ความเปราะบางของข้อตกลงนิวเคลียร์ของอิหร่าน
(VOVWORLD) -ในหลายวันที่ผ่านมา อิสราเอลกล่าวหาอิหร่านว่า แอบพัฒนาโครงการนิวเคลียร์ ซึ่งสร้างความวิตกกังวลในหมู่ประชามติ โดยเฉพาะ ในขณะที่ใกล้ถึงวันที่12พฤษภาคม ซึ่งเป็นกำหนดเส้นตายที่ประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์เรียกร้องให้ปรับปรุงข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านเพราะถ้าไม่ทำการแก้ไข สหรัฐจะถอนตัวจากข้อตกลงฉบับนี้ การเคลื่อนไหวของอิสราเอลในครั้งนี้เหมือนเป็นการราดน้ำมันใส่กองไฟ โดยไม่สนใจความพยายามทางการทูตจากบรรดาผู้นำยุโรปเพื่อธำรงข้อตกลงนิวเคลียร์ครั้งประวัติศาสตร์นี้เอาไว้
เตาปฏิกรณ์น้ำหนัก Arak ในภาคกลางอิหร่าน (Photo: AP/TTXVN)
|
เมื่อวันที่30เมษายนที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮูได้ยืนยันว่า อิสราเอลมีหลักฐานเกี่ยวกับ “แผนการลับ”ที่อิหร่านอาจจะดำเนินการได้ทุกขณะเพื่อผลิตระเบิดปรมณู แต่อิหร่านได้ออกมาตอบโต้ทันทีว่า ไม่มีแผนการผลิตอาวุธนิวเคลียร์
ช่วงเวลาที่อ่อนไหว
เหลืออีกเพียงไม่กี่วันก็จะถึงเส้นตายที่ประธานาธิบดีสหรัฐจะมีการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับข้อตกลงนิวเคลียร์ที่มีชื่อว่าแผนปฏิบัติการร่วมในทุกด้านหรือJCPOA ในขณะที่อิสราเอลได้เลือกช่วงเวลานี้เพื่อเปิดเผยเอกสาร5หมื่น5พันหน้าและ183แผ่นซีดีที่แสดงว่า อิหร่านแอบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ พร้อมระบุว่า หลังจากที่อิหร่านลงนามข้อตกลงนิวเคลียร์ ได้มีการเก็บซ่อนเอกสารเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์เอาไว้ แต่อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู ไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า อิหร่านไม่ปฏิบัติหรือละเมิดข้อตกลงดังกล่าว
หลักฐานส่วนใหญ่ที่อิสราเอลเปิดเผยเมื่อวันที่30เมษายนเกิดขึ้นก่อนการลงนามข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่านเมื่อปี2015 ซึ่งข้อกล่าวหาในลักษณะดังกล่าวจะทำให้สถานการณ์มีความตึงเครียดมากขึ้นเนื่องจากอาจทำให้เกิดการถกเถียงว่า อิหร่านละเมิดข้อตกลงที่ได้ลงนามกับกลุ่มพี5+1หรือไม่และประเทศที่จะได้รับผลประโยชน์มากที่สุดจากการยกเลิกข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างกลุ่มพี5+1กับอิหร่านก็คืออิสราเอล ก่อนหน้านั้น ในกระบวนการเจรจาเกี่ยวกับJCPOA อิสราเอลก็ได้คัดค้านหลายครั้งและเรียกข้อตกลงดังกล่าวว่า เป็นความผิดพลาดครั้งประวัติศาสตร์เพราะคำมั่นต่างๆในJCPOAไม่สามารถลดภัยคุกคามจากประเทศอิหร่านที่อาจมีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองเพราะถ้าหากอิหร่านผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้ก็จะเป็นภัยคุกคามต่ออิสราเอล
นอกจากนี้ ประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ก็เป็นอีกคนที่จะได้รับประโยชน์จากการยกเลิกข้อตกลงฉบับนี้เพราะตัวเขาเคยให้คะมั่นเกี่ยวกับเรื่องนี้ในการหาเสียงเลือกตั้งเมื่อปี2016 ดังนั้น แม้ยังไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงข้อมูลของอิสราเอลแต่ประธานาธิบดี โดนัล ทรัมป์ก็ได้ตำหนิJCPOAอีกครั้ง พร้อมทั้ง เผยว่า จะพิจารณาข้อมูลใหม่ของอิสราเอลก่อนที่จะมีการตัดสินใจเกี่ยวกับการถอนตัวออกจากJCPOA นาย ไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐได้เผยว่า ข้อมูลที่นายกรัฐมนตรีอิสราเอลประกาศมีความถูกต้องและเป็นข้อมูลใหม่ ก่อนหน้านั้น เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสหรัฐได้ขู่ว่า จะไม่ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่านถ้าหากอังกฤษ เยอรมนีและฝรั่งเศสไม่แก้ไขความวิตกังวลของสหรัฐที่เกี่ยวข้องถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับระยะเวลาบังคับใช้ข้อตกลงนี้ โครงการพัฒนาขีปนาวุธของอิหร่านและการที่อิหร่านให้การสนับสนุนกองกำลังในซีเรีย เลบานอนและเยเมน
ยุโรปพยายามกอบกู้ข้อตกลงนิวเคลียร์
ส่วนประเทศยุโรปกำลังพยายามปกป้องข้อตกลงนิวเคลียร์ฉบับนี้ โดยเผยว่า ข้อกล่าวหาของนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮูเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านไม่ได้ทำให้เกิดความสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวของอิหร่าน โดยสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศหรือIAEA เป็นสำนักงานระหว่างประเทศแห่งเดียวที่ทำการตรวจสอบการปฏิบัติคำมั่นด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน ซึ่งรายงาน10ฉบับของIAEAได้แสดงให้เห็นว่า อิหร่านได้ปฏิบัติตามคำมั่นต่างๆอย่างสมบูรณ์
ก่อนหน้านั้น ในระหว่างวันที่24-27เมษายน ทำเนียบขาวได้ให้การต้อนรับประธานาธิบดีฝรั่งเศสและนายกรัฐมนตรีเยอรมนี โดยผู้นำของฝรั่งเศสและเยอรมนีต่างแสดงประสงค์ว่า สหรัฐจะไม่ถอนตัวจาก JCPOA ควบคู่กับการเยือนเป็นเวลาสั้นๆ ผู้นำเยอรมนี ฝรั่งเศสและอังกฤษกำลังพยายามโน้มน้าวให้สหรัฐไม่ถอนตัวจากข้อตกลงดังกล่าวและเตรียมความพร้อมให้แก่การจัดทำกรอบข้อตกลงในขอบเขตที่ใหญ่กว่า รวมทั้งช่วงเวลาหลังจากที่ข้อตกลงนิวเคลียร์ฉบับปี2015หมดอายุ โครงการพัฒนาขีปนาวุธนำวิถีของอิหร่านและการปะทะในภูมิภาคตะวันออกกลาง
ในหลายเดือนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ของสหรัฐและยุโรปได้ประสานงานเพื่อหามาตรการที่ตอบสนองเงื่อนไขของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์เกี่ยวกับการปรับปรุงข้อตกลงด้านนิวเคลียร์กับอิหร่าน แต่อย่างไรก็ตาม ความท้าทายสำคัญก็คือต้องแสวงหามาตรการที่สร้างความพอใจให้แก่ประธานาธิบดีสหรัฐแต่ยังค้ำประกันข้อตกลงJCPOA ส่วนอิหร่านได้ยืนยันอีกครั้งว่า จะไม่ทำการเจรจาใหม่เกี่ยวกับข้อตกลงฉบับปี2015
ข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับกลุ่มพี5+1ที่ได้ลงนามเมื่อปี2015ถูกประเมินว่า เป็นหนึ่งในข้อตกลงการปลอดนิวเคลียร์ฉบับประวัติศาสตร์ที่คลอบคลุมรอบด้าน แต่ปัจจุบัน ข้อตกลงนี้มีความเสี่ยงที่จะถูกทำลายถ้าหากฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องไม่สามารถบรรลุมาตรการที่เหมาะสมได้.