เน้นแก้ไขอุปสรรคให้สถานประกอบการพัฒนาการผลิตและประกอบธุรกิจ

(VOVworld)-ในการประชุมประจำเดือนเมษายนของรัฐบาลที่มีขึ้นในระหว่างวันที่ 3-4 พฤษภาคมที่ผ่านมา ท่าน Nguyen Tan Dung นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้กล่าวย้ำว่า ต้องเน้นแก้ไขอุปสรรคให้สถานประกอบการสามารถพัฒนาและประกอบธุรกิจต่อไปโดยจะมีการประกาศมติเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเร็วๆนี้

(VOVworld)-ในการประชุมประจำเดือนเมษายนของรัฐบาลที่มีขึ้นในระหว่างวันที่ 3-4 พฤษภาคมที่ผ่านมา ท่าน Nguyen Tan Dung นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้กล่าวย้ำว่า ต้องเน้นแก้ไขอุปสรรคให้สถานประกอบการสามารถพัฒนาและประกอบธุรกิจต่อไปโดยจะมีการประกาศมติเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเร็วๆนี้

เน้นแก้ไขอุปสรรคให้สถานประกอบการพัฒนาการผลิตและประกอบธุรกิจ - ảnh 1
ภาพการประชุมรัฐบาลประจำเืดือนเมษายน 2012 (Photo Internet)

ในรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ของสถานประกอบการใน 4 เดือนแรกของปี 2012 และมาตรการแก้ไขอุปสรรคที่นำเสนอในการประชุมรัฐบาลประจำเดือนเมษายน นาย Bui Quang Vinh รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนและการลงทุนได้กล่าวว่า จากการปฏิบัติมาตรการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพและพร้อมเพรียงได้ทำให้ การผลิตและประกอบธุรกิจในด้านต่างๆ เช่น สัตว์นำ การเกษตร เครื่องอุปโภคบริโภคและสินค้าส่งออกใน 4 เดือนแรกของปีนี้ มีสัญญาณที่ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ยังคงมีความลำบากและความท้าทาย เช่น อัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับสูง สถานประกอบการยังไม่สามารถใช้เงินทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีสินค้าค้างสต๊อกจำนวนมากและมีจำนวนสถานประกอบการที่ล้มละลายหรือยุติกิจการสูงกว่าปีก่อน ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศและปัญหาของสถานประกอบการเอง ดังนั้น นายกรัฐมนตรีจึงสั่งให้กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสนใจต่อการแก้ไขอุปสรรคให้แก่สถานประกอบการเพื่อผลักดันการผลิตและประกอบธุรกิจ ขยายตลาดทั้งภายในและต่างประเทศและมีนโยบายภาษีที่เหมาะสมกับศักยภาพของสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมหรือสถานประกอบการที่ใช้ผู้ใช้แรงงานจำนวนมาก  นายกฯ Nguyen Tan Dung กล่าวยืนยันว่า “รัฐบาลได้เห็นพ้องกันว่า จะพยายามออกมาตรการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งปัญหาของเราอยู่ที่ต้องมีมาตรการแก้ไขในด้านการจัดการ การบริหารและการปฏิบัติ ดังนั้นรัฐบาลต้องมีความเด็ดขาดและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างพร้อมเพรียงและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริงเพื่อแก้ไขอุปสรรคให้แก่สถานประกอบการ


เน้นแก้ไขอุปสรรคให้สถานประกอบการพัฒนาการผลิตและประกอบธุรกิจ - ảnh 2
ท่าน Nguyen Tan Dung กล่าวชี้ชัดในการประชุม (Photo Internet)

        นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี Nguyen Tan Dung ยังได้สั่งให้ปฏิบัติขั้นตอนการลดดอกเบี้ยตามแนวทางผ่อนคลายตามอัตราเงินเฟ้อ อำนวยความสะดวกให้สถานประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้เพื่อส่งเสริมการผลิตและประกอบธุรกิจต่อไป  ส่วนกระทรวง หน่วยงานและท้องถิ่นต้องเป็นฝ่ายรุกในการส่งเสริมการพบปะ สนทนาและสังเกตุการตอบรับของสถานประกอบการที่มีต่อนโยบายเพื่อจะได้หาทางแก้ไขและปรับนโยบายให้ดียิ่งขึ้น ส่วนรัฐบาลจะประกาศมติใหม่ในเร็วๆนี้เพื่อเน้นถึงกลุ่มมาตรการแก้ไขและส่งเสริมการผลิตและประกอบธุรกิจ ซึ่งจะมีการใช้นโยบายภาษีอย่างคล่องตัว เช่น การเลื่อนเวลาชำระภาษี ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นต้น นาย Vu Duc Dam รัฐมนตรีประจำและหัวหน้าสำนักรัฐบาลได้กล่าวว่า  “รัฐบาลจะพิจารณาการเลื่อนเวลาชำระภาษีของสถานประกอบการ จากเดือนเมษายนไปเป็นปลายปีหรือต้นปีหน้าซึ้งรัฐบาลจะต้องใช้เงินช่วยเหลือ 4000 พันล้านด่งหรืออาจจะยืดหยุ่นเวลาการเก็บภาษีรายได้ปี2011ของสถานประกอบการไปจนถึงเดือนกันยายนปีนี้

ควบคุ่มกันนั้น รัฐบาลจะช่วยเหลือสถานประกอบการในการปรับปรุงและขายสินค้าค้างสต๊อกผ่านการจัดโครงการโปรโมชั่นต่างๆ เช่น การนำสินค้าไปจำหน่ายในเขตชนบท รวมไปถึงการเบิกจ่ายเงินอย่างรวดเร็วเพื่อพัฒนาโครงการก่อสร้างพื้นฐานและบ้านพัก ตลอดจนเพิ่มงบประมาณให้แก่การส่งเสริมการค้า การขยายตลาดส่งออก การฝึกอบรมแหล่งบุคลากรให้แก่หน่วยงานการผลิตอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูป อุตสาหกรรมประกอบและอุตสาหกรรมผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก เป็นต้น นาย Vu Dinh Anh ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจเผยว่า  “การที่เราไม่สามารถขายสินค้าได้ก็เพราะมีราคาแพง ดังนั้นต้องลดราคาสินค้าโดยผ่านการลดภาษี แต่เราจะยืดหยุ่นเวลาการเก็บภาษีแทนการลดภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

ในการประชุมรัฐบาลครั้งนี้ กระทรวงวางแผนและการลงทุนได้เสนอมาตรการ5ข้อเพื่อช่วยแก้ไขอุปสรรคให้แก่สถานประกอบการ ได้แก่ การรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาค การควบคุมภาวะเงินเฟ้อ ปฏิบัติการลดดอกเบี้ยพร้อมกับการปฏิบัติมาตรการแก้ไขที่เร่งด่วนเพื่อลดอุปสรรคในการผลิตและประกอบธุรกิจ ผลักดันการขยายตัวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมโดยไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาคและทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออีกครั้ง นอกจากนี้ ต้องเสร็จสิ้นระเบียบเศรษฐกิจเชิงตลาดเพื่อส่งเสริมการปฏิรูปโครงสร้างระบบเศรษฐกิจ เปลี่ยนแปลงรูปแบบการขยายตัวตามแนวทางยกระดับประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะความสามารถในการพยากรสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ./.


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด