เศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยมนำเวียดนามพัฒนาอย่างเข้มแข็งมากขึ้น
Thu Hoa -  
(VOVWORLD) - รูปแบบเศรษฐกิจในช่วงเปลี่ยนผ่านเพื่อมุ่งสู่สังคมนิยมของเวียดนามคือรูปแบบเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยม ซึ่งกลุ่มผู้ที่ไม่หวังดีได้ปฏิเสธรูปแบบเศรษฐกิจดังกล่าว อีกทั้งต่อต้านพรรค รัฐและภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่ของเวียดนาม แต่สถานการณ์ที่เป็นจริงได้แสดงให้เห็นว่า การปฏิบัติกลไกเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยมในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้ช่วยให้เศรษฐกิจเวียดนามนับวันพัฒนาอย่างเข้มแข็งและทำให้สถานะของประเทศได้รับการยกระดับให้สูงเด่นมากขึ้นบนเวทีโลก
ภาพนครโฮจิมินห์ ซึ่งเป็นหัวเรือด้านศรษฐกิจของเวีดนาม (VNA) |
กลุ่มผู้ที่ไม่หวังดีมักกล่าวว่า ไม่มีรูปแบบเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยมเพราะกลไกเศรษฐกิจเชิงตลาดและแนวทางสังคมนิยมเป็นสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกัน การเชื่อมโยง 2 ปัจจัยดังกล่าวคือสิ่งที่ขาดภาวะวิสัย ไร้สาระและไร้มูลความจริง ซึ่งเศรษฐกิจเชิงตลาดเป็นรูปแบบของลัทธิทุนนิยมที่ไม่สามารถผสานกับเป้าหมายการสร้างสรรสังคมนิยมผ่านกลไกเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยมเพราะมีความขัดแย้งกันและว่า เวียดนามต้องปรับเปลี่ยนมาดำเนินเศรษฐกิจเชิงตลาดแบบทุนนิยม
อันที่จริงคารมของกลุ่มผู้ที่ไม่หวังดีเป็นสิ่งที่ไร้มูลความจริงและขาดภาวะวิสัย โดยที่มาและลักษณะเด่นของเศรษฐกิจเชิงตลาด คือเศรษฐกิจเชิงสินค้า ซึ่งความหมายด้านคุณค่า ราคา เงินทุน การแข่งขัน และความสัมพันธ์ของอุปสงค์และอุปทานมีลักษณะของระบบเศรษฐกิจเชิงตลาด ซึ่งมีมาก่อนลัทธิทุนนิยมและเป็นรูปแบบเศรษฐกิจที่กลุ่มประเทศทุนนิยมประยุกต์ใช้ ปัจจุบัน เศรษฐกิจเชิงตลาดของประเทศทุนนิยมที่พัฒนาแล้วล้วนแต่เป็นเศรษฐกิจเชิงตลาดที่มีการควบคุมจากรัฐและเป็นไปตามกลไกตลาด โดยเศรษฐกิจเชิงตลาดของประเทศต่างๆมีรูปแบบการควบคุมและระดับการแทรกแซงจากรัฐที่แตกต่างกัน สองคือเศรษฐกิจเชิงตลาดคือผลงานที่ล้ำเลิศของมนุษยชาติ มิใช่ของลัทธิสังคมนิยม ปัจจุบัน มีรูปแบบเศรษฐกิจเชิงตลาดในประเทศทุนนิยมที่พัฒนาแล้ว เช่น เศรษฐกิจตลาดเสรีในสหรัฐ เศรษฐกิจเชิงตลาดและสังคมในเยอรมนี เศรษฐกิจเชิงตลาดและสวัสดิสังคมในสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีแนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อสังคม อันเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าและเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดสังคมนิยมในประเทศทุนนิยมที่พัฒนา สำหรับเวียดนาม รูปแบบเศรษฐกิจในช่วงเปลี่ยนผ่านเพื่อมุ่งสู่สังคมนิยมของเวียดนามคือรูปแบบเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยม มีการผสมผสานระหว่างเศรษฐกิจเชิงตลาดและเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเพื่อสร้างพื้นฐานให้แก่การพัฒนาสังคมนิยม
สามคือ เศรษฐกิจเชิงตลาดที่มีการควบคุมของรัฐ โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้วในปัจจุบัน รัฐได้สร้างกรอบทางกฎหมายเกี่ยวกับการแข่งขัน การปกป้อง การส่งเสริมและการให้ความเคารพการแข่งขันที่มีความยุติธรรม ป้องกันและขัดขวางการผูกขาดที่ส่งผลกระทบในทางลบต่อการแข่งขัน ต่อต้านการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียมกัน ตลอดจนแทรกแซงและแก้ไขปัญหาต่างๆของตลาด ซึ่งสามารถยืนยันได้ว่า ทุกเศรษฐกิจเชิงตลาดในโลกปัจจุบันต่างดำเนินไปตามกลไกตลาดและโดยรัฐมีบทบาทในการควบคุม ด้วยการค้ำประกันและสร้างบรรยากาศที่เอื้อให้แก่เศรษฐกิจตามกลไกตลาด อีกทั้งลดและแก้ไขผลกระทบในทางลบจากกลไกเศรษฐกิจเชิงตลาด รักษาเสถียรภาพให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจ ผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อสังคม ค้ำประกันความยุติธรรมและสวัสดิการสังคม
ปัจจัยที่สี่และก็เป็นข้อสำคัญมากที่สุดคือ สถานการณ์การปฏิบัติภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่ประเทศเวียดนามแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยมในเวียดนามได้พัฒนาตามลักษณะของเศรษฐกิจเชิงตลาดที่ทันสมัยที่มีมาตรฐานโลก เช่น มีรูปแบบและสัดส่วนเศรษฐกิจทีหลากหลาย มีการผลิตและประกอบธุรกิจอย่างเสรี มีการจำหน่ายสินค้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย มีการแข่งขันอย่างเท่าเทียมกัน ตลาดพัฒนาอย่างสมบูรณ์ รัฐได้เปลี่ยนแปลงใหม่รูปแบบการบริหารเศรษฐกิจผ่านกฎหมาย นโยบาย แผนการยุทธศาสตร์ และการใช้แหล่งพลังต่างๆ ตลอดจนไม่แทรกแซงกิจกรรมการผลิตและประกอบธุรกิจ สร้างเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาคและแก้ไขข้อบกพร่องของกลไกเศรษฐกิจเชิงตลาด หลังการปฏิบัติภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่ประเทศในตลอด 35ปี เวียดนามได้ประสบผลงานที่สำคัญอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยผลสำเร็จของการปฏิบัติยุทธศาสตร์ช่วงปี 2011-2020 และในวาระปี 2016-2021 ได้มีส่วนร่วมที่สำคัญต่อภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่ประเทศ ทำให้เวียดนามมีศักยภาพและพลังที่เข้มแข็ง มีสถานะ บทบาทและชื่อเสียงที่ได้รับการยืนยันบนเวทีโลกเหมือนในปัจจุบัน
จากมุมมองที่รอบด้าน มีภาวะวิสัย และสถานการณ์การปฏิบัติภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่ประเทศในตลอด 35 ปี แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจเวียดนามดำเนินไปตามกลไกตลาดตามแนวทางสังคมนิยม ซึ่งเป็นเศรษฐกิจเชิงตลาดที่ทันสมัย ผสมผสานเข้ากับกระแสโลก ดำเนินไปตามกลไกตลาดอย่างสมบูรณ์และมีการบริหารตามหลักนิติรัฐภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามเพื่อค้ำประกันแนวทางสังคมนิยมเพื่อเป้าหมาย “ประชาชนมั่งคั่ง ประเทศเจริญเข้มแข็ง มีประชาธิปไตย มีความยุติธรรมและอารยธรรม”และสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศในระยะต่างๆ ซึ่งคารมที่ไม่ถูกต้องของกลุ่มผู้ที่ไม่หวังดีที่พยายามใส่ร้ายป้ายสีแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยมในเวียดนามในเวลาที่ผ่านมาไม่สามารถทำลายผลสำเร็จของเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยมของเวียดนาม และยิ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเส้นทางที่พรรคและประชาชนเวียดนามได้เลือกเฟ้นอย่างเด็ดขาด.
Thu Hoa