ขยายความสัมพันธ์ทวิภาคีและพหุภาคีระหว่างเวียดนามกับยุโรป

(VOVWORLD) -นาย เหงวียนซวนฟุก นายกรัฐมนตรีเวียดนามกำลังเข้าร่วมการประชุมระดับสูงเอเชีย-ยุโรปหรืออาเซมครั้งที่12 ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม การประชุมสุดยอดหุ้นส่วนเพื่อการขยายตัวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเป้าหมายต่างๆของโลกจนถึงปี 2030หรือ P4G เยือนออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์กและปฏิบัติภารกิจที่สหภาพยุโรป  ซึ่งการเยือนนี้ของนายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุกก็เพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนที่สำคัญให้แก่การผลักดันความสัมพันธ์ทวิภาคีในยุโรปและผลักดันกิจกรรมการต่างประเทศพหุภาคีของเวียดนาม

การเยือนและการปฏิบัติภารกิจที่สหภาพยุโรปของนายกรัฐมนตรีเวียดนามมีขึ้นตามคำเชิญของประธานสภายุโรป โดนัลด์ ทัสค์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ฌอง-โคลด ยุงเกอร์ นายกรัฐมนตรีออสเตรีย เซบาสเตียน คูร์ซ นายกรัฐมนตรีเบลเยี่ยม ชาร์ล มิเชลและนายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก ลาร์ส เลิกเกอ รัสมุสเซิน

ผลักดันความร่วมมือพหุภาคี

  การประชุมระดับสูงอาเซมครั้งที่12มีหัวข้อคือ “เอเชียและยุโรป ความสัมพันธ์หุ้นส่วนเพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆในโลก”

ภายหลังกว่า2ทศวรรษที่เข้าร่วมอาเซมนับตั้งแต่ปี1996  เวียดนามได้เป็นประเทศสมาชิกที่แข็งขัน คล่องตัวและมีความรับผิดชอบต่อกระบวนการพัฒนาของอาเซม เวียดนามได้เสนอให้ขยายอาเซมในการประชุมอาเซมครั้งที่5เมื่อปี2004และการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซมครั้งที่9เมื่อปี2009  ร่วมกับประเทศสมาชิกอนุมัติเอกสารต่างๆที่กำหนดแนวทางความร่วมมือภายในอาเซม เช่น แถลงการณ์ฮานอยเกี่ยวกับความสัมพันธ์หุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซมที่ใกล้ชิดมากขึ้น  แถลงการณ์อาเซมเกี่ยวกับการสนทนาระหว่างวัฒนธรรม – อารยธรรม ข้อเสนอเกี่ยวกับการปรับปรุงการดำเนินงานของอาเซมเมื่อปี2004

จนถึงขณะนี้ เวียดนามได้รับการประเมินว่า  เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกที่แข็งขันของฟอรั่ม โดยมีข้อคิดริเริ่ม24ข้อ ร่วมสนับสนุนข้อคิดริเริ่ม27ข้อในด้านต่างๆ เช่น วัฒนธรรม สาธารณสุข การคมนาคมขนส่ง ความมั่นคงด้านพลังงาน การขยายตัวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สวัสดิการสังคม การขยายตัวอย่างรอบด้านและเศรษฐกิจดิจิตอล เป็นต้น เวียดนามก็เป็นหนึ่งในประเทศเดินหน้าในการจัดตั้งและธำรงกลไกความร่วมมือเกี่ยวกับการบริหารแหล่งน้ำในอาเซมคือ การสนทนาอาเซมเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเน้นถึงความร่วมมือระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง-แม่น้ำคานูบ

การประชุมสุดยอดหุ้นส่วนเพื่อการขยายตัวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเป้าหมายต่างๆของโลกจนถึงปี 2030ที่มีขึ้น ณ เมืองโคเปนเฮเกน  ประเทศเดนมาร์กเน้นกำหนดวิสัยทัศน์ แนวทางใหญ่ มาตรการและปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมเพื่อผลักดันการขยายตัวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในโลก

ขยายความร่วมือทวิภาคี

  นอกจากการเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศ2ครั้งแล้ว  นายกรัฐมนตรี เหงวียนซวนฟุกจะเดินทางไปเยือนสาธารณรัฐออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์กและอียูเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่างเวียดนามกับประเทศอียู

โดยความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับออสเตรียนับวันได้รับการพัฒนาในหลายด้าน โดยเฉพาะ การค้าทวิภาคี มูลค่าการค้าต่างตอบแทนระหว่างสองประเทศในปี2017อยู่ที่กว่า4พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ42เมื่อเทียบกับปี2016และออสเตรียกลายเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่อันดับ6ของเวียดนามในยุโรป

ส่วนสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับเบลเยี่ยม ทั้งสองประเทศได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่22มีนาคมปี1973 ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศได้รับการพัฒนา โดยเฉพาะ ในกรอบความร่วมมือในหลายด้านและทุกระดับ สำหรับประเทศเดนมาร์ก ปี2018เป็นปีฉลองครบรอบ5ปีการสถาปนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนในทุกด้านเดนมาร์ก-เวียดนาม  ทั้งสองประเทศได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพในฟอรั่มพหุภาคี โดยเฉพาะ สหประชาชาติ อาเซม อาเซียน-อียู  ในการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เดนมาร์กเป็นนักอุปถัมภ์รายใหญ่ที่สุดให้แก่เวียดนาม โดยให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน มูลค่า 40ล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่โครงการปรับตัวและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ”ที่ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามเมื่อเดือนธันวาคมปี2008 ณ กรุงฮานอย

ในขณะเดียวกัน ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับอียูกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ในปี2017 อียูเป็นหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่อันดับ3รองจากจีนและสหรัฐและเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่อันดับ2ของเวียดนามรองจากสหรัฐ มูลค่าการค้าต่างตอบแทนในปี2017อยู่ที่กว่า5หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ11.9เมื่อเทียบกับปี2016  นอกจากนี้ อียูยังเป็นนักอุปถัมภ์ในรูปให้เปล่ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม

ในสภาวการณ์ดังกล่าว การเยือนยุโปครั้งนี้ของนายกรัฐมนตรีเวียดนามไม่เพียงแต่ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีในยุโรป ผลักดันและยกระดับกิจกรรมการต่างประเทศพหุภาคีของเวียดนามเท่านั้นหากยังส่งเสริมบทบาทที่แข็งขันของเวียดนามในการมีส่วนร่วมสร้างสรรค์และกำหนดกลไกพหุภาคี  ซึ่งมีส่วนร่วมแก้ไขความท้าทายระดับโลกในกรอบองค์การพหุภาคีต่างๆ.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด