ปฏิบัติแนวทางรัฐบาลเดินพร้อมกับเศรษฐกิจภาคเอกชนตามมติของการประชุมครั้งที่5คณะกรรมการกลางพรรค
Vu Dung - Hong Van - VOV -  
(VOVWORLD) -ในฟอรั่มเศรษฐกิจภาคเอกชนปี 2017 วันที่ 31 กรกฎาคม นายกรัฐมนตรีเหงียนซวนฟุ๊กได้สนทนาและตอบคำถามของผู้ประกอบการเกี่ยวกับการแก้ไขอุปสรรคช่วยให้เศรษฐกิจภาคเอกชนพัฒนาตามเจตนารมณ์ของมติที่ 10 การประชุมคณะกรรมการกลางพรรคครั้งที่ 5 สมัยที่ 12 ปี 2017 พร้อมทั้งเสนอมาตรการแก้ไขและชี้นำให้กระทรวง หน่วยงานและท้องถิ่นปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
นายกรัฐมนตรีเหงียนซวนฟุ๊กเข้าร่วมฟอรั่มเศรษฐกิจภาคเอกชนปี 2017 (Photo VNplus) |
มติของการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคครั้งที่ 5 สมัยที่ 12 ได้ระบุการพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยม โดยต้องพัฒนาอย่างโปร่งใส มีประสิทธิภาพและยั่งยืน เน้นยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจ มีส่วนร่วมในจีดีพีมากขึ้นเพื่อให้บรรลุร้อยละ 50 ภายในปี 2020 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 55 ภายในปี 2025 และร้อยละ 60-65 ภายในปี 2030
บทบาทที่นับวันยิ่งสำคัญมากขึ้นของภาคเอกชน
ในตลอด 30 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงใหม่ประเทศ หนึ่งในผลสำเร็จที่สำคัญของเวียดนามคือการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนภายในประเทศ โดยได้ประกาศกลไก นโยบายที่อำนวยความสะดวกและสนับสนุนภาคเอกชน ซึ่งช่วยกระตุ้นจิตใจแห่งการประกอบธุรกิจของคนเวียดนามและสถานประกอบการเวียดนาม ถึงขณะนี้สามารถยืนยันได้ว่า เศรษฐกิจภาคเอกชนนับวันยิ่งมีส่วนร่วมมากขึ้นต่อการพัฒนาของประเทศ ทั้งการเพิ่มรายได้ของประเทศ การสร้างงานทำและการแก้ปัญหาสังคม โดยเฉพาะในหลายปีมานี้ เศรษฐกิจภาคเอกชนได้มีส่วนร่วมในจีดีพีมากที่สุดโดยตั้งแต่ปี 2010 เฉลี่ยอยู่ที่กว่าร้อยละ 43 ส่วนเศรษฐกิจภาครัฐอยู่ที่ร้อยละ 28.9 และเศรษฐกิจที่ใช้เงินทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือเอฟดีไออยู่ที่ร้อยละ 18 ในขณะเดียวกันจำนวนสถานประกอบการภาคเอกชนก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในปี 2016 มีสถานประกอบการเกิดใหม่ 110.000 แห่ง
ในเวียดนาม ยังมีการจัดตั้งกลุ่มเศรษฐกิจภาคเอกชนและเครือสถานประกอบการขนาดใหญ่ที่ประกอบธุรกิจในด้านเงินทุนและเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น บริษัทวีนามิลก์ บริษัทหุ้นส่วนรถยนต์เจื่องหาย เครือบริษัทมาสซาน เครือบริษัทหว่าฟ๊าด บริษัทหุ้นส่วนเอฟพีทีและบริษัทหุ้นส่วน “เท้เย้อยีด่ง” เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่า มติที่ 10 ของการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคครั้งที่ 5 สมัยที่ 12 ได้ยกระดับบทบาทและสถานะของเศรษฐกิจภาคเอกชนในระบบเศรษฐกิจ พร้อมทั้งเป็นกุญแจแห่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเวียดนาม
ปฏิบัติการของรัฐบาล
เพื่อบรรลุเป้าหมาย พัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนให้เป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องพยายามมากขึ้นในการปฏิบัติ โดยรัฐบาลให้คำมั่นว่า จะปรับปรุงบรรยากาศการประกอบธุรกิจตามแนวทางมีความเสมอภาค โปร่งใส ปลอดภัยและเป็นมิตรเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่สถานประกอบการ โดยเฉพาะสถานประกอบการภาคเอกชน สถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งสถานประกอบการสตาร์ทอัพ เมื่อปี 2016 รัฐบาลได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการลงทุนต่างๆ โดยมีการพบปะหารือและสนทนาในหลายด้านกับสถานประกอบการ พร้อมทั้งปฏิรูปและประกาศนโยบายต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ยังคั่งค้างอยู่ในบรรยากาศการลงทุนและประกอบธุรกิจ
ฟอรั่มเศรษฐกิจภาคเอกชนปี 2017 (Photo VNplus) |
นายกรัฐมนตรีเหงียนซวนฟุ๊กกำชับว่า ในเวลาข้างหน้า รัฐบาลจะลดค่าธรรมเนียมต่างๆให้แก่สถานประกอบการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการลงทุนมากขึ้นและยืนยันว่า มติของการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคครั้งที่ 5 จะช่วยยกเลิกกำแพงต่างๆเพื่อให้เศรษฐกิจภาคเอกชนพัฒนาถูกทิศทาง ดังนั้นถ้าส่วนงานไหนที่ภาคเอกชนจะทำได้ดีรัฐจะอำนวยความสะดวก “จากการปฏิบัติมติดังกล่าว เวียดนามได้เปิดโอกาสให้เศรษฐกิจภาคเอกชนลงทุนในด้านที่สำคัญๆที่เวียดนามยังขาดเงินทุนและกำลังดึงดูดการลงทุน เช่น โรงพยาบาล โรงเรียนและโรงไฟฟ้า เป็นต้น หวังว่า สถานประกอบการจะขานรับอย่างเต็มที่เพื่อให้เศรษฐกิจภาคเอกชนของเวียดนามมีส่วนร่วมต่อจีดีพีได้อย่างน้อยร้อยละ 50 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 60 ในอนาคต”
นายกรัฐมนตรียังกำชับให้กระทรวงและหน่วยงานส่วนกลางที่เกี่ยวข้องรับฟังและสนทนากับสถานประกอบการภาคเอกชนผ่านเวทีต่างๆเป็นประจำเพื่อแก้ไขอุปสรรคที่เร่งด่วนและแก้ปัญหาระยะยาวตามขั้นตอนต่างๆ ส่วนท้องถิ่นต้องยุติโครงการ เวนคืนที่ดิน เรียกคืนทรัพยากรและยุติกลไกนโยบายที่ขาดประสิทธิภาพเพื่อมอบโอกาสให้แก่นักลงทุนรายใหม่ที่มีศักยภาพและให้คำมั่นที่จะลงทุนระยะยาว
ควบคู่กับความพยายามของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีเหงียนซวนฟุ๊กยังแสดงความปรารถนาว่า เศรษฐกิจภาคเอกชนก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงใหม่และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน “สถานประกอบการต้องมีวิสัยทัศน์ระยะยาวเกี่ยวกับตลาดโลกเพื่อพยายามผลิตและประกอบธุรกิจในด้านที่ตลาดโลกยังมีความต้องการสูงและต่อเนื่อง เช่น การเกษตร อาหาร สินค้าบริโภคและการท่องเที่ยว เป็นต้น นอกจากนี้ต้องกล้าร่วมมือในด้านต่างๆกับต่างชาติ เช่น การค้าขาย การถ่ายทอดเทคโนโลยี ความร่วมมือในการผลิตและการส่งออก เป็นต้น”
ทัศนะที่สมบูรณ์ของพรรคและรัฐเวียดนามได้ยืนยันว่า เศรษฐกิจภาคเอกชนเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ การที่รัฐบาลมีปฏิบัติการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่ออำนวยความสะดวกให้เศรษฐกิจภาคเอกชนพัฒนาอย่างถูกทิศทางไม่เพียงแต่เป็นการปฏิบัติทัศนะดังกล่าวเท่านั้น หากยังตรงกับความปรารถนาของสถานประกอบการส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมฟอรั่มเศรษฐกิจภาคเอกชนปี 2017.
Vu Dung - Hong Van - VOV