(VOVWORLD) -จังหวัดต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงกำลังต้องเผชิญกับปัญหาน้ำทะเลซึมที่มีความรุนแรงที่สุด ท้องถิ่นหลายแห่งได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและเน้นปฏิบัติมาตรการรับมือต่างๆ จากสถานการณ์ดังกล่าว นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้กำชับให้จังหวัดต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงส่งเสริมจิตใจแห่งความกล้าหาญของประชาชาติเพื่อฟันฝ่าทุกอุปสรรคไม่ว่าจะยากแค่ไหน ซึ่งถือเป็น “วัคซีนที่มีอยู่ของเวียดนาม”
นาย เหงวียนซวนฟุก นายกรัฐมนตรีเวียดนาม |
คาดว่า ในระหว่างวันที่ 7 -15 มีนาคม ปัญหาน้ำทะเลซึมในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงจะอยู่ในระดับสูง โดยน้ำทะเลจะซึมเข้าแผ่นดินใหญ่ 100 -110 กิโลเมตร สถานการณ์การขาดแคลนน้ำจืดและปัญหาน้ำทะเลซึมได้ส่งผลกระทบต่อการปลูกผลไม้และการใช้น้ำของประชาชน
ควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาน้ำทะเลหนุน ผลกระทบต่อแหล่งทรัพยากรธรรมชาติน้ำก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสถานการณ์ดังกล่าว
มีความตั้งใจสูงในการแก้ไข
ปัญหาน้ำทะเลซึมได้รับการพยากรณ์ว่าจะรุนแรงมากขึ้นในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ดังนั้น นายกรัฐมนตรี เหงวียนซวนฟุกได้กำชับให้กระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบท กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ท้องถิ่นต่างๆที่เกี่ยวข้องปฏิบัติคำสั่งของนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันและรับมือปัญหาภัยแล้งและปัญหาน้ำทะเลซึม ลดผลเสียหายต่อการผลิตและสร้างเสถียรภาพให้แก่ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
กระทรวงทรัพยกรและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทกำลังเฝ้าติดตามและพยากรณ์แหล่งน้ำในเขตแม่น้ำโขงตอนบนและแหล่งน้ำในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อสนองข้อมูลให้แก่หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างทันการณ์ ประสานงานกับท้องถิ่นต่างๆในการประเมินแหล่งน้ำในท้องถิ่นเพื่อจัดสรรแหล่งน้ำประปาให้แก่การผลิตและการบริโภค ไม่ปล่อยให้เกิดปัญหาการขาดแคลอาหารและน้ำสะอาด โดยเฉพาะ ครอบครัวที่ยากจนและครอบครัวที่อยู่ในเป้านโยบาย นายกรัฐมนตรี เหงวียนซวนฟุกได้เผยว่า
“ ผ่านการรับมือเหตุภัยแล้งและปัญหาน้ำทะเลซึมปีนี้ พวกเราจะถอดประสบการณ์คือ ไม่ว่าจะต้องเผชิญกับปัญหาที่ยากแค่ไหนแต่ด้วยความตั้งใจสูงของรัฐบาล ทางการ เศรษฐกิจทุกภาคส่วนและประชาชน พวกเราจะแก้ไขปัญหานี้ได้ ดังนั้น วัคซีนที่มีอยู่ของเวียดนามคือจิตใจแห่งความกล้าหาญของประชาชาติ โดยจะฟันฝ่าทุกอุปสรรค นี่คือจิตใจของประชาชาติเวียดนามและเวียดนามได้ทำเรื่องนี้ในแผ่นดินที่มีศักยภาพและต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติ”
นายกรัฐมนตรี เหงวียนซวนฟุกยังย้ำว่า จิตใจแห่งความเป็นตัวของตัวเองของทางการทุกระดับมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการระดมแหล่งพลังเพื่อการพัฒนา
“ การศึกษาการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำจืดในเขตเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยต้องกำหนดพื้นที่ก่อสร้าง โดยเฉพาะในจังหวัดเบ๊นแจและอานยางและกิจการอื่นๆเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ระยะปี 2021 -2025”
จิตใจแห่งการฟันฝ่าอุปสรรคของท้องถิ่นต่างๆ
จากผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและปัญหาน้ำทะเลซึม ทำให้จังหวัดก่าเมาผลักดันการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ในหมู่ประชาชนในการจัดสรรและใช้น้ำประปาในการปลูกข้าวและผัก
จังหวัดเบ๊นแจกำลังเน้นก่อสร้างเขื่อนเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำทะเลไหลเข้าสถานีสูบน้ำก๊ายก่อใน ตำบลเกิ๋ยแถ่ง อำเภอโจว์แถ่งของบริษัทจัดสรรและระบายน้ำเบ๊นแจ ซึ่งมาตรการนี้ได้ช่วยเหลือครอบครัวนับแสนครอบครัว สถานประกอบการนับพันแห่ง โรงเรียนและสถานีอนามัยต่างๆในอำเภอโจว์แถ่ง หม๋อไก่บั๊กและนครเบ๊นแจ
ส่วนที่จังหวัดเกียนยาง นาย เหงวียนหึวหว่ายเฟือง ผู้อำนวยการบริษัทหุ้นส่วนจำกัดจัดสรรและระบายน้ำเกียนยางได้เผยว่า
“ทางการจังหวัดฯได้กำชับให้ปรับปรุงระบบกรองน้ำจืด มีบ่อน้ำสำรองเพื่อบริการในช่วงที่ประสบภัยแล้งและปัญหาน้ำทะเลซึม นี่เป็นแผนการที่ได้มีการเตรียมความพร้อมมาก่อนแล้วเพื่อค้ำประกันการจัดสรรน้ำให้แก่เมืองแหรกย้า ส่งเสริมให้ประชาชนต้องใช้น้ำอย่างประหยัด”
นอกจากการปฏิบัติมาตรการต่างๆของทางการท้องถิ่นแล้ว ประชาชนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้เปลี่ยนแปลงจิตสำนึกเป็นอย่างดี โดยถือปัญหาน้ำทะเลซึมเป็นสิ่งที่ต้องเผชิญและร่วมกับทางการในการปรับตัวผ่านการปรับปรุงการผลิตและการสำรองน้ำจืด นาย เฝิ่มวันเตี๊ยว ในจังหวัดหวิงลองได้เผยว่า จากการที่มีระบบชลประทานของรัฐและการเป็นฝ่ายรุกของครอบครัว ทำให้มีน้ำเพียงพอในการปลูกพืช
“ปริมาณการสำรองน้ำของผมอยู่ที่กว่า 1 แสนลิตร โดยสามารถรดน้ำต้นไม้ได้ 4- 5 ครั้ง เราต้องตรวจสอบระดับน้ำในคูหลายครั้งเพื่อให้แน่ใจว่า ไม่ถูกน้ำทะเลซึม”
ภายใต้การชี้นำของรัฐบาล การเป็นฝ่ายรุกและจิตใจแห่งความกล้าหาญและฟันฝ่าอุปสรรคของท้องถิ่นต่างๆ ประชาชนก็คือวัคซีนที่มีประสิทธิภาพที่สุดเพื่อให้เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงรับมือปัญหาน้ำทะเลซึมในปี 2020 .