จังหวัดบ่าเหรียะ-หวุงเต่า ยกระดับคุณภาพของแหล่งบุคลากรเพื่อตอบสนองความต้องการในยุค 4.0

(VOVWORLD) - จังหวัดบ่าเหรียะ-หวุงเต่า ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจหลักในภาคใต้ของเวียดนาม โดยมีอุตสาหกรรมหลัก เช่น การกลั่นน้ำมัน โลจิสติกส์ ไฟฟ้า เคมีและท่าเรือ แต่เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและดึงดูดความสนใจของนักลงทุนมากขึ้น ทางจังหวัดได้กำหนดให้การยกระดับคุณภาพของแหล่งบุคลากร โดยเฉพาะแหล่งบุคลากรที่มีคุณภาพสูงเป็นหน้าที่ที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ
จังหวัดบ่าเหรียะ-หวุงเต่า ยกระดับคุณภาพของแหล่งบุคลากรเพื่อตอบสนองความต้องการในยุค 4.0 - ảnh 1จังหวัดบ่าเหรียะ-หวุงเต่า มีแรงงานกว่า 575,000 คนกำลังทำงานในสถานประกอบการและเขตนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ
 
 

ปัจจุบันนี้ จังหวัดบ่าเหรียะ-หวุงเต่า มีแรงงานกว่า 575,000 คนกำลังทำงานในสถานประกอบการและเขตนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ โดยในด้านอุตสาหกรรมคิดเป็นกว่าร้อยละ 37 การเกษตรกว่าร้อยละ 20 และภาคบริการอยู่ที่กว่าร้อยละ 42 แรงงานที่ผ่านการฝึกอบรมคิดเป็นร้อยละ 80.8 และแรงงานที่ได้มีประกาศนียบัตรรับรองการฝึกอบรมคิดเป็นร้อยละ 33.8 ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการในขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ ผลิตภาพแรงงานของบ่าเหรียะ-หวุงเต่า ก็อยู่อันดับต้น ๆ ของประเทศ นาย เจิ่นก๊วกแค้ง ผู้อำนวยการสำนักงานแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคม เผยว่า

“ถ้าหากเปรียบเทียบกับแรงงานทั่วประเทศ คุณภาพและจำนวนแรงงานที่ได้รับการฝึกอบรมในจังหวัดฯ อยู่ในระดับสูง ซึ่งเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ ทางการจังหวัดฯ ได้ปฏิบัติโครงการถึงปี 2025 แรงงานที่ได้รับใบรับรองการฝึกอบรมอยู่ที่ร้อยละ 35 และถึงปี 2030 จะอยู่ที่ร้อยละ 43

แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่า ในเวลาข้างหน้า ความต้องการแรงงานของสถานประกอบการจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแรงงานฝีมือดี เช่น ธุรกิจด้านการกลั่นน้ำมัน การผลิตเครื่องจักร เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีอัตโนมัติ เป็นต้น ซึ่งแหล่งแรงงานที่มีในปัจจุบันไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ ดังนั้น เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา สภาประชาชนจังหวัดฯ ได้อนุมัติมติที่ปรับปรุงการวางแผนของจังหวัดช่วงปี 2021-2030 และกำหนดแนวทางถึงปี 2050 โดยถึงปี 2030 ทั้งจังหวัดฯ จะมีเขตนิคมอุตสาหกรรมและเขตนิคมอุตสาหกรรม – ตัวเมือง – ให้บริการรวม 24 แห่ง ซึ่งเน้นการดึงดูดโครงการใหญ่ๆ และอุตสาหกรรมที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย อุตสาหกรรมประกอบเพื่อจัดตั้งศูนย์โลจิสติกส์ ซึ่งต้องใช้แรงงานจำนวนมาก โดยเฉพาะแรงงานฝีมือดี

จังหวัดบ่าเหรียะ-หวุงเต่า ยกระดับคุณภาพของแหล่งบุคลากรเพื่อตอบสนองความต้องการในยุค 4.0 - ảnh 2แรงงานที่มีคุณภาพสูงในโครงการกลั่นน้ำมัน ลองเซิน ในจังหวัด บ่าเหรียะ หวุงเต่า

