ค้ำประกันสิทธิการพัฒนาวัฒนธรรมของประชาชนชนกลุ่มน้อย

(VOVWORLD) - ถึงแม้ชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆจะมีประชากรไม่มาก แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของประชาชาติเวียดนาม ในการผสมผสามและการปฏิบัติกระบวนการโลกภิวัตน์ พรรคและรัฐเวียดนามได้ดำเนินนโยบายอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมพื้นเมืองควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ค้ำประกันสวัสดิการสังคมและแก้ปัญหาความยากจนให้แก่ประชาชนชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ

ค้ำประกันสิทธิการพัฒนาวัฒนธรรมของประชาชนชนกลุ่มน้อย - ảnh 1 ภาพตลาดนัดเขตเขาในจังหวัดห่ายาง

วันงานแห่งวัฒนธรรมชนเผ่าต่างๆของเวียดนามประจำปี2018 ที่กำลังมีขึ้น ณ หมู่บ้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวชนเผ่าต่างๆของเวียดนามในกรุงฮานอยคือการพิสูจน์ให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆ โดยกิจกรรมดังกล่าวได้เริ่มจัดขึ้นตั้งแต่ปี 2010 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประชาชนชนกลุ่มน้อยได้ยืนยันถึงบทบาทในการอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมที่หลากหลายของชนเผ่าต่างๆ

นโยบายให้ความสำคัญต่อคุณค่าวัฒนธรรมพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ

การให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆที่ประกอบด้วย วรรณกรรม ศิลปะ ภาษาพูด ภาษาเขียน ชุดแต่งกายและงานเทศกาลต่างๆ เป็นต้นได้ถูกระบุในหลักนโยบายการพัฒนาประเทศในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมนิยมที่มีการเสริมเพิ่มเติมเนื้อหาเมื่อปี2011 มติการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคครั้งที่ 5สมัยที่ 13 เกี่ยวกับการสร้างสรรค์วัฒนธรรมเวียดนามที่ก้าวหน้าและมีเอกลักษณ์ของชาติและมติ33 ของการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคสมัยที่ 11 เกี่ยวกับการสร้างสรรค์และพัฒนาวัฒนธรรมและคนเวียดนามเพื่อตอบสนองความต้องการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนปี 2014 

มาตราที่ 42รัฐธรรมนูญปี 2013 ระบุว่า  “พลเมืองมีสิทธิ์รับรู้เกี่ยวกับชนเผ่าของตน การใช้ภาษาแม่และการเลือกภาษเพื่อการสื่อสาร ส่วนก่อนหน้านั้น มาตราที่ของกฎหมายการศึกษาปี 2005ระบุว่า รัฐอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนชนกลุ่มน้อยในการเรียนภาษาพูดกับภาษาเขียนของชนเผ่าตน ซึ่งช่วยค้ำประกันให้ประชาชนชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆมีสิทธิเสรีภาพในการปรับเปลี่ยนสถานะทางสังคม การใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนของชนเผ่า ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ยืนยันถึงสิทธิแห่งความเสมอภาคระหว่างชนเผ่าต่างๆของประชาชาติเวียดนาม

การอนุรักษ์ควบคู่กับการพัฒนาวัฒนธรรมพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ

ปัจจุบัน รัฐบาลได้ปฏิบัติโครงการอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆของเวียดนามจนถึงปี 2020 ในเชิงลึก โดยเน้นพัฒนาวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยที่มีประชากรในระดับต่ำมากและขาดเงื่อนไขเพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมของชนเผ่าตน เพื่อปฏิบัติโครงการดังกล่าว กระทรวงวัฒนธรรม การกีฬาและการท่องเที่ยวได้เสร็จสิ้นการตรวจสอบและให้การสนับสนุนฉุกเฉินในการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยที่มีประชากรต่ำกว่าหนึ่งหมื่นคน โดยเฉพาะ 10ชนเผ่า ได้แก่ ชนเผ่าเบอร์เรา เรอมัม ซีลา ปูแป๊ว โบ๊อี เออดู โลโล หมาง โก๊งและเก่อลาว

ค้ำประกันสิทธิการพัฒนาวัฒนธรรมของประชาชนชนกลุ่มน้อย - ảnh 2 ถาดอาหารของชนเผ่าไทในจังหวัดเดียนเบียน

 การปฏิบัติโครงการดังกล่าว ได้ช่วยฟื้นฟูงานเทศกาล การร้องเพลงและรำพื้นเมือง ชุดแต่งกายและการละเล่นพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆเพื่อแสดงในงานวันวัฒนธรรมในภูมิภาคต่างๆ เช่น งานวันวัฒนธรรมเขตตะวันตกภาคเหนือ เขตตะวันออกภาคเหนือ ภาคกลาง เขตตะวันออกภาคใต้และวันงานแห่งวัฒนธรรมชนเผ่าต่างๆของเวียดนาม ซึ่งสร้างโอกาสให้ชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆได้เชิดชูความภาคภูมิใจในประชาชาติยืนยันถึงคุณค่าวงวัฒนธรรมที่โดดเด่นของชนเผ่าต่างๆและค้ำประกันสิทธิด้านวัฒนธรรม

ควบคู่กับการอำนวยความสะดวกให้แก่การอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ ทางการทุกระดับได้มีกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมเพื่อปรับปรุงและยกระดับคุณภาพชีวิตทางจิตใจให้แก่ประชาชนชนกลุ่มน้อย จนถึงปัจจุบัน ครอบครัวชนกลุ่มน้อยกว่าร้อยละ 90 ฟังวิทยุและกว่าร้อยละ 80 รับชมรายการโทรทัศน์ มีการออกอากาศรายการวิทยุและโทรทัศน์เป็นภาษาเวียดและภาษาชนกลุ่มน้อย 26 ภาษาที่ครอบคลุมในหมู่บ้านของประชาชนชนกลุ่มน้อย

ส่วนการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อยกระดับความรู้ให้แก่เขตที่มีประชาชนชนกลุ่มน้อยอาศัยเป็นจำนวนมากก็ได้รับการผลักดันและประสบผลที่น่ายินดี โดยมีการลงทุนก่อสร้างวิทยาลัย ศูนย์ฝึกสอนอาชีพ รวมทั้งโรงเรียนต่างๆสำหรับนักเรียนชนกลุ่มน้อย ตั้งแต่ปี 2012 ตำบลทุกแห่งได้เสร็จสิ้นการปฏิบัติการศึกษาภาคบังคับระดับประถมศึกษา มีตำบลหลายแห่งได้เสร็จสิ้นการปฏิบัติในระดับมัธยมศึกษาและเด็กชนกลุ่มน้อยร้อยละ 95 ได้ไปโรงเรียน

นอกเหนือจากการอนุรักษ์คุณค่าเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ รัฐเวียดนามยังให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อการอนุรักษ์ภาษาพูดและภาษาเขียนของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ ตั้งแต่ปี 2008 กระทรวงศึกษาและฝึกอบรมเวียดนามได้ร่วมมือกับกองทุนสำหรับเด็กแห่งสหประชาชาติหรือUNICEF ปฏิบัติโครงการสอนหนังสือเป็นทั้งภาษาเวียดและภาษาชนกลุ่มน้อยในจังหวัดลาวกาย จ่าวิงและยาลายเป็นการนำร่องเพื่อมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาการเลิกเรียนกลางคัน

ความสำเร็จในการค้ำประกันสิทธิการพัฒนาวัฒนธรรมของประชาชนชนกลุ่มน้อยคือการพิสูจน์ให้เห็นถึงการค้ำประกันและการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิ์ของประชาชนชนกลุ่มน้อยในเวียดนาม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด