ประเทศยุโรปมีความเห็นแตกต่างกันในการกอบกู้เศรษฐกิจ

(VOVWORLD) - หลังจากเจรจามาเป็นเวลา 4 วัน การประชุมผู้นำสหภาพยุโรปครั้งแรก ณ กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยียมหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดยุติลง ซึ่งการบรรลุนี้ต้องใช้เวลามากกว่าแผนการที่วางไว้เพราะเกิดความขัดแย้งต่างๆและสิ่งที่ประชามติเห็นชัดเจนที่สุดคือความแตกแยกของยุโรปในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของกลุ่ม
ประเทศยุโรปมีความเห็นแตกต่างกันในการกอบกู้เศรษฐกิจ - ảnh 1บรรดาผู้นำยุโรปพบปะโดยตรงครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (Reuters)

กองทุนฟื้นฟู มูลค่า 7 แสน 5 หมื่นล้านยูโรที่มาจากวงเงินกู้จากอียูเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจยุโรปที่ได้รับความเสียหายจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้รับการคาดหวังว่า จะช่วยให้ยุโรปฟันฝ่าระยะวิกฤตที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ได้เกิดความเห็นที่แตกต่างในสองประเด็นหลัก 1 คืออัตราเงินช่วยเหลือให้เปล่าและเงินกู้ในวงเงิน7 แสน 5 หมื่นล้านยูโร ประเด็นที่ 2 คือเงื่อนไขในการจัดสรรวงเงินหนี้ ซึ่งประกอบด้วยข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิรูป การให้ความเคารพหลักการนิติรัฐและคำมั่นต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ความสำคัญของการกอบกู้

วงเงินฟื้นฟูเศรษฐกิจถูกเสนอในสภาวการณ์ที่ประเทศสมาชิกต่างได้รับความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างหนักเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตามการคาดการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์การขยายตัวด้านเศรษฐกิจในฤดูร้อนที่คณะกรรมาธิการยุโรปหรืออีซีประกาศเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคมปรากฎว่า การขยายตัวจีดีพีของอิตาลีจะลดลงร้อยละ 11.2 ในปี 2020 รองลงมาคือสเปนที่ลดลงร้อยละ 10.9 และฝรั่งเศสลดลงร้อยละ 10.6 ซึ่งคิดเฉลี่ยแล้วการขยายตัวในเขตยูโรโซนจะลดลงร้อยละ 8.7 ในปี 2020

ทั้งนี้ ตามความเห็นของบรรดาผู้สังเกตการณ์ วงเงินฟื้นฟูเศรษฐกิจ มูลค่า 7 แสน 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐมีความหมายสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่ออนาคตของเศรษฐกิจยุโรป ถ้าหากไม่อนุมัติวงเงินฟื้นฟูเศรษฐกิจนี้โดยเร็ว เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอียูจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงล้มละลาย กลุ่มบริษัทและสถานประกอบการสำคัญของยุโรปที่มีความสำคัญในระดับยุทธศาสตร์มีความเสี่ยงที่จะถูกควบรวม แรงงานที่มีทักษะฝีมือดีอาจตกงานหรือถูกชักชวนให้ไปทำงานกับบริษัทต่างชาติ นาย เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้ยืนยันก่อนการประชุมผู้นำยุโรปว่า ช่วงเวลาที่จะมาถึงจะมีการตัดสินใจอย่างสมบูรณ์สำหรับอนาคตของสหภาพยุโรป

ประเทศยุโรปมีความเห็นแตกต่างกันในการกอบกู้เศรษฐกิจ - ảnh 2การประชุมผู้นำยุโรป 

ความขัดแย้งที่ชัดเจน

ตามแผนการจัดสรรงบฟื้นฟูเศรษฐกิจให้แก่ประเทศที่ได้รับผบกระทบหนักที่สุดจากโควิด-19 อิตาลีจะได้รับเงินสนับสนุน 8 หมื่น 1 พันล้านยูโร สเปนได้ 7 หมื่น 7 พันล้านยูโร ฝรั่งเศสได้รับ 3 หมื่น 9 พันล้านยูโร โปแลนด์รับเงินสนับสนุน 3 หมื่น 8 พันล้านยูโรและกรีซจะได้รับเงินสนับสนุน 3 หมื่น 2 พันล้านยูโร เป็นต้น แต่ก็ตรงกับการพยากรณ์ แผนการนี้ถูกคัดค้านจากประเทศสมาชิกที่ยึดแนวทางประหยัดอย่างเนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย สวีเดนและเดนมาร์ก โดย 4 ประเทศดังกล่าวได้แสดงความเห็นว่า แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจจะเป็นประโยชน์ต่ออิตาลีและสเปนมากที่สุด เพราะแม้จะเป็น 2 ประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดแต่ก็เป็น 2 ประเทศที่ไม่มีความรัดกุมด้านงบประมาณแผ่นดิน ดังนั้น เงื่อนไขที่ประเทศเหล่านี้เสนอคือธำรงเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องถึงการจัดสรรวงเงินดังกล่าวและปรับปรุงอัตราส่วนระหว่างเงินอุดหนุนและเงินกู้จ่ายดอกเบี้ย

ความแข็งกร้าวของกลุ่มประเทศคัดค้านแผนการนี้ได้ทวีความตึงเครียดระหว่างประเทศสมาชิกอียู โดยนายกรัฐมนตรีฮังการี วิกตอร์ ออร์บานได้ตำหนินายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์ มาร์ค รุตต์ ว่า ได้จงใจประณามฮังการีเกี่ยวกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องถึงรัฐที่ปกครองด้วยอำนาจกฎหมาย และแสดงความเห็นว่า ความขัดแย้งหลักในปัจจุบันระหว่างเนเธอร์แลนด์ อิตาลีและฮังการีที่สนับสนุนทัศนะของอิตาลีคือต้องช่วยเหลือประเทศและเขตที่ได้รับความเสียหายจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้เร็วที่สุด ส่วนในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน นายกรัฐมนตรีอิตาลี จูเซปเป คอนเตได้ยอมรับว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นซับซ้อนมากกว่าที่คาดการณ์ ส่วนนายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล ได้ยืนยันว่า มีความแตกต่างกันมากระหว่างทุกฝ่าย ในขณะที่ประธานสภายุโรป ชาร์ลส์ มิเชลได้เรียกร้องให้บรรดาผู้นำอย่าเปิดเผยจุดที่อ่อนแอของกลุ่ม

เพื่อป้องกันและรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เมื่อเดือนมีนาคมปี 2020 สหภาพยุโรปได้เห็นพ้องห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่ใช่พลเมืองของกลุ่มเข้าประเทศเป็นเวลา 30 วัน จัดตั้ง “เส้นทางแห่งสีเขียว” เพื่อค้ำประกันการขนส่งสินค้าและอุปกรณ์การแพทย์ และขณะนี้ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ  อียูได้อนุมัติวงเงินช่วยเหลือสำคัญ แต่ความสามัคคีภายในกลุ่มซึ่งเป็นพื้นฐานเพื่อจัดตั้งสหภาพยุโรปกลับได้รับผลกระทบไม่น้อย./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด