นักวิชาการระหว่างประเทศยืนยัน จีนละเมิดอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเล

(VOVWORLD) - ปี 2019 ครบรอบ 25 ปีที่อนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 หรือ UNCLOS มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น “รัฐธรรมนูญ”เกี่ยวกับมหาสมุทรโลก แม้จะให้สัตยาบันอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลเมื่อปี 1996 แต่จีนก็ไม่ปฏิบัติตามและมีปฏิบัติการที่ละเมิด โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวล่าสุดของจีนในทะเลตะวันออกได้ถูกนักวิชาการระหว่างประเทศประณามอย่างรุนแรง

นักวิชาการระหว่างประเทศยืนยัน จีนละเมิดอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเล - ảnh 1นาย Carl Thayer ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์จากสถาบันกลาโหมออสเตรเลีย (VNA) 

นักวิชาการหลายคนได้เผยว่า ปฏิบัติการต่างๆของจีนในเขตทะเลที่ไม่ได้อยู่ในอธิปไตยของจีนในทะเลตะวันออกได้ละเมิดอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982

การละเมิดกฎหมายสากล

นาย Carl Thayer ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์จากสถาบันกลาโหมออสเตรเลียให้ข้อสังเกตว่า ปฏิบัติการของจีนในเวลาที่ผ่านมาเป็นการจงใจละเมิดกฎหมายสากล หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ ปักกิ่งได้ประกาศอธิปไตยเหนือเกาะและแนวปะการังในทะเลตะวันออก โดยไม่มีข้อกฎหมายรองรับและเพิกเฉยต่อคำวินิจฉัยของศาลระหว่างประเทศและอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 พร้อมทั้งเผยว่า ปฏิบัติการของจีนในเวลาที่ผ่านมามีจุดมุ่งหมาย 2 ประการคือสร้างอำนาจเพื่อครอบคลุมทะเลตะวันออกผ่านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่างๆ เช่น น้ำมันและปิโตรเลียมในเขตที่เรียกว่าเส้นประ 9 เส้น โดยได้ขัดขวางกิจกรรมขุดเจาะน้ำมันของประเทศริมฝั่งทะเลและกดดันให้ประเทศเหล่านี้ต้องเข้าเข้าร่วมกิจกรรมขุดเจาะน้ำมันกับจีน เป้าหมายอันดับ 2 ของจีนคือขัดขวางการเข้าร่วมของประเทศมหาอำนาจในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในทะเลตะวันออก ซึ่งแสดงให้เห็นจากการที่จีนเสนอให้ทำกิจกรรมร่วมมือทางทะเลกับจีนและประเทศริมฝั่งทะเล โดยไม่ร่วมมือกับบริษัทหรือหุ้นส่วนจากประเทศนอกภูมิภาค

นักวิชาการระหว่างประเทศยืนยัน จีนละเมิดอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเล - ảnh 2ส.ส. Eliot L.Engel ประธานคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์ของสภาล่างสหรัฐ (chinhphu.vn)

ในขณะเดียวกัน ส.ส. Eliot L.Engel ประธานคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์ของสภาล่างสหรัฐได้ออกประกาศย้ำว่า ปฏิบัติการที่ก้าวร้าวของจีนในทะเลตะวันออกเมื่อเร็วๆนี้เป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงการดูหมิ่นกฎหมายและกลไกทางการทูตระหว่างประเทศ ส่วนนาย Anthony Nelson ผู้อำนวยการดูแลปัญหาเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกสังกัดเครือบริษัท Albright Stonebridge ได้กล่าวว่า การที่จีนทำการสำรวจเขตทะเลที่ไม่ได้อยู่ในอธิปไตยของจีนในทะเลตะวันออกได้ละเมิดอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982“นี่คือการละเมิดอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลและคำพิพากษาของศาลอนุญาโตตุลาการในกรณีฟิลิปปินส์ฟ้องร้องจีนเมื่อปี 2016 เพื่อมุ่งหวังประกาศอธิปไตยเหนือทรัพยากรในภูมิภาคและขัดขวางประเทศต่างๆในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดังกล่าว”

ส่วนศาสตราจารย์ Stein Tonnesson จากสถาบันวิจัยสันติภาพออสโล ประเทศนอร์เวย์ได้เผยว่า“ตามกฎหมายทางทะเล จีนไม่มีสิทธิ์ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของประเทศอื่น แต่จีนกำลังหาทางผลักดันแผนปฏิบัติอันที่เรียกว่าเส้นประ 9 เส้นเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโดยไม่สนใจต่อกฎหมายสากล และในครั้งนี้ จีนไม่ได้ขุดเจาะน้ำมัน หากทำการสำรวจเขตทะเลต่างๆในทะเลตะวันออก พร้อมทั้งขัดขวางประเทศอื่นๆทำการสำรวจเขตทะเลในไหล่ทวีปของประเทศตน”

นักวิชาการระหว่างประเทศยืนยัน จีนละเมิดอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเล - ảnh 3ศาสตราจารย์ Stein Tonnesson จากสถาบันวิจัยสันติภาพออสโล ประเทศนอร์เวย์ 

ส่วนนาย Collin Koh นักวิชาการจากประเทศสิงคโปร์ได้แสดงความเชื่อมั่นว่า ถ้าหากจีนเพิ่มปฏิบัติการที่ทำให้สถานการณ์ในทะเลตะวันออกตึงเครียดมากขึ้นก็จะส่งผลกระทบในทางลบต่อภาพลักษณ์ของจีนเกี่ยวกับการเป็นประเทศที่มีความรับผิดชอบที่พวกเขากำลังพยายามสร้างสรรค์

การละเมิดคำมั่นกับประเทศต่างๆในภูมิภาค

นอกจากไม่ปฏิบัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 ปฏิบัติการของจีนในทะเลตะวันออกเมื่อเร็วๆนี้ ยังละเมิดคำมั่นที่ให้ไว้กับประเทศสมาชิกอาเซียนที่ถูกระบุในแถลงการณ์ว่าด้วยการปฏิบัติของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือดีโอซีที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้ลงนามในการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 8 ณ ประเทศกัมพูชาเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายนปี 2002 โดยจีนได้ให้คำมั่นว่า จะร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนส่งเสริมบรรยากาศแห่งสันติภาพ มิตรภาพและการไกล่เกลี่ยในทะเลตะวันออก ไม่ใช้ หรือ ข่มขู่ที่จะใช้กำลัง มีปฏิบัติการที่สอดคล้องกับกฎหมายสากล รวมถึงอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982

ในชีวิตที่มีอารยธรรมในปัจจุบัน ระบบกฎหมายสากลถือเป็นบรรทัดฐานของความเป็นธรรมเพื่อปกป้องความยุติธรรมและความเป็นระเบียบที่ประชาคมระหว่างประเทศต้องร่วมกันปกป้องและปฏิบัติตาม ถ้าหากมีประเทศใดไม่ปฏิบัติตามกฎหมายสากลและใช้กำลังทหารเพื่อขัดขวางอธิปไตย สิทธิอธิปไตยและสิทธิอำนาจศาลของประเทศอื่น ก็จะทำให้ระบบกฎหมายสากลและกฎหมายทางทะเลระหว่างประเทศอ่อนแอลงและส่งผลกระทบในทางลบต่อภาพลักษณ์ของประเทศนั่นเอง.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด