เวียดนามและอาเซียนค้ำประกันสวัสดิการสังคมท่ามกลางการปฏิวัติอุตสาหกรรม4.0

(VOVWORLD) - ระบบสวัสดิการสังคมในภูมิภาคอาเซียนกำลังย่างเข้าสู่ระยะการพัฒนาใหม่เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 และกระบวนการหมุนเวียนแรงงานอย่างเสรีในภูมิภาค ดังนั้น ประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งเวียดนามต้องมีวิธีการเข้าถึงปัญหาต่างๆอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ระยะยาว ผลักดันการเชื่อมโยงภายในกลุ่มเพื่อพัฒนาสวัสดิการสังคมอย่างยั่งยืนให้แก่ประชาชนในภูมิภาคอาเซียน
เวียดนามและอาเซียนค้ำประกันสวัสดิการสังคมท่ามกลางการปฏิวัติอุตสาหกรรม4.0 - ảnh 1ภาพการสัมมนาใน“โอกาสและความท้าทายของระบบสวัสดิการสังคมในภูมิภาคอาเซียนท่ามกลางการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0และการหมุนเวียนแรงงานอย่างเสรี” (Tạp chí Bảo Hiểm Xã Hội)

การปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ได้สร้างทั้งโอกาสและความท้าทายให้แก่ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศสมาชิกอาเซียน ดังนั้นหน้าที่สำคัญที่ต้องปฏิบัติคือต้องทำอย่างไรให้การการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปในทางที่ดีขึ้น

การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือเพื่อฟันฝ่าอุปสรรค

คาดว่า ในอีก 20ปีข้างหน้า แรงงานร้อยละ 56 ใน 5 ประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงเวียดนามจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการว่างงาน นาย Jens Schremmer หัวหน้าสำนักงานเลขาธิการสหพันธ์สวัสดิการสังคมระหว่างประเทศ หรือ ISSA ได้เผยว่า การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อแรงงานแบบดั้งเดิม การปฏิบัตินโยบายสวัสดิการสังคม การรักษาความปลอดภัยด้านข้อมูลข่าวสารและความมั่นคงทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งนี่คือปัญหาในปัจจุบันที่ต้องได้รับการแก้ไข ดังนั้นประเทศต่างๆต้องมีความคล่องตัว ใช้โอกาสต่างๆเพื่อฟันฝ่าอุปสรรคและในเวลาข้างหน้า ต้องกระชับความร่วมมือภายในสหพันธ์สวัสดิการสังคมอาเซียนผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างประเทศสมาชิกกับองค์การสสวัสดิการสังคมในภูมิภาคและโลก นาย สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมไทย ได้เสนอว่า“การเปลี่ยนแปลงทางสังคมทำให้รัฐบาลประเทศต่างๆต้องมีนโยบายด้านสวัสดิการสังคมเพื่อค้ำประกันสิทธิผลประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าว อีกทั้งต้องผลักดันการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเพื่อฟันฝ่าอุปสรรคและมุ่งสู่เป้าหมายร่วมของภูมิภาคอาเซียน”

ความพยายามของเวียดนาม

สำหรับเวียดนามที่จะมีประชากรที่อยู่ในวัยทำงานเพิ่มขึ้นจาก 56 ล้านคนในปี 2016 เป็น 62 ล้านคนในปี 2025 ซึ่งเพื่อแก้ไขปัญหางานทำให้แก่แรงงาน ทุกปี ต้องสร้างงานทำ 6 แสน 5 หมื่นตำแหน่งและต้องปรับปรุงโครงสร้างแรงงานให้เหมาะสม และยังมีอีกปัญหาคือแรงงานได้รับการฝึกอบรมไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและปัญหาความไม่สมดุลของการฝึกอบรมแขนงงานต่างๆ ส่วนสำหรับผู้ใช้แรงงานต้องยกระดับฝีมือและหางานทำในระยะยาว รองนายกรัฐมนตรี หวูดึ๊กดามได้ย้ำว่า“สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องระดมพลังทุกแหล่งเพื่อพัฒนามนุษย์ การฝึกอบรม การรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานในภูมิภาคและโลก โดยเฉพาะต้องย้ำถึงบทบาทของสถานประกอบการในการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ องค์การสังคมและผู้ใช้แรงงานเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาและพัฒนาแหล่งบุคลากรตามแนวทางผลักดันให้ผู้ใช้แรงงานยกระดับทักษะความสามารถ รวมทั้งทักษะใหม่ๆ”

นอกเหนือจากการฝึกสอนอาชีพ ต้องส่งเสริมการดำเนินงานของระบบสวัสดิการสังคม โดยเฉพาะการประกันสังคมและการประกันการว่างงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อสนับสนุนให้แรงงานที่ตกงานได้รับการฝึกอบรมอาชีพใหม่ นาง เหงวียนถิมิง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานประกันสังคมเวียดนามได้เผยว่า “คณะกรรมการกลางพรรคฯได้อนุมัติมติปฏิรูปนโยบายการประกันสังคม ในขณะที่รัฐบาลกำลังปฏิบัติแผนปฏิบัติการและจัดตั้งคณะกรรมการแห่งชาติเกี่ยวกับรัฐบาลอิเล็กทรอกนิกส์ ซึ่งเอื้อประโยชน์ให้แก่การประกันสังคมเป็นอย่างมาก สำหรับทางฝ่ายสำนักงานประกันสังคมเวียดนามจะให้คำปรึกษาและเสนอมาตรการจัดทำนโยบายการประกันที่คล่องตัวเพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าร่วมได้”

นโยบายสวัสดิการสังคมคือนโยบายขั้นพื้นฐานที่มุ่งสู่เป้าหมายพัฒนามนุษย์ ส่งเสริมความยุติธรรมและความก้าวหน้าและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ดังนั้น การที่ประเทศสมาชิกอาเซียนทำความเข้าใจและปฏิบัตินโยบายด้านสวัสดิการสังคมอย่างเข้มแข็งจะมีส่วนช่วยปฏิบัติเป้าหมาย “ถือมนุษย์เป็นศูนย์กลางและไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง”ให้ประสบความสำเร็จ.

          

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด