อนุรักษ์เอกลักษณ์ของประชาชาติผ่านการเรียนการสอนภาษาเวียดนามในชุมชนชาวเวียดนามโพ้นทะเล
(VOVWORLD) -ควบคู่กับการอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชาติ การเรียนการสอนภาษาเวียดนามได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากพรรคและรัฐเวียดนาม ซึ่งได้กลายเป็นแนวทางที่เสมอต้นเสมอปลายและมีข้อกำหนดที่เป็นรูปธรรมต่างๆ รวมทั้ง การจัดวันงานเชิดชูภาษาประจำชาติในชุมชนชาวเวียดนามในต่างประเทศที่ได้เริ่มจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้ ก่อนหน้านั้น การเรียนการสอนภาษาเวียดนาม การสืบทอดคุณค่าวัฒนธรรมของประชาชาติผ่านการเรียนการสอนภาษาเวียดนามได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากชาวเวียดนามโพ้นทะเลรุ่นต่างๆ
นาย เหงวียนยวีเญียน นายกสมาคมชาวเวียดนามที่อาศัยในสาธารณรัฐเช็ก |
ปีนี้เป็นปีแรกที่มีการจัดวันงานเชิดชูภาษาเวียดนาม ซึ่งตรงกับวันที่ 8 กันยายนผ่านกิจกรรมต่างๆทั้งภายในและต่างประเทศ เช่น การจัดตู้หนังสือภาษาเวียดนามให้แก่ชมรมชาวเวียดนามในประเทศออสเตรีย สโลวาเกีย ฮังการีและญี่ปุ่น การค้นหาทูตภาษาเวียดนามในต่างประเทศปี 2023 รายการแสดงศิลปะ “ภาษาเวียดนามที่รัก” การสัมมนาวันเชิดชูภาษาเวียดนามและค่ายฤดูร้อนเวียดนาม เป็นต้น คณะกรรมการแห่งรัฐว่าด้วยชาวเวียดนามที่อาศัยในต่างประเทศได้ประสานงานกับองค์การต่างๆจัดฟอรั่มและการสัมมนาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงใหม่งานด้านการเรียนการสอนภาษาเวียดนาม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากชาวเวียดนามโพ้นทะเลเป็นจำนวนมาก
ชมรมชาวเวียดนามที่อาศัยในประเทศต่างๆให้ความสนใจเป็นอย่างมากต่องานด้านการเรียนการสอนภาษาเวียดนาม ที่สาธารณรัฐเช็ก กิจกรรมการสอนภาษาเวียดนามให้แก่ชาวเวียดนามในต่างประเทศรุ่นที่ 2 และรุ่นที่ 3 ที่เกิดและโตในต่างประเทศได้รับการปฏิบัติในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นาย เหงวียนยวีเญียน นายกสมาคมชาวเวียดนามที่อาศัยในสาธารณรัฐเช็กเผยว่า การอนุรักษ์ภาษาเวียดนามเป็นหน้าที่ที่สำคัญของชมรมชาวเวียดนามเพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมที่ดีงามของประชาชาติเวียดนาม
“ชมรมชาวเวียดนามที่อาศัยในสาธารณรัฐเช็กกำหนดหน้าที่ที่สำคัญคือการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมเวียดนามและภาษาเวียดนามเพราะการอนุรักษ์ภาษาประจำชาติจะช่วยธำรงการพัฒนาชมรมอย่างยั่งยืน ซึ่งพวกเราได้จัดกิจกรรมต่างๆ เช่น ค่ายฤดูร้อนภาษาเวียดนาม การประกวดสุนทรพจน์ภาษาเวียดนาม การจัดเทศกาลตรุษเต๊ต เทศกาลสารทไหว้พระจันทร์เพื่อให้เด็กที่เกิดและโตในสาธารณรัฐเช็กสามารถเข้าถึงภาษาเวียดนาม”
ชั้นเรียนภาษาเวียดนาม |
ส่วนที่ไทย ชมรมชาวเวียดนามประมาณ 2 แสนคนตระหนักได้ดีว่า “ถ้าภาษาเวียดนามยังอยู่ คนเวียดนามก็ยังอยู่” ดังนั้น ชาวเวียดนามโพ้นทะเลรุ่นต่างๆ จึงพยายามอนุรักษ์ภาษาและเอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชาติ ครูฝามวันต๊วน อายุ 103 ปีได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการสอนภาษาเวียดนามให้แก่ชาวเวียดนามที่อาศัยในไทย ว่า
“หลังจากที่ชาวเวียดนามที่อาศัยในประเทศไทยกลับเวียดนามเมื่อปี 1962 คุณลุงคุณป้าได้ให้กำลังใจผมในการสอนภาษาเวียดนามให้แก่เด็กๆ ผมเรียนหนังสือสอนภาษาเวียดนามเองเพื่อสอนให้แก่เด็กๆ พวกเราไม่เคยคิดว่า การสอนภาษาเวียดนามจะได้รับการต่อยอดเหมือนทุกวันนี้ ชาวเวียดนามโพ้นทะเลได้ช่วยเหลือพวกเราเป็นอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่อาศัยและอุปกรณ์การเรียนการสอน”
ถึงแม้ไม่เคยได้รับการฝึกอบรมเพื่อเป็นครู แต่ด้วยความตั้งใจที่ต้องการให้ชาวเวียดนามโพ้นทะเลรุ่นต่างๆยังคงพูดภาษาเวียดนาม ครูอาจารย์หลาย ๆ ท่านอย่างเช่น ครูฝามวันต๊วนจึงพยายามอนุรักษ์ภาษาเวียดนามและส่งเสริมเกียรติประวัติวัฒนธรรมของประชาชาติในต่างประเทศ
ภาษาเวียดนามเป็นสมบัติอันล้ำค่าของประชาชาติเวียดนาม การอนุรักษ์และส่งเสริมภาษาเวียดนามในชุมชนชาวเวียดนามที่อาศัยในต่างประเทศจึงมีความหมายที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะนี่เป็นสะพานเชื่อม มีส่วนร่วมประชาสัมพันธ์ภาษาและวัฒนธรรมของประชาชาติ แสดงให้เห็นถึงความรักปิตุภูมิของชาวเวียดนามโพ้นทะเล จากการมุ่งใจสู่ปิตุภูมิของชาวเวียดนามที่อาศัยในต่างประเทศ ควบคู่กับความสนใจของพรรคและรัฐ กิจกรรมการเรียนการสอนภาษาเวียดนามในต่างประเทศจึงได้รับการขยายผลและมีส่วนร่วมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างชาวเวียดนามโพ้นทะเลรุ่นต่างๆกับปิตุภูมิ มีส่วนช่วยอนุรักษ์ เชิดชูและส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชาติเวียดนามในต่างประเทศ.