เพื่อเตรียมพร้อมแหล่งบุคลากรคุณภาพสูงให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจ หน่วยงานแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมของจังหวัดฯ ได้กำชับให้สำนักงานการฝึกสอนอาชีพต่างๆ เปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ อัพเดทข้อมูลและทักษะความสามารถใหม่ๆ ให้ทันกับการพัฒนาในด้านเทคนิคและอุตสาหกรรมที่ทันสมัย เพิ่มเวลาเรียนภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์ สอดแทรกทักษะต่าง ๆ เข้าในหลักสูตรตำราเรียน ร่วมมือกับบริษัทจัดหางาน ทำการฝึกอบรมให้แก่นักเรียนนักศึกษากว่า 4,000 คนตามความต้องการของอุตสาหกรรมหลักๆ ในจังหวัดฯ นาง เหงียนถิหว่ายเฟือง อธิบการบดีมหาวิทยาลัยบ่าเหรียะ หวุงเต่า กล่าวว่า

“ในตลอดกว่า 1 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะหลังวิกฤตโควิด -19 ทางโรงเรียนเห็นว่า จะต้องฝึกอบรมตามความต้องการของสถานประกอบการและนายจ้าง โดยเมื่อปีที่แล้ว เราได้ปฏิบัติแนวทางนี้โดยการปรับปรุงตำราเรียนและลงนามสัญญากับสถานประกอบการ และให้สถานประกอบการช่วยจัดทำตำราเรียนและให้นักศึกษาได้ฝึกงานตั้งแต่ชั้นปีที่หนึ่ง”

นอกจากนี้ ทางการจังหวัดฯ ยังกำหนดแนวทางความร่วมมือกับประเทศต่างๆ เช่น สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่นและองค์การ NGO และร่วมมือกับนักลงทุนต่างชาติที่กำลังลงทุนในจังหวัดฯ เพื่อผลักดันการเชื่อมโยงในการฝึกอบรมและจัดทำตำราฝึกอบรมแรงงานฝีมือดี จัดทำและอัพเดทมาตรฐานอาชีพแห่งชาติให้สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพของอาเซียนและเอเปก ผลักดันการประเมินและมอบหนังสือรับรองทักษะความสามารถในระดับชาติให้แก่แรงงาน นาย เจิ่นก๊วกแค้ง ผู้อำนวยการสำนักงานแรงงาน ทหารทุพพลภาพและสังคมเผยว่า

“ในแผนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของจังหวัดฯ ในเวลาที่จะถึง จำเป็นต้องปฏิบัติมาตรการสนับสนุนการพัฒนาตลาดแรงงาน จัดทำนโยบายที่ดึงดูดแรงงานและนโยบายเพิ่มทักษะความสามารถให้แก่แรงงาน รวมทั้งนโยบายต่างๆ เช่น นโยบายผลักดันการปรับเปลี่ยนจากแรงงานด้านการเกษตรมาสู่อุตสาหกรรมและภาคบริการ นโยบายสนับสนุนเทคโนโลยีและการปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล เป็นต้น พร้อมทั้งสนับสนุนการเชื่อมโยงระหว่างอุปสงค์ อุปทานด้านแรงงานฝีมือดี ติดตามสถานการณ์ของโครงการลงทุนใหม่ๆ และความต้องการของสถานประกอบการในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวเพื่อค้ำประกันแหล่งแรงงานให้แก่ภาคเศรษฐกิจหลักของจังหวัด”

เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจทางทะเลแห่งชาติตามมติที่ 24 ของกรมการเมืองพรรคฯ การค้ำประกันและยกระดับคุณภาพแรงงานเป็นหนึ่งในหน้าที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของจังหวัดฯ ดังนั้น ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ทางการจังหวัดฯ จะยกระดับดัชนีทักษะความสามารถในการแข่งขันเพื่อธำรงการดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนต่อไป.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด