(VOVWORLD) - หน้ากากที่ทำจากกระดาษคือของเล่นพื้นเมืองในเทศกาลสารทไหว้พระจันทร์ของชาวฮานอย เมื่อก่อน นี่คือของเล่นที่เด็กๆในกรุงฮานอยต่างก็รู้จัก แต่ในปัจจุบัน เด็กๆส่วนมากนิยมเล่นของเล่นสมัยใหม่มากกว่าของเล่นพื้นเมือง ซึ่งก็ส่งผลให้ผู้ประกอบอาชีพทำหน้ากากกระดาษลดน้อยลงตามไปด้วย ต่อไปนี้ ของเชิญท่านผู้ฟังพบปะกับคู่สามีภรรยาที่ยังคงรักษาอาชีพทำหน้ากากกระดาษของกรุงฮานอยนะคะ
บูธขายหน้ากากกระดาษของนาง ลาน |
เวลา 18.00 น. ของวันอาทิตย์เหลืออีกไม่ถึง 2 วันก็จะถึงวันสารทไหว้พระจันทร์ ซึ่งบรรยากาศที่ถนนห่างเหลือกและถนนห่างหมาในย่านถนนโบราณ 36 สายที่ขายของเล่นทั้งของเล่นสมัยใหม่และของเล่นพื้นเมืองหลากหลายสีสัน เช่นโคมไฟและหน้ากากหลายชนิดมีความคึกคักเป็นพิเศษ เนื่องจากคนมาซื้อของเล่นและเดินเที่ยว ที่บูธขายหน้ากากกระดาษขนาดพื้นที่เกือบ 5 ตารางเมตรของคู่ภรรยาสามีคือนาย เหงียนวันหว่าและนาง ดั่งเฮืองลาน กำลังมีลูกค้ามาอุดหนุนอย่างคับคั่ง
“นี่คือตือโป๊ยก่าย ที่ทำจากกระดาษและแป้งเปียก (กาว) ซึ่งเป็นของเล่นของเด็กที่ปลอดภัยกว่าของเล่นที่ทำจากพลาสติกมีสารพิษ”
“หน้ากากพื้นเมืองเบากว่า เป็นของเล่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีรูปแบบหลากหลาย หน้ากากทำจากกระดาษเป็นงานฝีมือจึงดูสวยงาม ผมคิดว่า เวียดนามควรผลิตของเล่นอย่างนี้จะดีกว่า”
“ปัจจุบันมีของเล่นเยอะ แต่ดิฉันอยากให้ลูกได้รู้จักของเล่นพื้นเมืองที่พวกเขายังไม่ทราบ ดิฉันอยากซื้อหน้ากากที่ยังไม่ทาสีเพื่อให้ลูกวาดเอง เมื่อก่อน แม่ก็ได้ทำหน้ากากจากกระดาษ พาลูกมาที่นี่เพื่อให้พวกเขาได้รู้จักของเล่นพื้นเมือง”
หน้ากากกระดาษ |
แม้จะอยู่กลางย่านขายของเล่นสมัยใหม่และน่าสนใจ แต่บูธขายหน้ากากกระดาษของคู่สามีภรรยา นาง ลาน ยังคงมีลูกค้ามาอุดหนุนอย่างคึกคัก หน้ากากเกือบ 20 ชนิด เช่นชี้แฝ่ว ถิเหนอ ตือโป๊ยก่าย เห้งเจีย กระต่ายและเสือ เป็นต้น มีสีสันหลากหลาย ดูสวยงามถูกวางขายในแผง สามีภรรยาคู่นี้ อายุกว่า 60 ปีแล้ว ซึ่งถือเป็นคู่สุดท้ายที่ยังคงอนุรักษ์อาชีพทำหน้ากากกระดาษของผืนแผ่นดินทังลองฮานอย “ตั้งแต่วันที่ 1 เดือน 8 ตามจันทรคติ พวกเราเอาหน้ากากกระดาษมาขายที่นี่ วันปกติ ลูกค้ามักจะมาบ้านของดิฉันเพื่อชมและซื้อของเล่นเพื่อเอาไปใช้ในกิจกรรมสำคัญๆ นอกจากนั้นยังมีนักเรียนและครูอาจารย์มาซื้อหน้ากากสีขาวเพื่อใช้ในการเรียนการสอน พวกเรามี 2 คนเท่านั้น ดังนั้นบางทีก็ผลิตตามความต้องการของลูกค้าไม่ทัน ถ้าเกิดฝนตก หน้ากากไม่แห้งและไม่สามารถใช้การอบได้ เพราะถ้าเอาไปอบหน้ากากจะเสียรูปทรง ดังนั้นต้องตากให้แห้งแบบธรรมชาติ”
นาง ลาน กำลังทาสีหน้ากากกระดาษ |
เพื่อให้เห็นกับตาถึงวิธีการทำหน้ากากของคู่ภรรยาสามี นาง ลานและนาย หว่า เช้าวันรุ่งขึ้น พวกเราจึงได้เดินทางไปเยี่ยมบ้านของนาง ลาน ตรงกับช่วงที่พวกเขากำลังทาสีบนหน้ากากควาย ในตลอดกว่า 30 ปีที่ผ่านมา นาง ลาน และนาย หว่า ยังคงทุ่มเทให้แก่อาชีพนี้บนชั้น 3 ของบ้านที่มีพื้นที่เกือบ 40 ตารางเมตร “พวกเราทำหน้ากากตลอดปี แต่ในช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์ มีลูกค้ามาซื้อมากกว่าปกติา พวกเราต้องทำเรื่อยๆทั้งปีเพื่อเตรียมให้แก่ช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า หน้ากากทำจากพลาสติกไม่สวยเหมือนหน้ากากทำจากกระดาษ ถ้าทำหน้ากากด้วยเครื่องจักรกลจะเร็วกว่าทำด้วยมือเหมือนพวกเรา พวกเราทำหน้ากากกระดาษได้วันละ 7-8 อัน หน้ากากที่ทำง่ายก็จะทำเสร็จเร็วกว่า โดยทำได้ 11-12 อันต่อวัน ทำด้วยมือเหนื่อยมาก ต้องพักบ้าง ครอบครัวของดิฉันมีพี่น้อง 7 คน แต่ไม่มีใครประกอบอาชีพนี้ เมื่อปี 1979 เมื่อพวกเราแต่งงาน คุณพ่อได้สืบทอดอาชีพนี้ ในตอนนั้นพวกเราทั้งทำงานในสำนักงานภาครัฐและทำงานนี้เป็นงานเสริม เมื่อเกษียณอายุราชการ พวกเราจึงทุ่มเทตั้งใจประกอบอาชีพนี้เต็มที่”
นาย หว่า |
ห้องแบ่งเป็น 2 ส่วน ครึ่งหนึ่งใช้สำหรับการทำหน้ากากและพื้นที่ที่เหลือใช้เก็บหน้ากากที่ทำเสร็จเพื่อเอานำไปขาย วัสดุทำหน้ากากมีกระดาษ กระดาษแข็ง แป้งเปียกที่ทำจากมันสำปะหลัง สีน้ำและพู่กันหรือแปรงสำหรับทาสี นาง ลาน บอกว่า การทำหน้ากากกระดาษมีหลายขั้นตอนและต้องทำอย่างพิถีพิถัน “พวกเรามีหน้ากากเกือบ 20 แบบ แต่ละแบบต้องใช้แม่พิมพ์เฉพาะ ก่อนอื่นต้องใส่กระดาษสีขาวลงไปแม่พิมพ์ แล้วใส่กระดาษอื่นๆ ต้องฉีกกระดาษให้เป็นชิ้นเล็กๆแล้วใส่แป้งเปียกเพื่อให้กระดาษติดกัน ดิฉันทำอาชีพนี้นานมาแล้ว ดังนั้นจึงทราบความหนาและเบาของหน้ากาก ทำเสร็จจะเอาหน้ากากออกจากแม่พิมพ์และนำไปตากให้แห้ง เห็นง่าย แต่ทำเองยากมาก เช่นเมื่อทำเสือแต่ถ้าทำไม่ดีก็ออกมาเป็นแมว”
นาง ลาน เอากหน้ากากกระดาษไปตากให้แห้ง |
หลังจากเอาหน้ากากออกจากแม่พิมพ์ จะนำไปตากให้แห้งเพื่อรักษารูปทรงของหน้ากากให้เหมือนเดิม ถ้าใช้เครื่องอบแห้ง หน้ากากจะเสียรูปทรง ดังนั้นในวันที่มีแดด นาง ลานและนาย หว่า ก็จะเอาหน้ากากไปตาก สำหรับการทาสีคือขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เพราะหน้ากากจะสวยหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอนนี้ โดยจะทาครั้งละหนึ่งสีเท่านั้น พอแห้งก็ทาสีอื่นๆต่อ ซึ่งหน้ากากจะดูสวยงามและดูมีมิติ เมื่อเทียบกับหน้ากากที่ทำจากพลาสติกและแม่พิมพ์ หน้ากากที่ทำจากกระดาษของนาง ลาน ดูสวยกว่าอย่างชัดเจน “หน้ากากที่ทำด้วยมือมีน้ำหนักเบา แข็ง สีสันชัดเจนและดูสวยงาม มีลูกค้าหลายคนพาลูกและหลานมาซื้อหน้ากาก ส่วนใหญ่ต้องซื้อหน้ากากกระดาษก่อนแล้วก็ไปซื้อของเล่นอื่น เมื่อก่อนการมีหน้ากากกระดาษเอาไว้เล่นในเทศกาลไหว้พระจันทร์คือความฝันของเด็กหลายๆคน พวกเขาพาลูกหลานมาซื้อของเล่นพื้นเมืองนี้ก็เพื่อรำลึกถึงตอนเป็นเด็ก”
การทำหน้ากากกระดาษให้สวยงาม นอกจากขั้นตอนและเทคนิคที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น สิ่งที่สำคัญคือแม่พิมพ์ที่ทำจากปูนซีเมนต์ นาย หว่า เผยว่า “แม่พิมพ์ส่วนใหญ่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ผมประดิษฐ์แม่พิมพ์บางอันขึ้นมา คือแม่พิมพ์ทำหน้ากากของแมว สุนัข แม่พิมพ์ที่เก่าที่สุดมีอายุกว่า 40 ปี คือแม่พิมพ์ทำหน้ากากของสัตว์และมนุษย์ เช่นชี้แฝ่ว ถิเหนอและควาย เป็นต้น ลูกค้าพอใจ ผมก็รู้สึกมีความสุข ลูกค้ายิ่งมาอุดหนุนอย่างหนาแน่นก็ทำให้ผมรู้สึกมีกำลังใจมากขึ้น และยิ่งตั้งใจทำหน้ากากกระดาษมากขึ้น นอกจากมีรายได้เพิ่มขึ้นและนี่ก็คืออีกวิธีเพื่อรักษาอาชีพพื้นเมืองที่บรรพบุรุษทิ้งไว้ให้”
เพื่อรักษาอาชีพทำหน้ากากกระดาษให้อยู่จนถึงปัจจุบัน มีน้อยคนนักที่ทราบว่า นาง ลานและนาย หว่า ต้องประสบอุปสรรคมากมายในการรักษาอาชีพนี้ โดยเมื่อ 10 ปีก่อน สามีบรรภาคู่นี้คิดว่าต้องเลิกอาชีพนี้ เนื่องจากของเล่นที่นำเข้าจากประเทศจีน แต่สิ่งที่ทำให้ทั้งคู่ต้องคิดให้มากขึ้นก็คือความเสี่ยงที่อาชีพทำหน้ากากกระดาษจะสูญหายไป เพราะลูกของพวกเขาไม่สนใจประกอบอาชีพของพ่อแม่ อย่างไรก็ดี แม้อนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร แต่การที่ได้ทำอาชีพนี้ด้วยใจรักและหลงไหลก็ถือเป็นความสุขของทั้งสองคน “การทำหน้ากากกระดาษให้สวยงามต้องมีความขยันและความรักอาชีพนี้ นี่คืออาชีพที่ได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษ ดังนั้นพวกเราต้องมีความผูกพัน อาชีพนี้มีรายได้น้อยมาก แต่เนื่องจากมีความหลงไหล ดังนั้นพวกเรายังคงประกอบอาชีพนี้ ลูกค้าหลายคนมาที่นี่ เมื่อเห็นพวกเราทำหน้ากากกระดาษ พวกเขาต่างอวยพรให้เรามีสุขภาพแข็งแรงเพื่อให้เด็กๆมีของเล่นในวันสารทไหว้พระจันทร์ที่มีความหมายนี้ต่อไป”
หน้ากากกระดาษมีราคาตั้งแต่ 3 หมื่นถึง 5 หมื่นด่งต่ออัน เมื่อเทียบกับหน้าจากจากพลาสติกและหน้ากากผลิตแบบอัตโนมัต หน้ากากกระดาษแพงกว่าเกือบ 1 หมื่นด่ง แต่ยังคงมีลูกค้าหลายคนหาซื้อให้ลูกหลานเล่นในเทศกาลไหว้พระจันทร์ เนื่องจากนี่คือของเล่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและนี่ก็คือวิธีเพื่อรักษาวัฒนธรรมพื้นเมืองของประชาชาติให้คงอยู่สืบไป.