พัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อไม่ปล่อยให้ใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
Thu Hoa/VOV5 -  
(VOVWORLD) - เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ตัวแทนของเวียดนามได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการสอดแทรกเป้าหมายพัฒนาอย่างยั่งยืนหรือ SDGs เข้ากับกระบวนการจัดทำแผนการและยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจสังคมในการประชุมระดับสูงของสภาเศรษฐกิจสังคมของสหประชาชาติหรือ ECOSOC ณ สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติในนครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐ ผลสำเร็จของเวียดนามในการพัฒนาเศรษฐกิจและการค้ำประกันการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในรายงานโดยสมัครใจของเวียดนามเกี่ยวกับการปฏิบัติเป้าหมาย SDGs ปี 2018 ณ การประชุมนี้ได้รับการชื่นชมจากประชาคมโลก
นาย เหงียนวันจุง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวางแผนและการลงทุนกล่าวปราศรัยต่อที่ประชุม ECOSOC (vietnamplus) |
เวียดนามได้ประกาศใช้ยุทธศาสตร์พัฒนาอย่างยั่งยืนในช่วงปี 2011-2020 เพื่อปฏิบัติเป้าหมายการขยายตัวอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับความก้าวหน้า ความยุติธรรมทางสังคม การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม การรักษาเสถียรภาพทางการเมือง-สังคม การพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญเพื่อให้เวียดนามบรรลุผลงานที่น่าประทับใจในการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อไม่ปล่อยให้ใครถูกทิ้งไว้ข้างหลังในเวลาที่ผ่านมา
สถานการณ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนในเวียดนาม
ยุทธศาสตร์พัฒนาอย่างยั่งยืนในช่วงปี 2011-2020 ของเวียดนามมีเป้าหมายขั้นพื้นฐาน สำหรับด้านเศรษฐกิจ ธำรงการขยายตัวเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ปฏิบัติการขยายตัวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน ผลักดันการผลิตและการบริโภค การพัฒนาเขตและท้องถิ่นต่างๆอย่างยั่งยืน นาย เลกวางแหม่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวางแผนและการลงทุนได้เผยว่า “ในฐานะประเทศสมาชิกของสหประชาชาติที่มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติระเบียบวาระการประชุม 2030 เกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน พวกเราได้มีวิธีการเข้าถึงอย่างรอบด้านและสมดุล ผสานการพัฒนาอื่นๆ การพัฒนาอย่างยั่งยืนในยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจสังคมของเวียดนาม รวมทั้งยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจสังคมในปัจจุบันและแผนการปี 2030”
การปฏิบัติยุทธศาสตร์พัฒนาอย่างยั่งยืนในเวียดนามในช่วงปี 2011-2020 ได้บรรลุผลงานที่น่าประทับใจ สำหรับด้านเศรษฐกิจ อัตราการขยายตัวด้านเศรษฐกิจเฉลี่ยในรอบ 8 ปีที่ผ่านมาบรรลุเกือบร้อยละ 6.5 โดยในปี 2018 การขยายตัวจีดีพีเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.08 ขอบเขตเศรษฐกิจบรรลุกว่า 2 แสน 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ จีดีพีเฉลี่ยต่อหัวประชากรบรรลุเกือบ 2587 ดอลลาร์สหรัฐ โครงสร้างเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงที่น่ายินดี อัตราอุตสาหกรรมและการบริการในโครงสร้างจีดีพีนับวันเพิ่มมากขึ้น ภาคการเกษตรในโครงสร้างจีดีพีนับวันลดลง ความมั่นคงด้านอาหารได้รับการค้ำประกัน ในด้านสังคม การศึกษามีการพัฒนา งบประมาณสำหรับการศึกษาและฝึกอบรมคิดเป็นร้อยละ 20 ของยอดงบประมาณ ตั้งแต่ปี 2011 จังหวัดและนครทุกแห่งของเวียดนามได้บรรลุมาตรฐานด้านการศึกษาระดับมัธยมศึกษา การแก้ไขปัญหางานทำ และการปฏิบัติยุทธศาสตร์ฝึกสอนอาชีพควบคู่กับการสร้างงานทำ เมื่อปี 2018 อัตราผู้ว่างงานของคนที่อยู่ในวัยทำงานอยู่ที่ร้อยละ 2 สัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคของรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคด้านรายจ่ายของประชากรระดับประเทศหรือ GINI อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวียดนามได้รับการประเมินว่า ได้เสร็จสิ้นแผนการ 6 จาก 8 กลุ่มเป้าหมายแห่งสหัสวรรษ ในปี 2018 อัตราคนจนตามการเข้าถึงหลายมิติอยู่ที่ร้อยละ 6.8 เท่านั้น ดัชนีการพัฒนามนุษย์หรือ HDI ของเวียดนามในปี 2017 อยู่ที่ 0.694 ซึ่งอยู่ในระดับสูงในกลุ่ม 189 ประเทศ
นาย เหงียนบิ๊กเลิม อธิบดีทบวงสถิติ (BNEWS/Vietnamplus) |
กำหนดแนวทางพัฒนาอย่างยั่งยืนในเวลาที่จะถึง
ในปีต่อๆไป เวียดนามได้ปฏิบัติหลายมาตรการเพื่อผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ควบคู่กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน แต่อย่างไรก็ตาม เวียดนามได้ผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่ไม่ยอมรับการขยายตัวผ่านทุกมาตรการ ให้ความสำคัญต่อการบรรลุมาตรฐานที่สะท้อนให้เห็นถึงระดับการพัฒนาของเศรษฐกิจตามแนวทางอย่างยั่งยืน เช่นจีดีพีเฉลี่ยต่อหัวประชากร มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมประดิษฐ์คิดค้นและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัย อัตราอุตสาหกรรมและการบริการในโครงสร้างเศรษฐกิจ อัตราการเกษตรอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและอัตราการพัฒนาตัวเมือง โดยมีเป้าหมายคือแก้ไขการพัฒนาในระยะสั้นและระยะยาวให้สอดคล้องกัน รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วกับการพัฒนาอย่างรอบด้านในสังคมและวัฒนธรรม ปฏิบัติความก้าวหน้าและความยุติธรรมทางสังคม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อยกระดับชีวิตทั้งด้านวัตถุและจิตใจของประชาชนให้ดีขึ้น ซึ่งเพื่อปฏิบัติแนวทางนี้อย่างมีประสิทธิภาพ เวียดนามได้ประกาศใช้ชุดสถิติของตัวชี้วัดการพัฒนาอย่างยั่งยืน นาย เหงียนบิ๊กเลิม อธิบดีทบวงสถิติได้เผยว่า “ชุดสถิติของตัวชี้วัดการพัฒนาอย่างยั่งยืนสะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะมาตรฐานนี้มี 158 ข้อจาก 17 เป้าหมายร่วมและ 115 เป้าหมายที่เป็นรูปธรรม โดยเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมมีเป้าหมายในหลายด้านของสังคม เช่นกลุ่มมาตรฐานเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจนและความเสมอภาค และมาตรฐานนี้มีข้อมูลสถิติอย่างสมบูรณ์เพื่อสนับสนุนกระทรวง หน่วยงานและประชาชนทุกชั้นชน ประเมินสถานการณ์การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมเพื่อเป็นเป้าหมายคือ “ไม่ปล่อยให้ใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง” โดยเฉพาะคนจนและผู้ด้อยโอกาส”
เวียดนามได้ธำรงการขยายตัวค่อนข้างสูงในระยะยาว การขยายตัวมีความผูกพันกับผลงานที่น่าประทับใจเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจนและมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ควบคู่กับการพัฒนารอบด้าน ผลงานของเวียดนามในด้านนี้ได้รับการชื่นชมจากประชาคมโลก.
Thu Hoa/VOV5