สะพานเหี่ยนเลือง-สะพานแห่งความเป็นเอกภาพ

( VOVworld )-ในช่วงทำสงครามต่อต้านสหรัฐอเมริกาผู้รุกราน  สะพานเหี่ยนเลืองข้ามแม่น้ำเบ๊นห่าย ในจังหวัดกว่างจิ่เป็นเส้นแบ่งประเทศเวียดนามเป็นสองภาคเป็นการชั่วคราว ซึ่งกุลบุตรชาวเวียดนามได้สละชีพอย่างวีระอาจหาญในแม่น้ำแห่งนี้เพื่ออิสระภาพและเอกราชของประเทศ  โบราณสถานสะพานเหี่ยนเลืองและแม่น้ำเบ๊นห่ายได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานประวัติศาสตร์ระดับชาติ   ในช่วงนี้ ชาวบ้านที่อยู่สองฟากฝั่งแม่น้ำเบ๊นห่ายยินดีต้อนรับผู้คนที่กลับมาเยือนสมรภูมิในอดีตในงานวันรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียวอย่างไม่ขาดสาย


( VOVworld )-ในช่วงทำสงครามต่อต้านสหรัฐอเมริกาผู้รุกราน  สะพานเหี่ยนเลืองข้ามแม่น้ำเบ๊นห่าย ในจังหวัดกว่างจิ่เป็นเส้นแบ่งประเทศเวียดนามเป็นสองภาคเป็นการชั่วคราว ซึ่งกุลบุตรชาวเวียดนามได้สละชีพอย่างวีระอาจหาญในแม่น้ำแห่งนี้เพื่ออิสระภาพและเอกราชของประเทศ  โบราณสถานสะพานเหี่ยนเลืองและแม่น้ำเบ๊นห่ายได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานประวัติศาสตร์ระดับชาติ   ในช่วงนี้ ชาวบ้านที่อยู่สองฟากฝั่งแม่น้ำเบ๊นห่ายยินดีต้อนรับผู้คนที่กลับมาเยือนสมรภูมิในอดีตในงานวันรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียวอย่างไม่ขาดสาย

สะพานเหี่ยนเลือง-สะพานแห่งความเป็นเอกภาพ - ảnh 1
สะพานเหี่ยนเลือง 

สะพานเหี่ยนเลืองข้ามแม่น้ำเบ๊นห่ายมีความยาวประมาณ ๑๗๘ เมตรเท่านั้น แต่ชาวเวียดนามในภาคใต้และภาคเหนือต้องทนกับความยากลำบากมา ๒๑ ปีจึงสามารถข้ามสะพานได้อย่างอิสระ  สะพานเหี่ยนเลืองมี ๗ ช่วง ผิวสะพานปูแผ่นไม้สน ๙๐๐ แผ่น  สะพานแห่งนี้ถือว่าเป็นพยานแห่งการต่อสู้อย่างยาวนาน ดุเดือดแต่เกรียงไกรของประชาชาติเวียดนาม อีกทั้งสะท้อนความมุ่งมั่น ความปรารถนาและความมั่นใจในชัยชนะของชาวเวียดนาม  ในช่วงสงคราม จังหวัดกว่างจิ่ถูกทิ้งระเบิดทำลายล้างหลายร้อยตันมากกว่างแห่งอื่นใดของประเทศ  มาช่วงสันติสุข ทั่วประเทศได้ร่วมแรงร่วมใจเพื่อสร้างสรรค์กว่างจิ่ให้เจิรญรุ่งเรืองและทันสมัย

ปี ๒๐๐๕ ในโอกาสฉลองครบรอบ ๓๐ ปีการปลดปล่อยภาคใต้เวียดนามอย่างสมบูณ์อันเป็นการรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียว  งานเทศกาลรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียวถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ เขตโบราณสถานแห่งประวัติศาสตร์สองฝั่งเหี่ยนเลือง-เบ๊นห่าย  ตั้งแต่นั้นมา เขตโบราณสถานเหี่ยนเลือง-เบ๊นห่ายได้กลายเป็นสถานที่จัดงานวันรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียวเป็นประจำทุกปี   ส่วนปีนี้ งานวันรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียวถูกจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๘-๓๐เมษายน  นายเหงวียนดึ๊กจิ๊ง ประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดกว่างจิ่เปิดเผยว่า  “ เมื่อสงครามยุติลงในปีค.ศ.๑๙๗๕ สะพานนี้กลายเป็นสะพานแห่งเอกภาพ  ประชาชนทั้งประเทศต้องเสียสละเลือดเนื้อและทนกับสงครามที่ดุเดือด ณ ที่นี่มากว่า ๒๐ ปีเพื่อที่จะสามารถสัญจรบนสะพานนี้ได้อย่างอิสระ ดังนั้นกิจกรรมดังกล่าวได้ระบุในโครงการแห่งชาติเพื่อหวนรำลึกถึงช่วงเวลาที่ประเทศถูกแยกออกเป็นสองภาค อีกทั้งยังเป็นสถานที่แสดงความอาลัยคิดถึงของสองภาค ความปรารถนารวมประเทศเป็นหนึ่งเดียว  สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสร้างความรู้สึกบอกไม่ถูกของประชาชนเวียดนามที่มาเยี่ยมเยือน

สะพานเหี่ยนเลือง-สะพานแห่งความเป็นเอกภาพ - ảnh 2
หอธงชาติ ณ ฝั่งเหนือสะพานเหี่ยนเลือง

งานเทศกาลปีนี้เริ่มด้วยภาพย้อนอดีตการพบปะกันระหว่างชาวภาคเหนือกับชาวภาคใต้หลังจากที่พลัดพรากจากกันมาหลายสิบปีโดยมีการเข้าร่วมของคณะเจ้าหน้าที่และประชาชนจังหวัดก่าเมาใต้สุดของประเทศกับจังหวัดหล่างเซินภาคเหนือตอนบนของประเทศ   ผู้แทนในสองคณะส่วนใหญ่ยังไม่ได้มาสะพานเหี่ยนเลืองและแม่น้ำเบ๊นห่าย  พวกเขาจะเดินทางจากสองฝั่งเหนือและใต้มาเจอกันตรงกลางสะพาน ซึ่งเป็นภาพที่สร้างความสุดซึ้งต่อผู้เข้าร่วม   ต่อจากนั้นสคือ พิธีเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา ณ หอธงเหี่ยนเลือง ธงชาติผืนแดงดาวเหลืองขนาด ๙๖ ตารางเมตรโบกสะบัดตามสายลมทำให้ผู้ที่เข้าร่วมหลายพันคนกลั้นน้ำตาไม่อยู่ นายเหงวียนมินห์โจว์ ชาวตำบลจูงห่าย อำเภอยอลินห์ที่เข้าร่วมกองกำลังติดอาวุธเพื่อปกป้องแนวเส้นแบ่งระหว่างสองภาค ณ สะพานเหี่ยนเลืองเปิดเผยว่า ธงชาติบนหอธงเป็นความภาคภูมิใจและเป็นสัญลักษณ์แห่งความมุ่งมั่นว่า ไม่มีสิ่งใดที่มีค่ายิ่งไปกว่าเอกราชและเสรีภาพ เป็นตำนานเกี่ยวกับการต่อสู้เพื่อพิทักษ์ธงชาติในสงครามทำลายล้าง  นายโจว์กล่าวว่า   “ ธงชาติโบกสะบัดตลอดเวลาแม้ เสาธงเหี่ยนเลืองถูกทำลายถึง ๑๑ ครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นจิตใจแห่งการปักใจรบปักใจชนะของประชาชาติ  กองกำลังตำรวจทำหน้าที่พิทักษ์และชักธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา แต่หากไม่มีการช่วยเหลือจากประชาชนเราคงทำไม่ได้   ธงชาติโบกสะบัดไม่หยุดแม้แต่นาทีเดียวเพราะมันคือความมั่นใจของประชาชนฝั่งใต้   ปีค.ศ.๑๙๗๒เป็นช่วงที่สงครามดุเดือดที่สุดมีการจุดไฟตรงที่เสาธงเพื่อนำทางให้แก่ทหารเดินทัพเข้าสมรภูมิให้เห็นว่า นี่คือภาคเหนือ นี่คือสะพานเหี่ยนเลือง  หอธงเปรียบเสมือนประภาคาร

ไฮไลท์ของงานคือ รายการแสดงศิลปะในค่ำวันที่ ๒๙ เมษายนในหัวข้อ “ เพลงแห่งการรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียว ” นายเหงวียนหิวทั้งผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวจังหวัดกว่างจิ่เปิดเผยว่า   “ สะพานเหี่ยนเลืองเป็นจุดรวมชาติ มันเป็นทั้งจุดแบ่งระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ แต่ก็เป็นพยานในการรวมสองฝั่งคือเหนือกับใต้เป็นหนึ่งเดียว เพลงปฏิวัติและบทระบำต่างๆที่แสดงในงานสะท้อนความปรารถนาของประชาชนทั้งประเทศในการรวมประเทศเป็นเอกภาพหลังจากที่ภาคเหนือกับภาคใต้ถูกแบ่งแยกกัน  ประชาชนทั้งประเทศทุ่มเททุกอย่างเพื่อภาคใต้และความเป็นเอกภาพของประเทศ พวกเขาได้ข้ามแม่น้ำเบ๊นห่าย ฟันฝ่าความปวดร้าวจากการถูกแบ่งแยกและฝ่าฟันความยากลำบากกับความดุเดือดของสงครามเพื่อกอบกู้เอกราชและเสรีภาพมาให้แก่ประเทศ  เมื่อสงครามยุติลงในปีค.ศ.๑๙๗๕  สะพานแห่งเอกภาพได้เป็นพยานแห่งการเปลี่ยนแปลงใหม่ของพื้นที่เพื่อการพัฒนาโดยสามารถฝ่าฟันผลเสียจากสงครามและภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงในช่วงเวลาอันยาวนานพอสมควร

สะพานเหี่ยนเลือง-สะพานแห่งความเป็นเอกภาพ - ảnh 3
สถานีตำรวจติดอาวุธเหี่ยนเลือง 

๔๐ รวมประเทศเป็นหนึ่งเดียว ตามสองฝั่งแม่น้ำเบ๊นห่ายยังมีร่องรอยของสถานีตำรวจติดอาวุธเหี่ยนเลืองและปากแม่น้ำเกื่อตุ่งทางฝั่งเหนือ  ส่วนทางฝั่งใต้ยังมีสถานีตำรวจซวนหว่าและก๊าตเซินของทางการสาธารณรัฐเวียดนาม  โบราณสถานทางประวัติศาสตร์สองฝั่งสะพานเหี่ยนเลืองสะท้อนช่วงเวลาหนึ่งที่ปวดร้าวเพราะประเทศถูกแบ่งเป็นสองภาค  งานเทศกาลรวมประเทศเป็นเอกภาพที่จัดขึ้นในบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเบ๊นห่ายเป็นการยืนยันชัยชนะของสงครามต่อต้านสหรัฐอเมริกาอย่างสมบูรณ์ อีกทั้งเป็นงานวันแห่งจิตใจเอกภาพและปรองดองชาติ การสำแดงพลังสามัคคีอันแข็งแกร่งเพื่อสร้างสรรค์ประเทศเวียดนามให้สวยงามและรุ่งเรืองตลอดไป ./.

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด