การประชุม WEF ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ ประเทศจีนเมื่อปี 2007 ซึ่งเมืองเทียนจินและต้าเหลียนเป็น2เมืองที่ผลัดกันจัดการประชุม ดาวอสฤดูร้อน ซึ่งเป็นการประชุมที่สำคัญอันดับ 2 ของ WEF ต่อจากการประชุม WEF ดาวอสที่มักถูกจัดขึ้นในช่วงต้นปี ณ เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
การพัฒนาแห่งสีเขียวสะท้อนในหัวข้อการหารือ
การประชุม WEF ครั้งที่ 15 ณ เมืองต้าเหลียนมีการเข้าร่วมของผู้แทนกว่า 1,600 คนที่เป็นผู้นำรัฐบาล ตัวแทนสถานประกอบการ นักวิชาการและสื่อมวลชนจากเกือบ 80 ประเทศและดินแดน โดยเฉพาะมีการเข้าร่วมของนายกรัฐมนตรีจีน หลีเฉียง นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ฝ่ามมิงชิ้งห์ และประธานาธิบดีโปแลนด์ อันด์แชย์ ดูดา ในกรอบของการประชุม มีการจัดกิจกรรมกว่า 200 กิจกรรมโดยเน้นหารือถึง 6 ประเด็นได้แก่ เศรษฐกิจโลกใหม่ จีนและโลก จิตใจผู้ประกอบการในยุคแห่งปัญญาประดิษฐ์ อุตสาหกรรมใหม่ การลงทุนต่อมนุษย์ การเชื่อมโยงด้านสภาพภูมิอากาศ ธรรมชาติและพลังงาน นอกจากนี้ ยังมีการจัดการประชุมหารือเกี่ยวกับผลกระทบในขอบเขตระดับโลก ภูมิภาคเอเชียและจีน
ในสภาวการณ์ที่วิกฤตสภาพภูมิอากาศนับวันส่งผลกระทบอย่างซับซ้อนต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศต่างๆ การประหยัดพลังงาน การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน การสร้างสรรค์รูปแบบการขยายตัวใหม่อย่างสมบูรณ์ ยั่งยืนและมีความกลมกลืนมากขึ้นกับธรรมชาติ เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจในการประชุม WEF 15 ในการประชุมหารือนัดแรกของ WEF 15 เช้าวันที่ 25 มิถุนายนภายใต้หัวข้อ “การเชื่อมโยงสภาพภูมิอากาศ ธรรมชาติและพลังงาน” นักวิชาการส่วนใหญ่ต่างยืนยันว่า การปกป้องธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพไม่เพียงแต่เป็นหน้าที่ของประเทศต่างๆและชุมชนเท่านั้นหากยังเป็นด้านเพื่อค้นคว้าและสร้างสรรค์พื้นฐานแห่งการขยายตัวแห่งสีเขียวในอนาคต นาย Andre Hoffmann ประธานร่วมการประชุมหารือต่างๆใน WEF 15 ได้ให้ข้อสังเกตว่า
“ถ้าหากการขยายตัวเศรษฐกิจไม่ได้รับการควบคุมให้อยู่ภายระดับความปลอดภัยของโลก พวกเราจะทำลายระบบธรรมชาติและสิ่งนี้จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆในระยะยาว ดังนั้น สารของวันนี้คือธรรมชาติเป็นโอกาส ถ้าอยากมีการขยายตัวใหม่ ต้องให้ความสนใจต่อระดับความปลอดภัยของโลก ”
ในการกล่าวปราศรัยเปิดการประชุม นาย Klaus Schwab ผู้ก่อตั้งและประธานฝ่ายบริหาร WEF เห็นว่า การประชุมหารือต่างๆใน WEF จะสร้างพลังขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมให้ประเทศต่างๆก้าวรุดหน้าไปในการปรับเปลี่ยนไปสู่การใช้เทคโนโลยีแห่งสีเขียวและเศรษฐกิจสีเขียว
“การประชุมหารือนี้ชี้ชัดถึงโอกาสของพวกเราในอนาคตบนพื้นฐานของเทคโนโลยีและการปรับเปลี่ยนสู่การใช้เทคโนโลยีสีเขียวมากขึ้นและเศรษฐกิจแห่งสีเขียว เพื่อทำสิ่งนี้และมุ่งสู่การขยายตัวใหม่ ความร่วมมือในระยะยาวเป็นสิ่งที่จำเป็น”
ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสะท้อนในการจัดการประชุม
นอกจากกำหนดหัวข้อหลักเกี่ยวกับพลังงาน สิ่งแวดล้อมและปัญญาประดิษฐ์เพื่อมุ่งสู่รูปแบบการขยายตัวเศรษฐกิจแห่งสีเขียว สารแห่งสีเขียวของการประชุม WEF 15 ยังสะท้อนให้เห็นผ่านกระบวนการจัดการประชุม ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นาย เฉินซ่าวหวัง (Chen Shaowang) นายกเทศมนตรีเมืองต้าเหลียนได้เผยว่า
“ตามสถานที่จัดการประชุมต่างๆล้วนใช้พลังงานสีเขียว พาหนะ 520 คัน ใช้รับส่งผู้แทนเป็นรถไฟฟ้า วัสดุที่ใช้ในการประชุมจะถูกนำไปรีไซเคิลและงบประมาณสำหรับการจัดการประชุมจะลดลงผ่านการใช้มาตรฐานที่เรียบง่าย กลมกลืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและปล่อยคาร์บอนต่ำ”
นอกจากมีระบบไฟฟ้าสีเขียว ในหอประชุมใหญ่ ของศูนย์ประชุมนานาชาติต้าเหลียน ซึ่งเป็นสถานที่จัดการประชุมนัดสำคัญยังใช้ระบบระบายอากาศแบบธรรมชาติผ่านม่านสกายไลท์เพื่อประหยัดพลังงานและระบายความร้อน ส่วนระบบปรับอากาศใช้เทคโนโลยีระบายความร้อนด้วยน้ำทะเลเพื่อใช้ประโยชน์จากพลังงานหมุนเวียนและประหยัดไฟฟ้า สำหรับการรับส่งบรรดาผู้แทน ก็ใช้รถยนต์ไฟฟ้าและรถพลังงานไฮโดรเจนเพื่อสนับสนุนการเดินทางที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ
ทั้งนี้ทางการเมืองต้าเหลียนเผยว่า การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแห่งสีเขียวในการจัดการประชุม WEF 15 เป็นปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมเพื่อส่งสารแห่งสีเขียวของ WEF 15 และแนะนำภาพลักษณ์เมืองต้าเหลียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อประชาคมโลก.