ประเพณีการบูชาเจ้าแม่ในสายธารวัฒนธรรมเวียดนามสมัยใหม่

(VOVworld )-ประเพณีการบูชาเจ้าแม่พัฒนารุ่งเรืองในศตวรรษที่ ๑๕ สมัยราชวงศ์เลและพัฒนาต่อมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นการบูชาเจ้าแม่และวีระบุรุษของชาติจึงทำให้ประเพณีนี้มีความเป็นเวียดนามอย่างสมบูรณ์และได้รับการพัฒนาสืบสานมาตราบนานเท่านาน


(VOVworld )-ประเพณีการบูชาเจ้าแม่พัฒนารุ่งเรืองในศตวรรษที่ ๑๕ สมัยราชวงศ์เลและพัฒนาต่อมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นการบูชาเจ้าแม่และวีระบุรุษของชาติจึงทำให้ประเพณีนี้มีความเป็นเวียดนามอย่างสมบูรณ์และได้รับการพัฒนาสืบสานมาตราบนานเท่านาน

ประเพณีการบูชาเจ้าแม่ในสายธารวัฒนธรรมเวียดนามสมัยใหม่ - ảnh 1
หิ้งบูชาเจ้าแม่

การบูชาเจ้าแม่มีความสำคัญในชีวิตทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณของคนเวียดมาหลายศตวรรษจนกลายเป็นที่พึ่งทางใจและจิตวิญญาณของคนเวียดแต่ละคน  โดยจิตใจคนเวียดจะมุ่งสู่ประวัติศาสตร์ อดีต จดจำและสำนึกในบุญคุณของบรรพบุรุและวีรชนของชาติ  นายเหงวียนเตี๊ยนหยุง เจ้าหน้าที่วิจัยของศูนย์วิจัยความเลื่อมใสเวียดนามเห็นว่า ประชาชนเวียดนามนับถือการบูชาเจ้าแม่คือสิ่งที่ทรงคุณค่าที่สุด  นายหยุงกล่าวว่า  “ การบูชาเจ้าแม่เป็นการสอนให้คนเราดำรงชีวิตที่ดีกว่า มีจิตใจที่ดีกว่าและใกล้ชิดกันมากขึ้น ตลอดจนขอให้เทพเจ้าประทานพรให้ประเทศมีสันติสุขประชาชนได้อยู่ในบรรยากาศที่สงบและมีความอิ่มหนำผาสุก ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งคือเป้าหมายของประเพณีนี้ เป็นประเพณีเพื่อความงาม และความดีจึงต้องอนุรักษ์และพัฒนาให้มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น

ประเพณีการบูชาเจ้าแม่เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะที่ทรงคุณค่าต่างๆเช่น ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ดนตรี การร้องเพลง ฟ้อนรำ ศิลปะป้องกันตัว อาหารและแฟชั่นที่ถูกคัดกรองมานานปีและพัฒนาไปตามการพัฒนาของชีวิตชาวบ้าน

แทงด่งหรือคนทรงถือเป็นสื่อกลางช่วยส่งคำอธิษฐานของมนุษย์สู่โลกแห่งเทวดาขององหว่าง องแท้ง เกิ่ว โกและอำมาตย์หลายองค์  แทงด่งบุ่ยแทงเกียนเล่าว่า  เมื่อเข้าทรง พวกเขาได้กลายร่างเป็นเทวดาและประทานพรสิ่งที่ดีงาม ความสุขและโชคลาภให้แก่มนุษย์  นายเกียนกล่าวว่า  “ ผมบูชาเทพแห่งอำมาตย์ ดังนั้นเมื่อเข้าทรงเทพแห่งอำมาตย์จะมาประทับร่าง เครื่องทรงจึงเป็นชุดของอำมาตย์และท่าทางอิริยาบทต้องเป็นของขุนนาง  หากเทวดาที่ประทับร่างเป็นชนเผ่าธรรมดาที่ลงมาเพื่อช่วยชีวิตคนผมจะแต่งเครื่องทรงชุดชนเผ่าและแสดงกิริยาท่าทางเหมือนชนเผ่า  การเข้าทรงดั้งเดิมต้องเป็นอย่างนี้

ความงามของประเพณีบูชาเจ้าแม่อยู่ตรงที่ ความศักดิ์สิทธิ์ ความสง่างามตามประเพณีดั้งเดิม  เมื่อเข้าทรง จิตใจของแทงด่งต่างไปกับคนธรรมดา แทงด่งเหวียนถิ่มาตเปิดเผยว่า  “ หากเทวดาไม่ปรากฎก็เข้าทรงไม่ได้ ดิฉันเป็นคนรอบคอบ ใช้จ่ายประหยัดและสร้างสมบุญให้แก่บุตรและสามี   เมื่อเข้าทรงต้องมีใจที่เป็นกุศล การที่มีผู้มาประทับร่างตนเรียกว่าการทรงเจ้า

ประเพณีบูชาเจ้าแม่มีคุณค่าวัฒนธรรมพื้นบ้านมากมาย การบูชาแม่ของคนเวียดนามคือความปรารถนาที่จะได้รับความคุ้มครองและการบันดาลประโยชน์สุขพื้นฐานต่างๆให้แก่มนุษย์คือ สุขภาพ เงินทอง โชคลาภ ความเจริญพันธุ์และความสร้างสรรค์  การบูชาเจ้าแม่เน้นให้ความสนใจต่อมนุษย์ที่ยังมีชีวิตด้วยเหตุนั้นจึงดูเหมือนว่า สังคมยิ่งทันสมัย การบูชาเจ้าแม่ก็ยิ่งพัฒนาเพราะใครๆก็ต้องการสุขภาพ เงินทองและยศถาบรรดาศักดิ์กันทั้งนั้น

ประเพณีการบูชาเจ้าแม่ในสายธารวัฒนธรรมเวียดนามสมัยใหม่ - ảnh 2
การเข้าทรง

การฟื้นฟูประเพณีการบูชาเจ้าแม่ในปัจจุบันทำให้ชีวิตทางวัฒนธรรมและความเลื่อมใสศรัทธาของคนเวียดนามมีความหลากหลายมากขึ้น  นายเหงวียนคักเหล่ย รองผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวฮานอยเปิดเผยว่า ทางกระทรวงวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวเวียดนามกำลังยื่นเสนอต่อองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกขอให้รับรองการบูชาเจ้าแม่และเข้าทรงเป็นมรดกวัฒนธรรมนามรรมของมนุษยชาติ อันเป็นการยืนยันถึงคุณค่าของมันที่ต้องอนุรักษ์และพัฒนาต่อไป  นายเหงวียนคักเหล่ยกล่าวว่า  “ ขอยืนยันว่า การบูชาเจ้าแม่เป็นประเพณีของคนเวียดนามโดยเฉพาะการมีคุณลักษณะแห่งมนุษยชาติและการศึกษาจึงมีพลังชีวิตที่ยั่งยืน   ด้วยเหตุนี้ บรรดานักวิจัยต่างมีความคิดเห็นว่า กิจกรรมต่างๆในการบูชาเจ้าแม่คือพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต มันไม่ถูกระบุในหนังสือแต่มีในทางปฏิบัติ  นับเป็นปัจจัยที่โดดเด่นเพื่อยื่นเสนอต่อองค์การยูเนสโกขอให้รับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติ

ในชีวิตปัจจุบัน การบูชาเจ้าแม่ยังได้รับการพัฒนาแพร่หลายตามตัวเมืองและท้องถิ่นแต่ละภาค และได้รับความสนใจจากประชาชนหลายภาคส่วน  เมื่อปี๒๐๐๙ กระทรวงวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวกับคณะกรรมการประชาชนจังหวัดห่านามได้จัดพิธีบูชาเจ้าแม่ ณ วิหารแหลงยาง จังหวัดห่านาม  ปี๒๐๑๐ งานมหกรรมบูชาเจ้าแม่เขตที่ราบแม่น้ำโห่งหรือแม่น้ำแดงได้รับการจัดขึ้นครั้งแรก ณ สถาบันจุ๊กเลิม ตามด่าว จังหวัดหวิงฟุก  งานมหากรรมบูชาเจ้าแม่ครั้งที่ ๒ ได้รับการจัดขึ้น ณ กรุงฮานอยเมื่อเร็วๆนี้ได้มีแทงด่งหรือคนทรงกว่า ๑๗๐ องค์ คณะปฏิบัติพิธีกรรมต่างๆของฮานอยและจังหวัดหลายแห่งเข้าร่วม  ทั้งนี้และทั้งนั้นแสดงให้เห็นว่า การบูชาเจ้าแม่ได้พัฒนาอย่างรวดเร็วในชีวิตปัจจุบัน ./.  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด