จีนไม่อาจเรียกร้องอธิปไตยตามอำเภอใจได้

( VOVworld ) - ความเรียกร้องเกี่ยวกับเส้นประ ๙ เส้นในทะเลตะวันออกที่จีนเขียนเองไม่เพียงแต่ถูกคัดค้านจากวงการนักวิชาการและนักวิจัยชาวเวียดนามและชาวต่างประเทศเท่านั้น หากยังในวงการนักวิชาการชาวจีนอีกด้วย  โดยเมื่อเร็วๆนี้ นักวิชาการชาวจีนที่ใช้นามปากกา หลีอัวเถิง ( Li Wo Teng ) ได้โพสต์บทความที่พาดหัวว่า “ คงไว้หรือลบเส้นประ๙เส้น ” ลงในเว็บไซต์ซีนา ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงของจีน 

( VOVworld ) - ความเรียกร้องเกี่ยวกับเส้นประ ๙ เส้นในทะเลตะวันออกที่จีนเขียนเองไม่เพียงแต่ถูกคัดค้านจากวงการนักวิชาการและนักวิจัยชาวเวียดนามและชาวต่างประเทศเท่านั้น หากยังในวงการนักวิชาการชาวจีนอีกด้วย  โดยเมื่อเร็วๆนี้ นักวิชาการชาวจีนที่ใช้นามปากกา หลีอัวเถิง ( Li Wo Teng ) ได้โพสต์บทความที่พาดหัวว่า “ คงไว้หรือลบเส้นประ๙เส้น ” ลงในเว็บไซต์ซีนา ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงของจีน 

บทความชี้ให้เห็นว่า วงการนักวิชาการนานาชาติต่างมีความคิดเห็นเดียวกันว่า จุดที่ถือเป็นปัญหาความซับซ้อนของทะเลตะวันออกอยู่ตรงที่ปัญหาเส้นประ ๙ เส้น หากไม่ใช่ปัญหาอธิปไตยเหนือเกาะต่างๆในพื้นที่ทะเลแห่งนี้  ซึ่งตรงนี้เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขเป็นอันดับแรกให้แก่การแก้ไขปัญหาทะเลตะวันออกอย่างสันติ  ผู้เขียนหลีอัวเถิงวิเคราะห์ว่า ประเทศต่างๆริมทะเลตะวันออกล้วนมีหลักฐานและเหตุผลเกี่ยวกับอธิปไตยของตนเหนือเกาะเหล่านี้ แต่มีเพียงข้อเรียกร้องเกี่ยวกับเส้นประ ๙ เส้นของจีนเท่านั้นที่ยังไม่มีหลักฐานใดๆ  จีนเคยกล่าวถึงเส้นประ ๙ เส้นมาหลายต่อหลายครั้งแต่เส้นประ ๙ เส้นนี้คืออะไร จีนเองก็ยังมีความคลุมเครืออยู่ โดยรัฐบาลจีนยังไม่มีเอกสารต้นฉบับใดๆที่ประกาศหรือนิยามเกี่ยวกับเส้นประ ๙ เส้นอย่างชัดเจน และในทางเป็นจริง จีนแก้เส้นประ ๙ เส้นบนแผนที่ของตนมาโดยตลอดตามความต้องการของตนเอง ทั้งนี้้แสดงให้เห็นว่า เส้นประ ๙ เส้นไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

นี่มิใช่ครั้งแรกที่วงการนักวิชาการจีนคัดค้านอันที่เรียกว่า “ เส้นประ ๙ เส้น ” ซึ่งการวิเคราะห์ที่มีเหตุมีผลของนักวิชาการหลีอัวเถิงตรงกับความคัดค้านในลักษณะเช่นนี้มาแล้ว  โดยบทความที่พาดหัวว่า “ ความเพ้อฝันเกี่ยวกับสงครามที่ผิดพลาด ” ที่ลงในหนังสือพิมพ์ ซื่อเจี้ยสิ้นเหวินป้าวของจีนฉบับเมื่อเร็วๆนี้ได้คัดค้านข้อเรียกร้องเกี่ยวกับเส้นประ ๙ เส้นของจีนอย่างเปิดเผย อีกทั้งเตือนว่า พวกที่สนับสนุนสงครามกลับมีฐานะเสียเปรียบ ศักดิ์ศรีแห่งความโกหกและเปราะบางจะไม่สามารถนำความสำเร็จมาได้และจิตใจกระหายสงครามที่ไม่มีเหตุผลจะนำไปสู่ความผิดพลาดเท่านั้น   ส่วนนาย เซวหลีไต้นักวิชาการและนักวิเคราะห์ที่มีชื่อเสียงของหนังสือออนไลน์เฟิ่งขวางของฮ่องกงประเทศจีนก็ได้ชี้ให้เห็นถึงความผิด ๕ ประการของเส้นประ ๙ เส้น โดย ๑ คือ เรื่มแรกจีนเขียนเส้นประ ๑๑ เส้นบนแผนที่โดยไม่มีการกำหนดเส้นแบ่งพรมแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้านและไม่ได้มีการกระทำใดๆเพื่อที่จะได้รับการรับรองจากนานาประเทศ ๒ คือปัจจุบันจีนยังไม่ได้ระบุชัดว่า เส้นประ ๙ เส้นเป็นแนวชายแดนแห่งชาติหรือเป็นเส้นแบ่งพื้นที่ทางทะเลทางประวัติศาสตร์  ปักกิ่งยังไม่ได้ระบุชัดถึงคำนิยามเกี่ยวกับเส้นประ ๙ เส้น ตลอดจนยังไม่ระบุชัดถึงลองติจุดและละติจุดบนตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ หากเขียนเส้นประเหล่านี้บนแผนที่ของพวกเขาเองจึงไม่สมเหตุสมผลที่จะได้รับการสนับสนุนจากคนอื่นๆ  นักวิชาการผู้นี้ยังวิเคราะห์ว่า หากปักกิ่งยืนยันว่า เส้นประ ๙ เส้นเป็นแนวชายแดนแห่งชาติแต่ทำไมนับตั้งแต่เวียดนามรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียว เวียดนามได้ยืนยันอธิปไตยของตนเหนือเกาะน้อยใหญ่นับสิบแห่งแต่จีนกลับไม่หยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาหารือในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการทูตระหว่างสองประเทศแม้แต่ครั้งเดียว  ซึ่งความคิดเห็นดังกล่าวก็ได้รับการสนับสนุนจากนายหลีลิ่งขวา ( Li Ling Hua ) นักศึกษาวิจัยอาวุโสเกี่ยวกับทะเลและกฎหมายทางทะเล โดยชี้ชัดว่า จีนไม่อาจหลีกเลี่ยงคำถามจากนานาประเทศว่า เส้นประ ๙ เส้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และมีทางเดียวคือเคารพกฎหมายสากลเกี่ยวกับทะเลตะวันออก  นายหลีลิ่งขวายังสนับสนุนบทความ“ คงไว้หรือลบเส้นประ๙เส้น ” ของนายหลีอัวเถิง โดยได้เรียกร้องอีกครั้งว่า รัฐบาลจีนควรพิจารณาข้อเสนอของนายหลีอัวเถิงอย่างจริงจังเพื่อลบเส้นประ ๙ เส้นที่ไร้เหตุผลเพื่อเปิดทางให้แก่การแก้ไขปัญหาทะเลตะวันออกจนถึงรากเหง้า

เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ความไม่ชัดเจนและการมิชอบด้วยกฎหมายของข้อเรียกร้องอธิปไตยตามเส้นประ ๙ เส้นในทะเลตะวันออกของจีนไม่สมเหตุสมผลและไม่สามารถโน้มน้าวผู้ที่มีความรู้ลึกเกี่ยวกับต้นเหตุของปัญหา  จากการถือทะเลตะวันออกเสมือน “ อ่าวแห่งประวัติศาสตร์ ”ของตน จีนอยากให้ประชาคมระหว่างประเทศเห็นด้วยว่า เส้นประ ๙ เส้นเป็นแนวชายแดนทางทะเลของชาติ  แต่ความจริงต้องได้รับความเคารพเพราะในยุคโลกาภิวัตน์ปัจจุบันจะไม่มีใครเชื่อในหลักฐานที่คลุมเครือทั้งด้านประวัติศาสตร์ นิตินัยและทางวิชาการได้ ./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด