สาส์นแห่งสันติภาพจากผลงานสถานที่แห่งจิตสงบของทหาร

( VOVworld )-อนุสรณ์เกี่ยวกับสงครามที่ดุเดือด   การพบปะอย่างซาบซึ้งใจระหว่างบุคคลที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกันและความในใจของบรรดาทหารผ่านศึกอเมริกันในโอกาสกลับมาเวียดนามคือฉากในภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “ สถานที่แห่งจิตรสงบของทหาร”  ที่ถ่ายทำโดยบรรดาทหารผ่านศึกอเมริกันเมื่อปี ๒๐๑๒ เพื่อส่งสาส์นว่า ปิดฉากความเคียดแค้นเพื่อมุ่งสู่ความไกล่เกลี่ยเพื่อแปรสมรภูมิในอดีตเป็นสวนดอกไม้ให้แก่ทหารที่ยังมีชีวิตอยู่ของทั้งสองฝ่ายได้มีโอกาสพบปะกันและพิจารณาบทเรียนในอดีตเพื่อร่วมกันสมานแผลสงคราม



( VOVworld )-อนุสรณ์เกี่ยวกับสงครามที่ดุเดือด   การพบปะอย่างซาบซึ้งใจระหว่างบุคคลที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกันและความในใจของบรรดาทหารผ่านศึกอเมริกันในโอกาสกลับมาเวียดนามคือฉากในภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “ สถานที่แห่งจิตรสงบของทหาร”  ที่ถ่ายทำโดยบรรดาทหารผ่านศึกอเมริกันเมื่อปี ๒๐๑๒ เพื่อส่งสาส์นว่า ปิดฉากความเคียดแค้นเพื่อมุ่งสู่ความไกล่เกลี่ยเพื่อแปรสมรภูมิในอดีตเป็นสวนดอกไม้ให้แก่ทหารที่ยังมีชีวิตอยู่ของทั้งสองฝ่ายได้มีโอกาสพบปะกันและพิจารณาบทเรียนในอดีตเพื่อร่วมกันสมานแผลสงคราม

ภาพยนตร์เรื่อง  “ สถานที่แห่งจิตสงบของทหาร”  ยาว ๔๕ นาทีเป็นการหวนกลับสู่ช่วงสงคราม  ความรู้สึกสงบสุขของทหารผ่านศึกอเมริกันที่มาเวียดนาม ความเป็นมิตรและความเมตตาของคนเวียดนามกับทหารผ่านศึกเวียดนามต่อบุคคลที่เคยเป็นฝ่ายตรงข้าม 

นายเดฟ ฮานเซน ตัวละครนำและเป็นผู้ริเริ่มการถ่ายทำภาพยนตร์เคยเป็นทหารขับเฮลิคอปเตอร์พยาบาลฉุกเฉินเข้าร่วมสมรภูมิแคแซงช่วงปีค.ศ.๑๙๖๘-๑๙๗๑   หลังสงครามยุติลง นายเดฟ ฮานเซนป่วยเป็นโรคจิตหลอนเช่นเดียวกับทหารผ่านศึกนายอื่นๆ  เขาจึงไม่อยากพูดถึงสงครามอีกและไม่อยากเผชิญหน้ากับอดีตและไม่เคยคิดเลยว่าจะกลับมาที่เกิดโศกนาฏกรรมอันสยดสยองที่หลอกหลอนเขา  แต่ในที่สุดความคิดของเขาก็ได้เปลี่ยนแปลงไป  นายเดฟ ฮานเซนเล่าว่า“ผมได้รับเชิญเข้าร่วมการพบปะของสมาคมนักบินเฮลิคอปเตอร์ที่เคยเข้าร่วมสงคราม ณ ลาส เวกัส และผมได้ตัดสินใจเข้าร่วม  สถานที่พบปะใกล้กับบ้านผม หากไม่ชอบผมจะกลับบ้าน  ขณะกำลังขับรถผมนึกภาพคนที่ตนจะพบปะและสิ่งที่ผมต้องเผชิญหน้าจนทำให้น้ำตาไหลผมร้องไห้อย่างสะอึกสะอื้นเพราะความเศร้าโศก ความสูญเสียของสงครามได้หวนกลับมาทำให้ ผมกลั้นน้ำตาไม่อยู่  การพบปะในวันนั้นได้บังคับผมต้องเผชิญหน้ากับอดีตที่ปวดร้างนนซึ่งจะต้องฟันฝ่าไปให้ได้  ”

ในการพบปะครั้งนั้น นายเดฟ ฮานเซนได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับทหารผ่านศึกคนอื่นๆ ทั้งนี้ทำให้เกิดความตั้งใจกลับเวียดนาม และนายเดฟ ฮานเซนได้เชิญทหารผ่านศึกบางคนรวมทั้งทหารผ่านศึกหนุ่มร่วมเดินทางกลับเวียดนาม  นายเดฟ ฮานเซนเล่าต่อไปว่า เขามีความหวังว่า การกลับเวียดนามครั้งนี้ โดยต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่เป็นจริงและพบปะกับบุคคลที่พวกเรามุ่งมั่นสังหารให้ได้จะช่วยทำให้กระบวนการไกล่เกลี่ยเดินไปอย่างรวดเร็วขึ้น

เดือนมีนาคม ๒๐๑๒ โดยได้รับการสนับสนุนจากดงค์การพิซ ตรีส์เวียดนาม นายเดฟ ฮานเซนพร้อมเพื่อนกลุ่มหนึ่งได้เดินทางไปยังเวียดนามและลงมือถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “ สถานที่แห่งจิตสงบของทหาร”  

 ฐานที่มั่นแคแซงที่สหรัฐอเมริการก่อสร้างอย่างถาวรเมื่อปีค.ศ.๑๙๖๘เป็นศูนย์บัญชาการรั้วลวดหนามอิเล็กทรอนิกแมกนามาราเพื่อมุ่งตัดเส้นทางลำเลียบเสบียงจากภาคเหนือเข้าสู่ภาคใต้  ในช่วงเกิดการต่อสู้ตามทางหลวงหมายเลข ๙ ภาคใต้ประเทศลาว สหรัฐอเมริกาได้ส่งเครื่องบินกว่า ๒,๐๐๐ ลำพร้อมเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ ๓,๓๐๐ ลำไปทิ้งระเบิดลงในพื้นที่แคแซงกว่า ๑๑๔,๐๐๐ตัน

เดือนพฤษภาคมปีค.ศ.๑๙๗๑ นายโรเจอร์ ฮิลล์ได้รับคำสั่งให้ไปยังสมรภูมิภาคใต้เวียดนามเพื่อทำหน้าที่พิทักษ์สถานีรับสัญญาณวิทยุที่ตั้งอยู่ใกล้เขตปลอดทหารแคแซง  กว่า ๔๐ ปีได้ผ่านพ้นไป แต่นายโรเจอร์ ฮิลล์ยังไม่ลืมความรู้สึกกลัวในวันที่เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ของเขาถูกโจมตีและถูกยิงตก  นายโรเจอร์เล่าว่า  “ ขณะนั้นผมคิดว่าผมใกล้ตายแล้ว สิ่งต่อมาที่ผมเข้าใจคือเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์กำลังบินขนานไปกับไหล่เขาและพวกเรากำลังบินต่ำลง  ผมรู้สึกว่า พวกผมกำลังขับรถบรรทุกที่ไม่มีประทุนออกจากไหลาเขา ผมไม่สามารถบรรยายความรู้สึกของตนในขณะนั้นได้หมด ”

นายโรเจอร์ ฮิลล์รอดตายแต่ได้รับบาดเจ็บ  ส่วนนายเอดดีเพื่อนของเขาได้เสียชีวิต  ภายหลังหลายปีที่สงครามยุติลง แต่วินาทีที่เพื่อนเสียชีวิตยังคงหลอกหลอนนายโรเจอร์ ฮิลล์  ปี๒๐๑๒ นายโรเจอร์ ฮิลล์กับเพื่อนทหารผ่านศึกกลับมาเวียดนามเป็นครั้งแรกและรู้สึกบอกไม่ถูกเมื่อยืนอยู่ที่กำแพงที่จารึกชื่อทหารอเมริกันที่ได้เสียชีวิตในหอสมุดแคด๊า โรงอนุบาลแคด๊า อำเภอเฮื้องฮว้า จังหวัดกว่างจิ่โดยการสนับสนุนก่อสร้างจากองค์การพิซตรีส์ ซึ่งเป็นองค์การเอกชนของสหรัฐอเมริกา   ในโอกาสนั้น พวกเขายังได้พบปะกับทหารผ่านศึกของกองทัพปลดปล่อยภาคใต้ ที่เข้าร่วมสมรภูมิแคแซงที่ได้ต่อสู้อย่างทรหดกล้าหาญเพื่อต่อต้านกองทัพที่ทันสมัย

นายเลห่งแห่ง ทหารผ่านศึก อำเภอเฮื้องฮว้า จังหวัดกว่างจิ่กล่าวถึงความรู้สึกของตนเมื่อได้พบปะกับทหารผ่านศึกอเมริกันว่า “ หลังสงครามยุติลงมาหลายสิบปี เมื่อได้พบปะกับพวกเขา ผมรู้สึกว่า พวกเขาเป็นคนใจดี เป็นสุจริตชน  บางคนยังถูกสงครามหลอกหลอน ปัจจุบันพวกเขามีความประสงค์ที่จะสมานมิตรไมตรีผ่านกิจกรรมมนุษยธรรมเพื่อคลี่คลายความปวดร้าวของสงคราม ”

อดีตถูกนำมาพูดคุยกันและกลายเป็นอนุสรณ์ที่สองฝ่ายต่างรู้ซึ้งถึงผลเสียจากสงคราม นายเดฟ ฮานเซนกล่าวว่า  พวกเขาเริ่มรู้สึกไม่กลัวที่นี่อีก พวกเขาได้เดินทางไกลในระยะเวลาถึง ๔๐ปี ซึ่งเป็นระยะทางที่ยาวนานแต่มีความประทับใจมากที่ไม่อาจบรรยายให้หมดได้  ”

ทหารผ่านศึกเหล่านี้ได้ปลูกต้นไม้ รณรงค์เพื่อหาเงินช่วยเหลืองานด้านเก็บกู้กับระเบิดและช่วยเหลือชาวบ้านปรับปรุงคุณภาพชีวิต  พวกเขาบอกว่า กำลังเริ่มต้นภารกิจใหม่คือ สันติภาพ การไกล่เกลี่ยและสร้างสะพานแห่งมิตรภาพเพราะเวียดนามคือความทรงจำส่วนหนึ่งของพวกเขา   นายระวัน วาชเบิร์น ทหารผ่านศึกอเมริกันเล่าว่า ผมคิดว่า ต้นไม้แต่ละต้น ณ ที่นี่เป็นสัญลักษณ์แทนหหารหนึ่งนายที่สละชีพเป็นการเชิดชูทหารของทั้งสองฝ่ายเราต้องเริ่มก้าวเดินใหม่  เป็นเพื่อนกันและให้อดีตกลายเป็นความหลังตลอดกาล ”

ภาพยนตร์เรื่อง “ สถานที่แห่งจิตสงบของทหาร”  ได้รับการฉาย ณ แคแซง จังหวัดกว่างจิ่เมื่อเดือนมีนาคมปี ๒๐๑๔ ซึ่งเป็นกิจกรรมแรกเพื่อรับเงินบริจาคเข้ากองทุนของโครงการก่อสร้างสวนไกล่เกลี่ย ณ แคแซง  คาดว่า ภาพยนตร์นี้จะได้ฉายในตุรกีในวันที่ ๑๓ พฤษภาคมและต่อจากนั้นจะฉายในตะวันออกกลางเพื่อส่งสาส์นที่ว่า สงครามคือความเป็นโมฆะ จงทำให้คนรุ่นหลังๆได้อยู่ในโลกที่สันติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด