สถานประกอบการนำเทคโนโลยีดิจิทัลของเวียดนามสู่ตลาดโลก

(VOVWORLD) - อุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลได้กลายเป็นเศรษฐกิจที่สร้างพลังขับเคลื่อนของประเทศ มีบทบาทแนะแนว สร้างพื้นฐานให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล สังคมดิจิทัลและรัฐบาลดิจิทัล ซึ่งไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีดิจิทัล MAKE IN VIETNAM ในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเท่านั้น หากยังสะท้อนผ่านการเจาะตลาดต่างประเทศอีกด้วย
สถานประกอบการนำเทคโนโลยีดิจิทัลของเวียดนามสู่ตลาดโลก - ảnh 1นาย เลห่งเหวียด ประธานกรรมการบริษัท FPT Smart Cloud  (FPT)
 
 

จากการเป็นหัวเรือที่นำอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเวียดนามสู่ตลาดโลก นับตั้งแต่การเจาะตลาดอินเดียเมื่อ 2 ทศวรรษก่อน จนถึงปัจจุบัน บริษัทหุ้นส่วน FPT สามารถเจาะตลาด 29 ประเทศด้วยรายรับจากตลาดต่างประเทศถึง 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 25,000 เท่าและมีแรงงาน 27,000 คน เพิ่มขึ้น 900 เท่า นาย เลห่งเหวียด ประธานกรรมการบริษัท FPT Smart Cloud ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ FPT เผยว่า ถึงขณะนี้ ในเครือบริษัท FPR มีผลิตภัณฑ์ MAKE IN FPT กว่า 200 รายการ ซึ่งได้รับการจำหน่ายในประเทศต่างๆ ทั่วโลก

“ในช่วงก่อน เมื่อกล่าวถึงผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เราจะนึกถึงผลิตภัณฑ์ของต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่แต่ปัจจุบันนี้ มีลูกค้าของเราหลายคนที่ชอบผลิตภัณฑ์ของเวียดนาม ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในต่างประเทศ นี่คือการยอมรับของลูกค้า สองคือ การรับรองเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า โดยเครื่องหมายการค้า MAKE IN VIETNAM ด้านเทคโนโลยีนับวันได้รับความนิยมในตลาดและวงการสถานประกอบการมากขึ้น”

นอกจากบริษัท FPT แล้วก็ยังมีเครือบริษัท Viettel ซึ่งเริ่มเจาะตลาดโลกตั้งแต่ปี 2006 โดยขณะนี้สามารถเจาะตลาด 10 ประเทศ มีรายได้เกือบ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งกว่าจะประสบความสำเร็จ ทางบริษัทต้องศึกษาหาข้อมูลเพื่อมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับวัฒนธรรม คนและระบอบการเมืองของประเทศที่ต้องการเข้าไปประกอบธุรกิจและต้องมีคุณค่าของตนเองและนำสิ่งที่ดีที่สุดที่บริษัทมีไปจำหน่าย ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะต้องมีความแตกต่างเพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน และที่สำคัญคือการให้ความเคารพต่อกฎหมายของประเทศที่เข้าไปลงทุน

นอกจาก FPT และ Viettel ปัจจุบันนี้ บริษัทเทคโนโลยีขนาดเล็กของเวียดนามหลายแหล่งก็พยายามเจาะตลาดโลก อย่างเช่นบริษัทหุ้นส่วน MISA ที่สามารถเจาะตลาด 20 ประเทศและทำรายได้ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทางบริษัทฯ กำลังระดมบุคลากรในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด นาย เลห่งกวาง รองประธานบริษัท MISA กล่าวว่า

“เราได้นำแอปพลิเคชันบริหารสถานประกอบการ MISA AMIS ไปจำหน่ายในตลาดโลก ซึ่งปัจจุบันได้รับใบสั่งซื้อจากลูกค้าในยุโรปและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 4 พันรายน ถึงแม้เพิ่งเจาะตลาดโลกได้ประมาณ 2-3 ปี แต่บริษัทก็สามารถทำรายได้กว่า 1-2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ทางบริษัทฯ ก็เป็นหนึ่งในผู้เดินหน้านำผลิตภัณฑ์ดิจิตัลของเวียดนามสู่ตลาดโลก และเรามีเป้าหมายที่จะทำรายได้ให้ได้ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายใน 5 ปีที่จะถึงนี้ นี่ถือเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่”

สถานประกอบการนำเทคโนโลยีดิจิทัลของเวียดนามสู่ตลาดโลก - ảnh 2นาย เลห่งกวา รองประธานบริษัท MISA ( fsb.edu.vn)

ส่วนนาย เจิ่นกวางเกื่อง CEO ของบริษัท NextVision ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับการก่อตั้งเมื่อปี 2010 ได้เผยว่า ความฝันของ NextVision คือนำผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี AI ของคนเวียดนามสู่ตลาดโลก ซึ่งก็มีผลิตภัณฑ์ 3 รายการที่สามารถเจาะตลาดญี่ปุ่นคือ ซอฟต์แวร์ SaaS, IoT และ AI เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ในงานแสดงสินค้าเทคโนโลยีชั้นนำของเอเชียหรือ Asia Tech X Singapore ณ ประเทศสิงคโปร์ ทางบริษัทฯ ได้ลงนามข้อตกลงร่วมมือกับบริษัท Astrocast ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีในสวิตเซอร์แลนด์ที่พัฒนาดาวเทียมขนาดเล็กสำหรับระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งช่วยให้ NextVision เพิ่มประสบการณ์ในการนำสินค้าเทคโนโลยีสู่ตลาดโลก นาย เกื่อง เผยว่า “นี่คือนิมิตหมายของเรา หลังการดำเนินงานมาระยะหนึ่ง เราสามารถลงนามในสัญญาร่วมมือกับ Astrocast แล้วจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใน 5 ประเทศ ช่วยให้การขยายตัวของเราเพิ่มขึ้น 100 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว”

นาย เหงียนเถียนเหงียะ รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศสังกัดกระทรวงสื่อสารและประชาสัมพันธ์ได้เผยว่า ตลาดเทคโนโลยีโลกำลังเปิดโอกาสให้แก่สถานประกอบการเวียดนามเป็นอย่างมาก โดยเมื่อปีที่แล้ว ซอฟต์แวร์และผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศของเวียดนามทำรายได้เข้าประเทศ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเทียบเท่ากับการทำงานของวิศวกร 200,000 คนแต่จริงๆ แล้ว เวียดนามกำลังมีสถานประกอบการกว่า 40,000 แห่งและวิศวกร 550,000 คน และความได้เปรียบของสถานประกอบการเวียดนามในตลาดโลกคือ การมีแหล่งบุคลากรที่มีคุณภาพสูง ดังนั้น สามารถกล่าวได้ว่า ตลาดภายในประเทศเล็กเกินไปสำหรับแหล่งบุคลากรในด้านนี้ในเวียดนาม และความสำเร็จของบริษัทใหญ่ๆ เช่น Viettel และ FPT ถือเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า มีหลายวิธีการให้สถานประกอบการเจาะตลาดโลก

“สถานประกอบการเวียดนามได้เป็นฝ่ายรุกในการเจาะตลาดตลาดต่างประเทศมานานแล้ว เช่น FPT ได้เจาะตลาดโลกตั้งแต่ปี 2000 รองลงมาคือ Viettel ทำไมเราไม่สามารถประสบความสำเร็จเหมือนอินเดียหรือฟิลิปปินส์ที่สามารถสร้างเครื่องหมายการค้าแห่งชาติให้แก่หน่วยงานบางหน่วย เช่น IT และการให้บริการ นี่คือแนวทางในระยะยาวสำหรับหน่วยงานเทคโนโลยีสารสนเทศของเวียดนาม หนึ่งคือต้องสร้างเครื่องหมายการค้าของประเทศ สองคือต้องพัฒนาด้านที่เป็นจุดเด่นของเราเองให้มีชื่อเสียง”

ปัจจุบันนี้ ในทั่วโลกยังมีประชากรประมาณร้อยละ 49 ในจำนวน 8 พันล้านคนที่ยังไม่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นโอกาสสำหรับสถานประกอบการเทคโนโลยีดิจิทัลเวียดนามในการขยายตลาด เพื่อมีส่วนร่วมแก้โจทย์การปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลในประเทศต่างๆ และผลักดันกระบวนการสร้างสรรค์โลกดิจิทัล

ในปี 2023 กระทรวงสื่อสารและประชาสัมพันธ์เวียดนามจะปฏิบัติยุทธศาสตร์โดยรวมเพื่อสนับสนุนสถานประกอบการเทคโนโลยีดิจิทัลเวียดนามที่กำลังประกอบธุรกิจในต่างประเทศหรือมีแผนการเจาะตลาดต่างประเทศ รวมทั้งประสานงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องเปิดโอกาสต่างๆ ส่วนสถานประกอบการที่สามารถเจาะตลาดต่างประเทศได้แล้วก็จะให้การสนับสนุนสถานประกอบการใหม่ๆ ในการเจาะตลาดโลกไปด้วยกัน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด