การศึกษาเวียดนามก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
Anh Huyen - VOV5 -  
(VOVworld) – เหลืออีกไม่กี่วัน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ และตามข้อตกลงฉบับต่างๆที่ได้ลงนามในอาเซียน ทุกประเทศสมาชิกจะออกประกาศนียบัตรรับรองฝีมือแรงงานระหว่างกันเพื่อให้แรงงานสามารถทำงานในประเทศสมาชิกอาเซียนได้อย่างเสรี ซึ่งแม้จะเอื้อประโยชน์มากมายต่อแรงงานและนักศึกษาของเวียดนามแต่ในทางกลับกันก็สร้างแรงกดดันไม่น้อยต่อหน่วยงานการศึกษาเวียดนามในการเปลี่ยนแปลงใหม่และยกระดับคุณภาพการฝึกอบรมบุคลากร
(VOVworld) – เหลืออีกไม่กี่วัน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ และตามข้อตกลงฉบับต่างๆที่ได้ลงนามในอาเซียน ทุกประเทศสมาชิกจะออกประกาศนียบัตรรับรองฝีมือแรงงานระหว่างกันเพื่อให้แรงงานสามารถทำงานในประเทศสมาชิกอาเซียนได้อย่างเสรี ซึ่งแม้จะเอื้อประโยชน์มากมายต่อแรงงานและนักศึกษาของเวียดนามแต่ในทางกลับกันก็สร้างแรงกดดันไม่น้อยต่อหน่วยงานการศึกษาเวียดนามในการเปลี่ยนแปลงใหม่และยกระดับคุณภาพการฝึกอบรมบุคลากร.
การศึกษาเวียดนามก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
|
การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีไม่เพียงแต่ผลักดันการแลกเปลี่ยนสินค้า การบริการและการลงทุนอย่างเสรีเท่านั้น หากยังเปิดโอกาสให้แรงงานฝีมือดีที่อยู่ในวัยทำงาน 300 ล้านคนของกลุ่มอาเซียนสามารถทำงานในประเทศสมาชิก ซึ่งก่อนอื่นแรงงานใน 8 สาขา ประกอบด้วย การบัญชี สถาปนิก ทันตแพทย์ แพทย์ วิศวกร นางพยาบาล ผู้ที่ทำการจัดส่งสินค้าและพนักงานด้านการท่องเที่ยว จะสามารถมาทำงานในทุกประเทศสมาชิกของอาเซียนตามข้อตกลงรับรองประกาศนียบัตรวิชาชีพระหว่างกัน
นี่เป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักศึกษาเวียดนามแต่อย่างไรก็ตามสาขาอาชีพที่แรงงานสามารถเคลื่อนย้ายอย่างเสรีได้ก็ต้องมีฝีมือดี ซึ่งต้องได้รับการฝึกอบรมจนเป็นมืออาชีพหรือต้องจบระดับมหาวิทยาลัยขึ้นไป สามารถสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งนี่คือจุดอ่อนของแรงงานเวียดนาม นายเหงียนดังมิงห์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยเผยว่า “พวกเราเห็นข้อจำกัดต่างๆของแรงงานรุ่นใหม่ นั่นคือความมั่นใจในการศึกษาเกี่ยวกับทักษะพื้นฐาน เช่น ทักษะในการสื่อสารและทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ”
สำหรับนางสาวลิงชี นักศึกษามหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ฮานอยเล่าเรื่องเกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัครนานาชาติในฐานะเป็นหัวหน้ากลุ่มว่า “เมื่อทำงานเป็นทีมเวิร์คที่มีคนมาจากหลายประเทศ เยาวชนเวียดนามมีข้อคิดเห็นที่ดีแต่ไม่สามารถบรรยายด้วยภาษาต่างประเทศได้หมด ซึ่งทำให้พวกเขาขาดความมั่นใจในตนเอง”
แรงงานเวียดนามมีจุดเด่นในด้านทักษะวิชาชีพและมีวินัย
ในการทำงาน (Photo VNplus)
|
ผลการสำรวจของธนาคารโลกสำหรับแรงงานใน 7 ประเทศอาเซียนที่ประกาศเมื่อเร็วๆนี้ปรากฎว่า แรงงานเวียดนามมีจุดเด่นในด้านทักษะวิชาชีพและมีวินัยในการทำงาน แต่อย่างไรก็ตาม ถ้ามองในด้านทักษะการสื่อสาร การใช้ภาษาอังกฤษและทักษะการแก้ไขปัญหายังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งต้องพยายามปรับปรุงให้ดีขึ้น ดร.เลดงเฟือง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการศึกษามหาวิทยาลัยและอาชีพ สังกัดสถาบันวิทยาศาสตร์การศึกษาเวียดนามยืนยันว่า “ถ้าหากเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆในภูมิภาค ในภาพรวมระบบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของเวียดนามไม่แพ้ประเทศอื่น อาจกล่าวได้ว่า เวียดนามก็เป็นประเทศที่มีชื่อเสียงในด้านการศึกษาเพราะมีหลายสาขาได้รับคำชื่นชมจากนานาชาติ เช่น การสาธารณสุขและการเกษตร แต่อย่างไรก็ตาม รูปแบบของหลักสูตรตำราเรียนยังเน้นทฤษฎีมากกว่าภาคปฏิบัติและทักษะการทำงานในสถานการณ์จริง โดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมากในปัจจุบัน”
ในสภาวการณ์การผสมผสานเข้ากับกระแสโลกและการเปิดตลาดแรงงาน หน่วยงานการศึกษาเวียดนามได้เร่งทำการปฏิรูป ควบคุมตลาดแรงงาน ยกระดับอัตราผู้ที่จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย โดยเฉพาะการฝึกแรงงานที่มีทักษะความสามารถตามความต้องการและเป้าหมายการพัฒนาของประเทศ ระบบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของเวียดนามกำลังได้รับการปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ตามแนวทางที่เปิดกว้าง มีการเชื่อมโยงกับการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ของภูมิภาคและท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงใหม่หลักสูตรตำราเรียนในระดับมหาวิทยาลัยและอาชีวศึกษาตามแนวทางพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ทักษะในการเรียนและทำวิจัยเอง ขยายเวลาการปฏิบัติโดยเน้นเนื้อหาและทักษะความสามารถที่นักเรียน สถานประกอบการและสังคมต้องการ ดร.เลดงเฟือง เผยต่อไปว่า “กระทรวงศึกษาและฝึกอบรมได้เสนอให้รัฐบาลจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพของการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ส่วนรัฐสภาก็ได้ประกาศใช้กฎหมายการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ใน 15 – 20 ปีมานี้ รัฐบาลได้มีโครงการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพให้แก่ครูอาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ก่อนหน้านี้ เรามีโครงการส่งนักศึกษาไปเรียนในต่างประเทศและปัจจุบันเรามีโครงการฝึกอบรมให้แก่ครูอาจารย์ที่สอนในมหาวิทยาลัยให้มีทักษะความสามารถตามระดับสากล ซึ่งทั้งหมดต่างมีเป้าหมายให้พวกเขาสามารถทำงานได้อย่างดีในอนาคต”
การยกระดับการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับการศึกษาเวียดนาม
|
การยกระดับการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อสามารถตอบสนองความต้องการในการผสมผสานเข้ากับภูมิภาคเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับการศึกษาเวียดนาม เพราะว่าถ้าหากทำไม่ได้ บัญฑิตของเวียดนามและวิศวกรเวียดนามยากที่จะแข่งขันกับแรงงานจากประเทศอาเซียนอื่นๆได้ ดังนั้นการยกระดับคุณภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่บุคลากรเวียดนามในตลาดแรงงานภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียนไม่เพียงแต่เป็นปัญหาเฉพาะหน้าของแต่ละคนเท่านั้นหากยังเป็นหน้าที่ของทั้งสังคมอีกด้วย.
Anh Huyen - VOV5