันถ้วนหน้าในวันหยุดสุดสัปดาห์ และในโอกาสฉลองวันคล้ายวันแต่งงานของคุณเหี่ยนและสามี เธอได้รับของขวัญที่มีความหมายจากลูกชาย คุณเหี่ยนกล่าว “ ดิฉันไม่ได้คาดคิดเลยว่าจะได้รับรูปที่สวยอย่างนี้ ดิฉันรู้สึกมีความสุขอย่างบอกไม่ถูกเมื่อลูกได้โตขึ้น ”
ครอบครัวอันอบอุ่นจะเป็นพลังและเป็นการส่งเสริมให้กำลังใจตนในครอบครัว ชาวเวียดนามสมัยโบราณมีสุภาษิต ที่ว่า ไม้แต่ละต้นจะให้ดอกไม่เหมือนกันเสมือนแต่ละครอบครัวมีลักษณะไม่เหมือนกันแต่มีจุดเดียวกันคือ มุ่งสู่ครอบครัวที่ดีงามที่สมาชิกครอบครัวล้วนรักและผูกพันกัน การอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวบ้านเวียดนามแบบดั้งเดิมกับคุณค่าวัฒนธรรมของครอบครัวสมัยใหม่ให้มีความกลมกลืนกันจะสร้างพื้นฐานสังคมอันดีงามและวัฒนธรรมเวียดนามที่มีเอกลักษณ์ในการผสมผสานเข้ากับกระแสโลก ./.
To Tuan-VOV5