อังกฤษก่อนวันจัดการลงประชามติว่าจะเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปต่อไปหรือไม่

(VOVworld)เหลืออีก เพียง 1 สัปดาห์ก็จะถึงวันที่ 23 มิถุนายนที่ชาวอังกฤษจะลงประชามติว่า จะเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปหรืออียูต่อไปหรือไม่ โดยผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนก่อนวันลงประชามติปรากฎว่า จำนวนผู้ที่สนับสนุนในอังกฤษออกจากอียูกำลังมีมากกว่าผู้คัดค้านไม่มากนัก แต่นี่ก็คือสิ่งที่น่าวิตกกังวล เพราะทำให้ทางการอังกฤษและผู้นำของอียูต้องชี้แจงเพื่อให้ชาวอังกฤษเข้าใจ อย่างชัดเจนถึงผลประโยชน์และความเสียหายถ้าอังกฤษออกจากอียู

(VOVworld)เหลืออีกเพียง 1 สัปดาห์ก็จะถึงวันที่ 23 มิถุนายนที่ชาวอังกฤษจะลงประชามติว่า จะเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปหรืออียูต่อไปหรือไม่ โดยผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนก่อนวันลงประชามติปรากฎว่า จำนวนผู้ที่สนับสนุนในอังกฤษออกจากอียูกำลังมีมากกว่าผู้คัดค้านไม่มากนัก แต่นี่ก็คือสิ่งที่น่าวิตกกังวล เพราะทำให้ทางการอังกฤษและผู้นำของอียูต้องชี้แจงเพื่อให้ชาวอังกฤษเข้าใจอย่างชัดเจนถึงผลประโยชน์และความเสียหายถ้าอังกฤษออกจากอียู

อังกฤษก่อนวันจัดการลงประชามติว่าจะเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปต่อไปหรือไม่ - ảnh 1
นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เดวิด คาเมรอน กล่าวปราศรัยในการประชุมสภาล่างอังกฤษเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน (BBC)

การลงประชามติในวันที่ 23 มิถุนายนมีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิบัติคำมั่นในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เดวิด คาเมรอน หลังจากพรรคอนุรักษ์นิยมและพรรคเอกราชสหราชอาณาจักรได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2015 เพื่อโต้ตอบคำเรียกร้องของ 2 พรรคการเมืองดังกล่าวซึ่งเป็นฝ่ายที่ไม่สนับสนุบให้อังกฤษเป็นสมาชิกของอียู ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง เมื่อปี 2015 นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เดวิด คาเมรอนได้ให้คำมั่นว่า ถ้าหากได้รับชัยชนะจะจัดการลงประชามติว่า อังกฤษจะเป็นสมาชิกอียูต่อไปหรือไม่ แต่จริงๆแล้วนาย เดวิด คาเมรอน ไม่อยากจัดการลงประชามตินี้ เนื่องจากความเสี่ยงและผลกระทบที่จะตามมาภายหลังการลงประชามติ
ผลการลงประชามติที่ไม่สามารถคาดคิดล่วงหน้าได้
ผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนในหลายวันที่ผ่านมาปรากฎว่า การรณรงค์ให้อังกฤษออกจากอียูหรือ Brexit กำลังได้รับเสียงสนับสนุนมากกว่าฝ่ายคัดค้าน โดยตามผลการสำรวจของ YouGov ที่ลงบนหนังสือพิมพ์ The Times ฉบับวันที่ 10 มิถุนายนปรากฎว่า ผู้ที่สนับสนุนให้อังกฤษออกจากอียูอยู่ที่ร้อยละ 46 ในขณะที่อัตราผู้สนับสนุนให้อังกฤษอยู่กับอียูต่อไปมีเพียงร้อยละ 39 ส่วนชาวอังกฤษร้อยละ 11 ยังไม่มีการตัดสินใจและร้อยละ 4 จะไม่เข้าร่วมการลงประชามติ ซึ่งผลการสำรวจนี้ก็เหมือนกับผลการสำรวจของหนังสือพิมพ์ Independent โดยชาวอังกฤษที่สนับสนุนการออกจากอียูเพิ่มขึ้นร้อยละ 55 ซึ่งสูงกว่าอัตราคัดค้านร้อยละ 10 และนี่ก็เป็นอัตราสูงที่สุดนับตั้งแต่หนังสือพิมพ์ Independent ทำการสำรวจความคิดเห็นในรอบ 1 ปี ในขณะเดียวกัน ผลการสำรวจของ ORB และ ICM ก็ปรากฎว่า อัตราชาวอังกฤษที่สนับสนุนให้ออกจากอียูกำลังอยู่ในระดับสูงกว่าอัตราคัดค้าน

อังกฤษก่อนวันจัดการลงประชามติว่าจะเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปต่อไปหรือไม่ - ảnh 2
รัฐมนตรีที่อยู่อาศัยอังกฤษ Yvette Cooper (ซ้ายมือ) ในการประชุมของพรรคแรงงานเกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดิน 2016 (EPA)

อังกฤษเคยจัดการลงประชามติเกี่ยวกับการถอนตัวออกจากอีอีซีเมื่อปี 1975
การที่ชาวอังกฤษไม่สนใจการเป็นสมาชิกของอีอีซีมาจากประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่าย และการลงประชามติในวันที่ 23 มิถุนายนก็ไม่ใช่การลงประชามติที่ได้รับการจัดขึ้นเป็นครั้งแรกของอังกฤษเกี่ยวกับการออกจากอียูหรือไม่ ถึงแม้อังกฤษและประชาคมเศรษฐกิจยุโรปอีอีซีหรือก็คืออียูในปัจจุบันได้มีความสัมพันธ์กันมา 40 ปี แต่ที่น่าสนใจคืออังกฤษไม่ใช่หนึ่งในประเทศที่จัดตั้งกลุ่มอีอีซี โดยอังกฤษได้เข้าเป็นสมาชิกอีอีซีเมื่อปี 1973 ในสมัยพรรคแรงงานเป็นรัฐบาลและ หลังจากนั้น 2 ปี เมื่อปี 1975 อังกฤษก็ได้จัดการลงประชามติว่า จะถอนตัวออกจากอีอีซีหรือไม่ ซึ่งผลการลงประชามติปรากฎว่า ชาวอังกฤษร้อยละ 67.2 ไม่สนับสนุนการถอนตัวออกจากอีอีซี
นอกจากนั้น ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ ในขณะที่ประเทศสมาชิกอียู 28 ประเทศเข้าร่วมกลุ่มอียูโดยมีเหตุผลที่ชัดเจนและมีเป้าหมายในระยะยาวนั้น อังกฤษก็กลับไม่เคยอยากเป็นสมาชิกอียูอย่างสมบูรณ์ ซึ่งที่เห็นชัดเจนก็คือจนถึงปัจจุบัน อังกฤษยังคงไม่ใช่สมาชิกของเขตยูโรโซนและกลุ่มเชงเก้น พลังขับเคลื่อนที่ชัดเจนให้อังกฤษตัดสินใจเข้าเป็นสมาชิกของอียูก็เพื่อการเข้าถึงผลประโยชน์ด้านการค้าเสรีในภูมิภาคเท่านั้น นอกจากนี้ ชาวอังกฤษก็ไม่ค่อยประทับใจกับนโยบายและสิทธิผลประโยชน์พิเศษอื่นๆของอียูนัก ตามรายงานสถิติ อังกฤษเป็นประเทศที่สนับสนุนเงินเข้างบประมาณของอียูจำนวนมากนับตั้งแต่ประเทศนี้กลายเป็นสมาชิกของอียู เฉพาะเมื่อปี 2015 อังกฤษสนับสนุนเงิน 1 หมื่น 3 พันล้านปอนด์ แต่เงินที่อังกฤษได้รับจากอียูอยู่ที่ 4.5 พันล้านปอนด์เท่านั้น นอกจากนั้นการขยายข้อกำหนดที่มีลักษณะแทรกแซงของอียูในระบบตุลาการ หลักการของตลาดแรงงานและด้านอื่นๆได้สร้างความไม่พอใจต่อชาวอังกฤษ นี่ยังไม่รวมถึงวิกฤตการเงินและความชะงักงันในการแก้ไขปัญหาผู้อพยพที่อียูกำลังต้องเผชิญ
การตัดสินใจอนาคตของอังกฤษและเสถียรภาพของอียู

เมื่อผลการสำรวจได้รับการประกาศก็เป็นช่วงที่ทางการอังกฤษ ผู้นำอียูและหลายประเทศสมาชิกเริ่มมีท่าทีเพื่อโน้มน้าวให้ชาวอังกฤษสนับสนุนการเป็นสมาชิกอียูต่อไป ในวิวาทะระหว่างนักการเมืองชั้นนำในอังกฤษที่ได้รับการถ่ายทอดสดผ่านอินเตอร์เน็ตเมื่อวันที่ 14 มิถุนายนปรากฎว่า บรรดานักการเมืองที่สนับสนุนให้อังกฤษออกจากอียูได้ปฏิเสธทุกความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจถ้าหากอังกฤษถอนตัวออกจากอียู และแสดงความเห็นว่า ข้อกำหนดของอียูกำลังส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของเศรษฐกิจอังกฤษ พร้อมทั้งกล่าวถึงอนาคตที่ไร้อำนาจของอังกฤษในการรับมือกับกระแสผู้อพยพนับแสนคนต่อปี จะส่งผลให้ระบบสาธารณูปโภคต่างๆไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ ในขณะเดียวกัน บรรดานักการเมืองที่สนับสนุนการที่อังกฤษเป็นสมาชิกของอียูต่อไป ได้โต้ตอบว่า การเป็นสมาชิกของสหภาพที่มีเอกภาพจะช่วยให้ชาวอังกฤษได้รับการปกป้องด้านสังคมและงานทำ อีกทั้งช่วยให้อังกฤษเข้าถึงตลาดที่มีประชากร 500 ล้านคนของอียู กระทรวงการคลังของอังกฤษได้เตือนว่า อังกฤษจะขาดดุลงบประมาณ 3 หมื่นล้านปอนด์ถ้าหากถอนตัวออกจากอียู นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ยืนยันว่า อิทธิพลของอังกฤษในสหภาพยุโรปจะเพิ่มขึ้นถ้าหากชาวอังกฤษสนับสนุนการเป็นสมาชิกของอียูต่อไป ส่วนประธานสหภาพยุโรป โดนัลด์ ทัสค์ ได้เตือนว่า การที่อังกฤษออกจากอียูจะเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการทำลายอียูและอารยธรรมการเมืองของฝ่ายตะวันตก และจะเป็นการกระตุ้นให้กลุ่มหัวรุนแรงในประเทศสมาชิกอียูต่อต้านการรวมกลุ่มของยุโรป
เป็นที่ชัดเจนว่า อนาคตของอังกฤษและเสถียรภาพของอียูขึ้นอยู่กับผลการลงประชามติในวันที่ 23 มิถุนายนซึ่งเป็นการตัดสินใจของชาวอังกฤษต่ออนาคตของประเทศว่าจะเป็นสมาชิกของอียูต่อไปหรือไม่.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด