ผลกระทบจากการถอนตัวออกจากข้อตกลงทีพีพีของสหรัฐ
Huyền -  
(VOVworld) - เมื่อวันที่ 23 มกราคม นาย โดนัล ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐได้ลงนามในกฤษฎีกาเกี่ยวกับการถอนตัวออกจากข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกหรือทีพีพีเมื่อปี 2016 ซึ่งทำให้ข้อตกลงการค้าเสรีฉบับใหม่นี้มีความเสี่ยงที่ประสบความล้มเหลว
(VOVworld) - เมื่อวันที่ 23 มกราคม นาย โดนัล ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐได้ลงนามในกฤษฎีกาเกี่ยวกับการถอนตัวออกจากข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกหรือทีพีพีเมื่อปี 2016 ซึ่งทำให้ข้อตกลงการค้าเสรีฉบับใหม่นี้มีความเสี่ยงที่ประสบความล้มเหลว
นาย โดนัล ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐได้ลงนามในกฤษฎีกาเกี่ยวกับการถอนตัวออกจากข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกหรือทีพีพี (Photo:AF)
|
การเจรจาข้อตกลงทีพีพีได้ดำเนินในตลอด 10ปีที่ผ่านมาและได้รับความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์จาก 12 ประเทศสมาชิกอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2016 ข้อตกลงทีพีพีถือเป็นเข็มทิศนำทางให้แก่การแลกเปลี่ยนการค้าในโลกและจะมีผลบังคับใช้เมื่อได้รับการอนุมัติอย่างน้อยจากรัฐสภาของ 6 ประเทศสมาชิกที่รวมจีดีพีคิดเป็นร้อยละ 86 ของยอดจีดีพีของ 12 ประเทศสมาชิก ซึ่งจีดีพีของเฉพาะสหรัฐคิดก็เป็นกว่าร้อยละ 60 ในยอดจีดีพีดังกล่าว
เหตุผลที่ทำให้สหรัฐถอนตัวออกจากข้อตกลงทีพีพี
12 ประเทศสมาชิกข้อตกลงทีพีพีประกอบด้วย ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ สหรัฐและเวียดนาม โดยประเทศเหล่านี้ได้บรรลุข้อตกลงทีพีพีเมื่อเดือนตุลาคมปี 2015 และกำลังรอรัฐสภาประเทศสมาชิกอนุมัติข้อตกลงทีพีพีภายในเวลา 2 ปี
สำหรับสหรัฐ ชะตากรรมของทีพีพีได้ถูกตัดสินไว้แล้วตั้งแต่โค้งสุดท้ายของการหาเสียงเลือกตั้งศึกชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ เพราะทั้งตัวเต็งของพรรครีพับลิกันและแดโมแครตคือนาย โดนัล ทรัมป์ และนาง ฮิลลารี่ คลินตันต่างไม่สนับสนุนการอนุมัติข้อตกลงทีพีพี ซึ่งเป็นมรดกที่นาย บารักโอบามาทิ้งไว้หลังลงจากตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ เหตุผลก็คือชาวอเมริกันได้เห็นถึงผลกระทบในทางลบจากกระบวนการโลกาภิวัตน์และนี่ก็คือเหตุผลที่ทำให้อังกฤษต้องจัดการลงประชามติเกี่ยวกับการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป หรือ อียู นับตั้งแต่วิกฤตการเงินปี 2008 ในตลอด 8 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวอย่างล่าช้า จนทำให้เกิดปัญหาด้านช่องว่างรายได้ ความอยุติธรรมในสังคมและการผลิตที่ลดลง ดังนั้น ชาวอเมริกันหลายคนได้โยนความผิดให้แก่ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาและกระบวนการโลกาภิวัตน์ในปัญหาดังกล่าว
ในสภาวการณ์นี้ นาย โดนัล ทรัมป์ ซึ่งเป็นผู้ที่สนับสนุนการค้าเสรีและเสนอให้เสร็จสิ้นการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือหรือ NAFTA ที่กำหนดเก็บภาษีร้อยละ 35 – 45 ต่อสินค้านำเข้าจากเม็กซิโกและจีน กลับได้คัดค้านข้อตกลงทีพีพีและเรียกข้อตกลงนี้ว่า เป็นข้อตกลงที่ขาดประสิทธิภาพ ดังนั้น สิ่งแรกหลังการขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐของนาย โดนัล ทรัมป์คือถอนตัวจากข้อตกลงทีพีพีนั้น จึงเป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้ไม่ยาก
อนาคตของข้อตกลงการค้าเสรียุคใหม่
หลังจากที่ นาย โดนัล ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐลงนามในกฤษฎีกาเกี่ยวกับการถอนตัวออกจากข้อตกลงทีพีพี ประชามติโลกได้มีปฏิกิริยาที่แตกต่างกัน โดยญี่ปุ่นได้เผยว่า จะใช้ทุกโอกาสเพื่อโน้มน้าวให้นาย โดนัล ทรัมป์ เข้าร่วมข้อตกลงทีพีพี ส่วนนิวซีแลนด์กำลังพิจารณาเกี่ยวกับแผนการเจรจาใหม่ที่มีการเข้าร่วมของประเทศจีน ส่วนเยอรมนีให้ข้อสังเกตว่า สถานประกอบการเยอรมนีอาจใช้ประโยชน์จากปัญหาดังกล่าวเพื่อแสวงหาโอกาสการลงทุนประกอบธุรกิจในเอเชียและอเมริกาใต้ที่มีการคุ้มครองการค้าของสหรัฐหลังจากที่ประเทศนี้ถอนตัวออกจากทีพีพี ในขณะเดียวกัน ฝ่ายต่างๆในสหรัฐได้คัดค้านการตัดสินใจดังกล่าวของนาย โดนัล ทรัมป์ โดยนาย John McCain สมาชิกวุฒิสภาและประธานคณะกรรมาธิการวุฒิสภาทางทหารได้ตำหนิการกระทำดังกล่าวของนาย โดนัล ทรัมป์ว่า เป็นการกระทำที่ผิดพลาด
ข้อตกลงทีพีพีไม่เพียงแต่มีความหมายทางเศรษฐกิจเท่านั้น หากยังมีความหมายด้านภูมิศาสตร์การเมืองอีกด้วย และเกี่ยวข้องกับปัญหาลิขสิทธิ์ทางปัญญา การแก้ไขปัญหาการพิพาทระหว่างประเทศต่างๆและบทบาทของสถานประกอบการภาครัฐ ตลอดจนการสร้างความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ระดับโลกและการควบคุมปัญหาด้านเศรษฐกิจใหญ่ของโลก ซึ่งจากมุมมองด้านเศรษฐกิจ การยกเลิกข้อตกลงทีพีพีจะไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโลก แถมยังเป็นพื้นฐานและการสร้างโอกาสให้แก่การจัดทำข้อตกลงอื่นๆที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจได้เผยว่า สิ่งที่น่าวิตกกังวลคือความล้มเหลวของข้อตกลงจะทำให้อิทธิพลของสหรัฐในเอเชียแปซิฟิกที่นาย บารัก โอบามาได้พยายามเสริมสร้างในตลอด 8ปีที่ผ่านมาต้องสูญเปล่าและจีนจะใช้โอกาสนี้เพื่อขยายบทบาทมากขึ้นในการเป็นผู้นำกระบวนการจัดทำข้อตกลงการค้าต่างๆในภูมิภาค ในทางเป็นจริง ถึงแม้จีนไม่ได้เข้าร่วมข้อตกลงทีพีพี แต่ก็กำลังผลักดันข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจในทุกด้านในภูมิภาคหรือ RCEP ที่มี 10 ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับ 6 หุ้นส่วนด้านการค้า คือ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลีและนิวซีแลนด์เข้าร่วม นอกจากนี้ จีนมีแผนเปิดทางให้ประเทศในแถบลาตินอเมริกาเข้าร่วมข้อคิดริเริ่ม “หนึ่งระเบียง หนึ่งเส้นทาง”ที่จีนเป็นผู้ริเริ่ม
ทั้งนี้ เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า การที่สหรัฐถอนตัวออกจากข้อตกลงทีพีพีไม่ใช่การยุติข้อตกลงนี้โดยสิ้นเชิงขณะนี้ ประเทศสมาชิกทีพีพีกำลังพิจารณาการปฏิบัติข้อตกลงนี้โดยไม่ต้องมีการเข้าร่วมของสหรัฐ แต่การที่สหรัฐถอนตัวออกจากทีพีพีอาจส่งผลกระทบในทางลบในระยะยาวต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของสหรัฐและเดินสวนทางกับแนวโน้มการต่อต้านการคุ้มครองการค้าโลก.
Huyền